bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL

การแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL 
เป็นการผ่าตัดแก้ไขสายตาที่ระดับของเลนส์ตา โดยจักษุแพทย์จะใส่เลนส์เสริมที่ทำหน้าที่คล้ายเลนส์สัมผัส (Contact lens) ซึ่งมีลักษณะบาง ใส และนิ่มยืดหยุ่นเข้าไปบริเวณหลังม่านตา ด้านหน้าเลนส์ธรรมชาติ 

การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL คืออะไร
การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL หรือ Implantable Collamer Lens เป็นการผ่าตัดแก้ไขสายตาที่ระดับของเลนส์ตา โดยจักษุแพทย์จะใส่เลนส์เสริมที่ทำหน้าที่คล้ายเลนส์สัมผัส (Contact lens) ซึ่งมีลักษณะบาง ใส และนิ่มยืดหยุ่นเข้าไปบริเวณหลังม่านตา ด้านหน้าเลนส์ธรรมชาติ เลนส์ที่ใส่เข้าไปนี้เป็นเลนส์โพลีเมอร์ชนิดพิเศษเรียกว่า Collamer® มีคอลลาเจน (Collagen) และโค-โพลิเมอร์ (Co-polymer) เป็นองค์ประกอบ เข้ากันได้ดีกับร่างกายของมนุษย์
การใส่เลนส์เสริม ICL นอกจากทำให้สายตามองเห็นได้ชัดมากขึ้นแล้ว ยังมีข้อดีอื่น ๆ อาทิ
  • แก้ไขสายตาสั้น ยาวหรือเอียงมากได้ผลดี (สามารถแก้ไขสายตาสั้นได้ตั้งแต่ -3.00 D ไปจนถึง -20.00D และแก้ไขสายตาเอียงได้ตั้งแต่ -1.00  D จนถึง – 4.00 D )
  • แผลเล็กมาก พักฟื้นเร็ว  
  • ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างและความหนาของกระจกตา
  • สามารถกลับไปมองเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้หากมีความจำเป็น
  • การกระเจิงของแสง (Glare & halo) ในคนสายตาสั้นมากน้อยกว่าการแก้ไขกระจกตาด้วยเลเซอร์
  • มีฟิลเตอร์ที่ช่วยกรองรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (UV) ซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตา
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดอาการตาแห้งหลังทำ
เช่นเดียวกับการผ่าตัดทุกประเภท การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL มีข้อจำกัดและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อย ดังนี้
  • ความดันตาแกว่งได้บ้างในช่วงสัปดาห์แรกหลังจากการผ่าตัด
  • เป็นต้อกระจกก่อนวัยพบได้น้อยมาก
  • ติดเชื้อ
  • อายุมากกว่า 20 ปี มีค่าสายตาคงที่
  • ผู้ที่มีกระจกตาบาง
  • สายตาสั้น ยาวหรือเอียงที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยเลเซอร์ปรับความโค้งกระจกตา
  • มีช่องหน้าตาที่ลึกพอ
  • ไม่มีประวัติเป็นโรคทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ ต้อหินและเบาหวานขึ้นจอตา
แก้ไขล่าสุด: 20 สิงหาคม 2564

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs