bih.button.backtotop.text

การใส่บอลลูนปั๊มหัวใจ

การใส่บอลลูนปั๊มหัวใจ (Intra-Aortic Balloon Pump: IABP) เป็นเครื่องพยุงการทํางานของหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โดยการใส่บอลลูนในหลอดเลือดแดงใหญ่เพื่อช่วยลดการทํางานของหัวใจห้องล่างซ้ายโดยรอให้กล้ามเนื้อที่ขาดเลือดฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle) ที่มีปัญหาการบีบตัว ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ทำให้มีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน

ขอบข่ายของการใส่บอลลูน
  1. ผู้ป่วยลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วอย่างรุนแรง
  2. ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวรุนแรง
  3. ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแล้วไม่สามารถหย่าเครื่องปอดและหัวใจเทียมได้
  4. ผู้ป่วยมีภาวะช็อกจากหัวใจ
  5. ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  6. ผู้ป่วยหลังทำหัตถการเกี่ยวกับเส้นเลือดหัวใจ เช่น percutaneous transluminal coronary angioplasty, Rotablator procedures, coronary stent placement ที่มีความเสี่ยงสูง
  7. ผู้ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อลดการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย ในการทำผ่าตัดอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง
  1. ผู้ป่วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่วอย่างรุนแรง
  2. ผู้ป่วยที่มีการโป่งพองของหลอดเลือดแดงและมีการเซาะไปตามผนังชั้นในหลอดเลือด (dissecting aortic aneurysm)
  3. ผู้ป่วยที่มีการอุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ (aortoiliac occlusive disease)
  4. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
  5. ผู้ป่วยสมองตาย
  6. ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
  7. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่สามารถรักษาด้วยการเปลี่ยนหัวใจได้
สามารถใส่บอลลูนปั๊มหัวใจได้ในกรณีดังต่อไปนี้ หากมีการจัดการที่เหมาะสม
  1. ผู้ที่ทำกราฟในส่วนของหลอดเลือดแดงใหญ่ของหัวใจ
  2. ผู้ที่มีหลอดเลือดโป่งที่หลอดเลือดแดงใหญ่
  3. ผู้ที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ (aortofemeral grafts)
  1. จับชีพจรไม่ได้ชั่วคราว (transient loss of peripheral pulse)
  2. บริเวณปลายแขนขาใต้ตำแหน่งที่ใส่สายบอลลูนปั๊มหัวใจขาดเลือด (limb ischemia)
  3. หลอดเลือดอุดตัน
  4. หลอดเลือดเอออร์ตาเสียหาย
  5. เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด มีการโป่ง คั่งของเลือดใต้ผิวหนัง
  6. เกิดการติดเชื้อ
  7. เกิดการแตกของบอลลูน
  8. เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดแดงแตก
  9. มีภาวะผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น สมอง ไต เนื่องมาจากภาวะหัวใจบีบรัด (cardiac tamponade)
ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ทำการรักษา
แพทย์อาจใช้เป็นเครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจด้านซ้าย (left ventricular assist device: LVAD) ซึ่งเครื่องนี้ทำหน้าที่แทนหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle) โดยแพทย์จะผ่าตัดใส่สายรับเลือด (inflow cannula) เพื่อรับเลือดจากหัวใจห้องซ้ายบน (left atrium) เข้ามาผ่านปั๊ม แล้วปั๊มจะส่งเลือดผ่านทางสายส่งออก (outflow cannula) เพื่อส่งเลือดไปยังเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (ascending aorta) เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs