You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
การปลูกถ่ายตับจากผู้บริจาคที่มีชีวิต
การปลูกถ่ายตับ คือ การเปลี่ยนตับที่มีโรคด้วยตับใหม่ที่ปกติ โดยผ่าตัดเอาตับเดิมออกและนำตับใหม่ใส่ลงไปแทนที่ การรักษานี้เป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะโรคตับระยะสุดท้ายซึ่งไม่สามารถทำการรักษาได้โดยวิธีอื่น การปลูกถ่ายตับจะทำให้ตับสามารถกลับมาทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้อีกครั้ง การปลูกถ่ายตับยังสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและช่วยยืดอายุของผู้ป่วยให้ยาวนานขึ้น
1. มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด ได้แก่ บิดาหรือมารดา บุตร พี่น้องที่เกิดจากบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องต่างบิดาหรือมารดา ลุง ป้า น้า อา หลาน หรือลูกพี่ลูกน้องในลำดับแรก (พิสูจน์ได้โดยหลักฐานทางกฎหมายและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ human leucocyte antigen (HLA) และ/หรือ DNA)
2. คู่สมรส ซึ่งเป็นภรรยาหรือสามีที่ถูกต้องตามกฎหมายกับผู้รับบริจาค และสมรสมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี หรือหากมีบุตรร่วมกัน ระยะเวลาการสมรส 3 ปีนั้นสามารถยกเว้นได้โดยอาจใช้การตรวจ DNA ยืนยันการเป็นบุตรของคู่สมรส
คือ การผ่าตัดบางส่วนของตับจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วย โดยผู้บริจาคจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้รับบริจาคทางใดทางหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ผู้บริจาคที่มีชีวิตจะต้องได้รับข้อมูลและได้รับการประเมินโดยละเอียด ดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงทางด้านกายภาพทั่วไป
ความเสี่ยงทางด้านกายภาพที่เฉพาะเจาะจง
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดตับและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผ่าตัดตับบางส่วน ได้แก่
อ้างอิงจากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกา ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งประเภทรุนแรงและไม่รุนแรงอยู่ที่ประมาณ 15 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ไม่มีผลกระทบรุนแรงและอาการบรรเทาได้เองโดยไม่ต้องทำหัตถการหรือการผ่าตัดแก้ไขใดๆ
ความเสี่ยงทางจิตสังคม
การบริจาคตับมีความเสี่ยงทางจิตสังคมที่อาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวร โดยมีความเกี่ยวข้องกับการบริจาคตับ คุณภาพชีวิตของผู้บริจาคอาจได้รับผลกระทบจากการบริจาค โดยเกิดจากการนอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า หมกมุ่นกับสุขภาพโดยรวมและสุขภาพของตับ ความคิดฆ่าตัวตาย ปัญหาเรื่องภาพลักษณ์ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder: PTSD) ความรู้สึกผิดหรือความทุกข์ในกรณีที่ผู้รับบริจาคเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้รับบริจาคเกิดโรคเดิมอีกครั้ง หรือเสียชีวิต
หลังจากได้รับบางส่วนของตับจากผู้บริจาคที่มีชีวิต การปลูกถ่ายจะนับได้ว่าสำเร็จเมื่อผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการฟอกตับอีกต่อไปหรือตับสามารถทำงานได้เป็นปกติ อย่างไรก็ตามการผ่าตัดอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นได้ ทำให้การปลูกถ่ายตับไม่ประสบผลสำเร็จแม้ว่าได้กระทำโดยหลักการและวิธีทางการแพทย์อย่างครบถ้วนแล้วก็ตาม อัตราความสำเร็จของการปลูกถ่ายตับขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของทีมแพทย์และยังรวมถึงปัจจัยอื่นอีกมากมาย
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ได้แก่
Related conditions
Doctors Related
Related Centers
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์