bih.button.backtotop.text

การใส่เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่องชนิดใต้ผิวหนัง

การใส่เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่องชนิดใต้ผิวหนัง เป็นหัตถการที่ใส่เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่องชนิดใต้ผิวหนังเพื่อใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้งในภาวะหัวใจเต้นปกติและเต้นผิดจังหวะ และสามารถส่งข้อมูลผ่านเครื่องรับสัญญาณหรือเช็กเครื่องผ่านโปรแกรมเมอร์ของบริษัทได้ ทำให้สามารถติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ตลอดเวลาที่ส่งข้อมูลผ่านเครื่องรับสัญญาณ

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
  1. มีอาการบวม เลือดออกหรือติดเชื้อบริเวณที่ใส่เครื่องไว้ใต้ผิวหนัง
  2. แพ้ยาที่ได้รับระหว่างการทำหัตถการ
  3. ภาวะมีลมรั่วในปอด
  4. เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  5. เสียชีวิต ซึ่งพบได้น้อยมาก
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการต่อไปนี้หลังใส่เครื่อง
  1. บริเวณที่ใส่เครื่องมีเลือดออก บวม หรือปวดมากขึ้นเรื่อยๆ
  2. มีไข้
  3. เจ็บหน้าอก
  4. หายใจติดขัด
  5. เป็นลม
ความสำเร็จจากการทำหัตถการขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รักษาด้วยวิธีนี้
การใส่เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่องชนิดใต้ผิวหนังเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเพื่อช่วยในการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ตลอดเวลา ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้รวดเร็วและสามารถติดตามผลการรักษาได้อย่างใกล้ชิด
 
ทางเลือกอื่นในการรักษา
  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram: EKG)
  2. การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter/24 hour dynamic electrocardiography monitoring)
  3. การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นครั้งๆ (cardiac event)
แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs