bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดท่อน้ำนม

การผ่าตัดท่อน้ำนม คือ การผ่าตัดเพื่อนำท่อน้ำนมออก

จุดประสงค์/ประโยชน์การทำผ่าตัด

การผ่าตัดท่อน้ำนมมักทำเมื่อผู้ป่วยมีสารคัดหลั่งจากหัวนมจำนวนมากโดยไม่มีสาเหตุ หรือเมื่อมีเลือดปนในสารคัดหลั่ง นอกจากนี้ยังทำเพื่อรักษาฝีที่เต้านมหรือการอักเสบของเต้านมอีกด้วย

การเตรียมตัวขึ้นอยู่กับชนิดของยาระงับความรู้สึก ผู้ป่วยอาจไม่สามารถขับรถได้ แนะนำให้มีญาติหรือผู้ดูแลขับรถให้เมื่อออกจากโรงพยาบาลและช่วยเหลืองานบ้านขณะพักฟื้น หากจำเป็นต้องได้รับยาสลบ ผู้ป่วยต้องผ่านการตรวจร่างกาย ซึ่งรวมถึงการตรวจเลือด การเอกซเรย์ทรวงอก และอาจต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในบางราย ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ให้ทราบถึงชนิดของยาที่ผู้ป่วยรับประทานอยู่ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยุดใช้ยาบางชนิดก่อนการผ่าตัด และโปรดแจ้งแพทย์หากผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ใดๆ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดหรือตามคำแนะนำของแพทย์

การผ่าตัดท่อน้ำนมทำโดยการวางยาสลบภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์ ดังนั้นผู้ป่วยจะนอนหลับในระหว่างการผ่าตัด แพทย์จะเปิดแผลเล็กๆ ด้านข้างของวงปานนมหรือข้างฐานของหัวนม เพื่อให้มองเห็นท่อน้ำนมที่มีปัญหา ท่อน้ำนมจะถูกตัดออกและส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบด้วยกล้องขยาย จากนั้นแผลจะถูกเย็บปิดด้วยไหมละลาย

ผู้ป่วยจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณห้องพักฟื้นเพื่อเฝ้าดูสัญญาณชีพประมาณ 2-3 ชั่วโมง เมื่อยานอนหลับหมดฤทธิ์แล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกันหรือวันถัดไป แผลจะถูกปิดด้วยผ้าปิดแผลกันน้ำ ดังนั้นผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้ตั้งแต่วันแรกหลังจากผ่าตัด ควรระวังรักษาแผลผ่าตัดให้แห้งอยู่เสมอในระยะ 2-3 วันแรก แผลผ่าตัดมักแดงและเจ็บประมาณ 2 อาทิตย์และอาจมีอาการบวมร่วมด้วย

ควรหลีกเลี่ยงการขับรถภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด และหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือการออกกำลังกายอย่างหักโหมประมาณ 2-3 อาทิตย์ ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 1-2 วันหากอาการดีขึ้น

  • อาการบวมหรือเลือดออก
  • การติดเชื้อ
  • ความไวในการรับความรู้สึกบริเวณหัวนมลดลงหรือสูญเสียความรู้สึก (ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถให้นมบุตรได้จากหน้าอกข้างที่ได้รับการผ่าตัด)
  • มีรอยบุ๋มหรือยุบในบริเวณท่อน้ำนมที่ตัดออกไป
  • เนื้อเยื่อบริเวณหน้าอกตาย
  • ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา
  • ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 2 สัปดาห์ตลอดระยะเวลาการรักษา
  • หากผู้ป่วยมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง ผู้ป่วยสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด และได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าต้องมี)

โอกาสสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษา

หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น

หากไม่เข้ารับการผ่าตัด ผู้ป่วยจะยังคงมีอาการและมีโอกาสที่อาการอาจรุนแรงขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาทางเลือกอื่น ผู้ป่วยอาจเลือกที่จะไม่เข้ารับผ่าตัด แต่อาการอาจรุนแรงมากขึ้นและแพทย์จะไม่สามารถทำการวินิจฉัยได้หากผู้ป่วยไม่เข้ารับการผ่าตัดนี้

แก้ไขล่าสุด: 06 กุมภาพันธ์ 2566

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์เต้านม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs