bih.button.backtotop.text

การดูดเสมหะ

การดูดเสมหะ หมายถึง การใช้สายยางดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อผ่านเข้าทางปาก จมูก หรืออุปกรณ์ที่ใส่เข้าไปในหลอดลมเพื่อนำเสมหะออกจากทางเดินหายใจ มีความจำเป็นสำหรับผู้ที่มีเสมหะเหนียวหรือปอดทำหน้าที่ลดลง ทำให้กลไกการไอไม่เป็นปกติ หรือผู้ที่ไม่สามารถไอขับเสมหะออกมาได้

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อขับเสมหะออกจากทางเดินหายใจส่วนบน
  2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไอขับเสมหะ
  3. ป้องกันการสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าปอด
  4. เพื่อการเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพื่อหาสาเหตุของเสียงปอดที่ผิดปกติ เช่น rhonchi (เสียงหายใจผิดปกติในขณะหายใจเข้าและออก) หรืออาการอื่นๆ ที่อาจเกิดจากการมีเสมหะคั่งค้าง
ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น ลดโอกาสเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการอุดกั้นของเสมหะ
 
จะทำการดูดเสมหะเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้
  1. หายใจเสียงดัง
  2. กระสับกระส่าย
  3. อัตราชีพจรและการหายใจเพิ่มขึ้น
  4. เริ่มมีอาการเขียวคล้ำจากการขาดออกซิเจน
  1. การดูดเสมหะทางจมูกและทางปาก
  2. การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูก (nasopharyngeal tube หรือ nasal airway) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาว ภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้งและมีความยืดหยุ่นให้สามารถสอดใส่เข้าทางรูจมูกผ่านไปถึงโพรงจมูกด้านหลัง (nasopharynx) ได้สะดวก การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางจมูกมักใช้ในกรณีผู้ป่วยขบกัดท่อหายใจทางปาก (oropharyngeal tube) บ่อยๆ
  3. การดูดเสมหะผ่านทางท่อหายใจทางปาก (oropharyngeal tube) ซึ่งเป็นท่อที่สอดใส่เข้าทางปากผ่านช่องปากไปถึงโคนลิ้น
  4. การดูดเสมหะทางท่อหายใจและท่อเจาะคอ ช่วยให้สามารถดูดเสมหะที่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่างออกมาได้ง่าย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถไอขับเสมหะออกได้ การใส่อุปกรณ์เข้าทางท่อเจาะคอ (endotracheal tube) เข้าทางปาก (orotracheal) หรือทางจมูก (nasotracheal) โดยผ่านฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) และสายเสียง (vocal cord) เข้าสู่หลอดลม (trachea) อย่างไรก็ตามการใส่ endotracheal tube สามารถใส่ไว้ได้นานไม่เกิน 3-4 สัปดาห์ จึงเปลี่ยนเป็นท่อหลอดลมคอ (tracheostomy tube) ซึ่งเป็นการใส่เข้าสู่หลอดลมโดยตรง
  1. มีเสมหะ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ
  2. ขาดออกซิเจน หัวใจเต้นช้า ปอดแฟบ
  3. ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  4. มีการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ
  5. เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ
  6. มีรอยแผลหรือรอยแดงของผิวหนังรอบๆ หลอดหรือท่อที่ใส่ภายในหลอดลมคอ
  7. กระทบกระเทือนหลอดลม เช่น มีเนื้อตายหรือทะลุ
  8. มีความดันในกะโหลกศีรษะสูง
  9. อาเจียน สำลัก

ข้อควรระวังในการดูดเสมหะ

  1. การระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ ขณะใส่สายดูดเสมหะให้เปิดด้านหนึ่งของตัวต่อเพื่อป้องกันการดูดอากาศออกมากเกินไป และเมื่อสายดูดเสมหะเข้าไปถึงที่ต้องการ จึงปิดรู เพื่อให้เกิดแรงดูด ขณะดูดเสมหะให้หมุนสายยางไปรอบๆ และค่อยๆ ดึงสายดูดเสมหะขึ้นมา
  2. ถ้าเสมหะเหนียวมาก ให้หยดน้ำเกลือ (normal saline solution) ประมาณ 3-5 มิลลิลิตรลงไปในท่อหลอดลม ช่วยละลายเสมหะให้อ่อนตัวลง ทำให้ดูดเสมหะออกได้ง่าย
  3. ภาวะขาดออกซิเจน ควรให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนก่อนดูดเสมหะทุกครั้งประมาณ 30 วินาทีถึง 2 นาที หรือบีบถุงลมช่วยหายใจ (Ambu bag) ต่อออกซิเจน 3-6 ครั้ง และให้ออกซิเจนหลังดูดเสมหะอีกครั้งนานประมาณ 1-5 นาที หรือบีบ Ambu bag เพื่อช่วยขยายปอด ป้องกันภาวะปอดแฟบ
  4. ภาวะปอดแฟบ (lung atelectasis) จากการดูดซ้ำหลายๆ ครั้ง ดังนั้นควรดูดเมื่อมีเสมหะหรือเมื่อจำเป็น การดูดแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 5-10 วินาที และห่างกันประมาณ 3 นาที
สามารถดูดเสมหะเพื่อลดเสมหะในทางเดินหายใจได้สำเร็จ
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
เกิดภาวะการอุดกั้นทางเดินหายใจ นำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจนในร่างกายได้
 
การล้างจมูกและดูดน้ำมูกด้วยลูกยางแดง
แก้ไขล่าสุด: 18 เมษายน 2566

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs