bih.button.backtotop.text

การรักษาภาวะกระดูกเบ้าตาแตก

ภาวะกระดูกเบ้าตาแตก (orbital fracture) อาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า orbital blowout fracture เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจากการกระแทกที่บริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ความรุนแรงอาจเกิดเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรงมากจนทำให้กระดูกเบ้าตาแตกหรือทำให้ตัวลูกตาแตกก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของความแรงของแรงกระทำที่มากระทำและอีกปัจจัยคือทิศทางของแรงที่มากระทำกับตาหรือเบ้าตา

การบาดเจ็บอาจพบได้ในหลายอวัยวะ ได้แก่ ดวงตา (globe) เปลือกตา (eyelid) ระบบท่อน้ำตา (lacrimal system) กระดูกรอบๆ เบ้าตาและกระดูกเบ้าตา กระดูกโพรงไซนัส (sinuses) และสมอง (brain) เพราะฉะนั้นการตรวจร่างกายทางจักษุวิทยาจึงมีความสำคัญมากที่จะบอกถึงรายละเอียดของการบาดเจ็บว่ามีที่ส่วนใดบ้าง

บางครั้งหลังได้รับอุบัติเหตุใหม่ๆ การประเมินความบาดเจ็บอาจบอกได้ยากเพราะอวัยวะรอบๆ ดวงตาอาจมีลักษณะฟกช้ำและบวม (eyelid and orbital edema) จึงอาจมีการประเมินซ้ำหลังจากยุบบวมแล้วโดยจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านเปลือกตา ท่อน้ำตา และเบ้าตา หรือที่เรียกว่า Oculoplastic Specialist (Ophthalmic Plastic and Reconstructive Surgery)
 

อาการที่พบได้หลังกระดูกเบ้าตาแตก
  • อาการชาที่แก้ม
  • เห็นภาพซ้อน
  • เปลือกตาบวมช้ำ
  • ความสามารถในการกลอกตาลดลงหรือกลอกตาไม่สุด เนื่องจากเนื้อเยื่อภายในเบ้าตาหรือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่กลอกตาถูกบีบทับจากกระดูกที่แตก
  • ภายหลังจากที่เปลือกตายุบบวมลงแล้วอาจเห็นตาข้างที่ได้รับอุบัติเหตุยุบลงหรือเล็กลงชัดเจนขึ้น
หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ บางรายได้รับการกระแทกอย่างรุนแรงแต่อาจไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้นชัดเจน ก็อาจมีภาวะกระดูกเบ้าตาแตกได้

 
  • เพื่อให้ภาวะผิดปกติกลับมาทำงานได้
  • ลดภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น
  • ลดการเกิดผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ภายในลูกตา
ภาวะกระดูกเบ้าตาแตกมีหลายประเภท ซึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ลูกตาอยู่ลึกกว่าปกติ เห็นภาพซ้อนความสามารถในการกลอกตาลดลง ดังนั้นการตัดสินใจว่าจะผ่าตัดหรือไม่ขึ้นกับการตรวจวินิจฉัย ผลจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT) scan) และการประเมินประโยชน์ที่ได้ ในกรณีตรวจพบว่ามีกล้ามเนื้อถูกหนีบรัด (muscle entrapment) อย่างชัดเจน ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อป้องกันอันตรายจากการตายของเนื้อเยื่อที่สำคัญที่เกี่ยวกับตา หากมีอาการ เช่น มีอาการชาที่แก้ม/โหนกแก้ม เห็นภาพซ้อน หรือมีปัญหาในการมองเห็น ระดับลูกตา 2 ข้างไม่เท่ากัน คือ ข้างที่มีกระดูกหักต่ำกว่าข้างปกติ มีปัญหาในการกลอกตาไปมา ตาหวำลึก จากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT) scan) เห็นเนื้อเยื่อลูกตาตกไปในไซนัสหรือถูกหนีบรัดสามารถรอได้ แต่ไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์เนื่องจากมักมีแผลเป็นหรือพังผืดที่เนื้อเยื่อลูกตา ทำให้ผ่าตัดยากขึ้นและอาจทำให้ลูกตาหวำลึก (ในระยะยาว)
 
  1. ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจให้ครอบคลุมทางจักษุเพื่อตรวจหาอาการบาดเจ็บที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ เส้นเลือดในตาขาวแตก (hyphema) การลอกออกของเรตินา มีเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา (vitreous hemorrhage) เลนส์ตาเลื่อน (lens subluxation) หรือกระดูกแตกที่บริเวณกะโหลกและใบหน้า เป็นต้น ซึ่งจะมีอุปกรณ์เฉพาะในการตรวจแต่ละด้าน
  2. การประเมินทางรังสีวิทยา
  3. ในรายที่สงสัยภาวะแตกภายในเบ้าตาและการแตกในกะโหลกศีรษะอื่นๆ ควรได้รับการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography (CT) scan) เพราะอาจเกิดได้ทั้งจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นได้ นอกเหนือจากกระดูกเบ้าตาและกระดูกบริเวณโดยรอบข้างเคียง
ได้แก่ การสูญเสียการมองเห็น มีเลือดออกภายในเบ้าตา ตาหวำลึกถาวร การอักเสบ ติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งโอกาสเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยเลือกวิธีผ่าตัด ชนิดของวัสดุ และเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสม

 
ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของโรค ในบางกรณีอาจเลือกรักษาตามอาการและติดตามอาการไปก่อนพิจารณาผ่าตัด เช่น การแตกที่อยู่ในบริเวณที่ไม่สำคัญและมีขนาดปานกลาง มีอาการแสดงที่บ่งชี้ว่ามีอาการดีขึ้นภายในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังจากอาการบวมยุบหายไปแล้ว

 
อาจเกิดอันตรายจากการตายของเนื้อเยื่อที่สำคัญที่เกี่ยวกับตาได้
แก้ไขล่าสุด: 16 มิถุนายน 2564

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs