bih.button.backtotop.text

การใส่สายระบายน้ำปัสสาวะออกจากกรวยไตผ่านทางผิวหนัง

Percutaneous Nephrostomy (PCN) เป็นหัตถการที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะอุดตันของทางเดินปัสสาวะ จุดประสงค์เพื่อให้มีการระบายน้ำปัสสาวะออกชั่วคราว โดยการสอดสายระบายน้ำปัสสาวะผ่านทางผิวหนังเข้าไปที่กรวยไต หัตถการนี้มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัด จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัด หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหากรักษาด้วยการผ่าตัด

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
  1. เกิดภาวะเลือดออก (4-8%) หรือปัสสาวะเป็นเลือด
  2. ติดเชื้อในกระแสเลือด
  3. ปฏิกิริยาต่อการแพ้สารทึบรังสี
  4. อาจมีการเคลื่อนหลุดจากตำแหน่งของท่อระบาย
เมื่อผู้ป่วยกลับบ้านจะต้องดูแลสายระบายน้ำปัสสาวะเอง ควรปฏิบัติดังนี้
  1. สังเกตตำแหน่งและลักษณะของสายระบายน้ำปัสสาวะว่าไม่หัก พับ งอ ดึงรั้ง เพื่อป้องกันการหลุดเลื่อนของสายระบายน้ำปัสสาวะ
  2. สังเกตลักษณะน้ำปัสสาวะ รวมทั้งบันทึกปริมาณที่ไหลออกมาต่อวัน
  3. หากต้องการอาบน้ำขณะยังมีสายระบายน้ำปัสสาวะอยู่ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ควรระวังไม่ให้แผลสกปรกหรือเปียกน้ำ หากพลาสเตอร์ปิดแผลเปียกแฉะจนถึงผ้าก๊อซ ให้ทำความสะอาดแผลใหม่ทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ ห้ามแช่น้ำหรือลงสระว่ายน้ำขณะยังมีสายระบายติดอยู่กับตัว
  4. ผู้ป่วยควรรีบมาพบแพทย์ หากพบสิ่งต่อไปนี้
    • สายหลุดหรือเลื่อนออกมามากกว่า 5 เซนติเมตร
    • ปัสสาวะขุ่นหรือเปลี่ยนสีจากสีเหลืองเป็นสีอื่น
    • ปัสสาวะไม่ไหล หรือไหลน้อยลงกว่าเดิมอย่างมาก
  5. ควรทำความสะอาดแผลสัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือทุกครั้งที่แผลซึม โดยปฏิบัติดังนี้
    • ล้างมือฟอกสบู่ 2-3 ครั้ง แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดจนแห้งก่อนทำแผล
    • ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำยาเบตาดีนเช็ดผิวหนังรอบๆ แผล และสายระบายที่ติดกับผิวหนัง เนื่องจากสายระบายน้ำปัสสาวะนี้จะเลื่อนเข้าออกตามการหายใจ ใช้สำลีสะอาดชุบแอลกอฮอล์ 70% ทำความสะอาดซ้ำด้วยวิธีเดียวกัน
    • ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ โดยใช้ผ้าก๊อซหนุนสายระบาย และติดพลาสเตอร์ให้สายระบายน้ำปัสสาวะแนบกับผิวหนังหน้าท้อง เพื่อป้องกันการหักพับของท่อ
    • ใช้พลาสเตอร์ติดยึดสายระบายกับผิวหนังหน้าท้องเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันสายถูกดึงรั้งและเลื่อนหลุด
  6. ควรเข้ามารับการเปลี่ยนถุงระบายปัสสาวะทุก 1 เดือน หรือตามแพทย์นัด
ภาวะเลือดแข็งตัวช้า ภาวะติดเชื้อในระบบไหลเวียนเลือด มะเร็งระยะสุดท้ายและมีอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการพิจารณาทำหัตถการอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการต่อไป

หลังออกจากโรงพยาบาลแนะนำให้พักโรงแรมใกล้โรงพยาบาลอย่างน้อย 2 วัน เพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลหากเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังทำหัตถการ

  1. Ureterosigmoidoscopy คือ การผ่าตัดเอาท่อไตส่วนปลายทั้งสองข้างมาต่อกับลำไส้ใหญ่ เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกสู่ภายนอกทางรูทวารหนัก
  2. Ureteroileostomy หรือ Ileo-cutaneous ureterostomy คือ การผ่าตัดเอาท่อไตส่วนปลายทั้งสองข้างมาต่อกับลำไส้เล็ก และเอาปลายรูเปิดของลำไส้มาเปิดที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง เพื่อให้ปัสสาวะไหลออก
  3. Cutaneous ureterostomy คือ การผ่าตัดเอาท่อไตส่วนปลายทั้งสองข้างมาต่อเปิดที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง เพื่อเป็นทางระบายปัสสาวะ
  4. Continent internal ileal reservoir (Kock pouch) คือ การผ่าตัดเอาท่อไตส่วนปลายทั้งสองข้างมาต่อกับลำไส้เล็ก ซึ่งใช้เป็นแหล่งรองรับปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะเทียม โดยมีลิ้น (valve) ป้องกันปัสสาวะไหลย้อนจากกระเพาะปัสสาวะเทียมไปยังไต จากนั้นนำกระเพาะปัสสาวะเทียมมาเปิดต่อกับท่อปัสสาวะ
  5. Ureteric stenting มักทำในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะท่อไตตีบ
แก้ไขล่าสุด: 01 กุมภาพันธ์ 2564

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs