bih.button.backtotop.text

การใส่สายระบายน้ำดีผ่านทางผิวหนัง

Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage (PTBD) เป็นหัตถการสำหรับวินิจฉัยหรือรักษาผู้ป่วยที่มีการอุดตันของทางเดินน้ำดี วัตถุประสงค์เพื่อหาจุดที่มีการอุดตันของทางเดินน้ำดีและเพื่อใส่สายระบายน้ำดีชั่วคราว รวมทั้งเป็นหัตถการทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัดหรือมีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัด เนื่องจากวิธีนี้มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัด

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
  1. เลือดออกในช่องท้อง เลือดออกในท่อน้ำดี
  2. ติดเชื้อรอบผิวหนังที่ใส่สายระบายน้ำดีและติดเชื้อในท่อน้ำดี (infection)
  3. แพ้สารทึบรังสีที่ใช้ฉีดระหว่างทำหัตถการ
  4. การเคลื่อนหลุดจากตำแหน่งของท่อระบาย
  5. น้ำดีรั่วซึม
เมื่อได้รับการใส่สายระบายทางเดินน้ำดีกลับบ้าน จะต้องดูแลสายระบายทางเดินน้ำดี ดังนี้
  1. สังเกตลักษณะน้ำดี เช่น สี ความข้นรวมทั้งบันทึกปริมาณน้ำดีที่ไหลออกมาต่อวัน
  2. สังเกตตำแหน่งและลักษณะของสายระบายน้ำดีว่าไม่หัก พับ งอ ดึงรั้ง
  3. ผู้ป่วยควรรีบมาพบแพทย์ หากพบสิ่งต่อไปนี้
    1. สายหลุดหรือเลื่อนออกมามากกว่า 5 เซนติเมตร
    2. น้ำดีไหลซึมหรือพลาสเตอร์เลื่อนหลุด
    3. น้ำดีไม่ไหลตลอด 24 ชั่วโมง หรือไหลน้อยลงกว่าเดิม
    4. มีไข้สูง
  4. หากต้องการอาบน้ำขณะยังมีสายระบายน้ำดีอยู่ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ ควรระวังไม่ให้แผลท่อระบายน้ำดีสกปรกหรือเปียกน้ำ หากพลาสเตอร์ปิดแผลเปียกแฉะจนถึงผ้าก๊อซ ให้ทำความสะอาดแผลใหม่ทันทีหลังอาบน้ำเสร็จ ห้ามแช่น้ำหรือลงสระว่ายน้ำขณะยังมีสายระบายน้ำดีติดอยู่กับตัว
  5. ควรทำความสะอาดแผลสัปดาห์ละ 2 ครั้งหรือทุกครั้งที่แผลซึม โดยปฏิบัติดังนี้
    1. ล้างมือฟอกสบู่ 2-3 ครั้ง แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดจนแห้งก่อนทำแผล
    2. แกะพลาสเตอร์ออก ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำยาเบตาดีนเช็ดผิวหนังรอบๆ แผลและสายระบายน้ำดีที่ติดกับผิวหนัง เนื่องจากสายระบายนี้จะเลื่อนเข้าออกตามการหายใจ ใช้สำลีสะอาดชุบแอลกอฮอล์ 70% ทำความสะอาดซ้ำด้วยวิธีเดียวกัน
    3. ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ โดยใช้ผ้าก๊อซหนุนท่อระบาย และติดพลาสเตอร์ให้สายระบายแนบกับผิวหนังหน้าท้อง เพื่อป้องกันการหักพับของท่อ
    4. ใช้พลาสเตอร์ติดยึดท่อระบายกับผิวหนังหน้าท้องเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันสายระบายถูกดึงรั้งและเลื่อนหลุด
  6. ควรเข้ามารับการเปลี่ยนถุงรับน้ำดีทุก 1 เดือน หรือตามแพทย์นัด
ผู้ป่วยที่มีภาวะอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีบางรายไม่อาจทำ percutaneous transhepatic biliary drainage (PTBD) ได้ เนื่องด้วยภาวะบางประการ ได้แก่ ภาวะเลือดแข็งตัวช้า ภาวะติดเชื้อในระบบไหลเวียนเลือด มีน้ำในช่องท้อง และมะเร็งแพร่กระจายในเนื้อตับ/อุดตันหลายตำแหน่ง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับการพิจารณาทำหัตถการอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการ
 
ระยะเวลาของการใส่สายระบายทางเดินน้ำดี
ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หรือจนกว่าน้ำดีจะไหลลงสู่ลำไส้ได้ตามปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของแพทย์ ในกรณีที่เป็นการรักษาประคับประคอง ผู้ป่วยอาจต้องค้างสายระบายน้ำดีไปตลอด
หลังออกจากโรงพยาบาลแนะนำให้พักโรงแรมใกล้โรงพยาบาลอย่างน้อย 2 วัน เพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลหากเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังทำหัตถการ
  1. การส่องกล้องท่อทางเดินน้ำดี (endoscopic retrograde cholangiopancreatography: ERCP)
  2. การใส่ขดลวดขยายท่อน้ำดีผ่านทางการส่องกล้อง (endoscopic retrograde cholangiopancreatography with stent placement)
  3. การผ่าตัด ได้แก่

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs