bih.button.backtotop.text

การรักษาด้วยการส่องไฟ

การรักษาด้วยการส่องไฟ คือ การรักษาที่ใช้แสงไฟฟ้า 200-400 แรงเทียนที่มีความยาวคลื่นประมาณ 400-500 นาโนเมตร อาจเป็นแสงนีออนของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (fluorescent lights) หรือแสงสีน้ำเงิน (special blue) ก็ได้ โดยความสว่างของแสงพลังงานแสงอย่างน้อยที่สุดที่มีประสิทธิภาพคือ 4 ไมโครวัตต์/ลูกบาศก์เมตร ใช้รักษาทารกที่มีตัวเหลืองหรือที่มีระดับบิลิรูบินสูง โดยแสงจะช่วยให้บิลิรูบินเกิดการเคลื่อนตัวจากผิวหนังไปสู่ระบบไหลเวียนเลือด แล้วขับออกทางปัสสาวะและทางอุจจาระ

ตัวเหลืองในทารกแรก
ตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในสัปดาห์แรกถือเป็นภาวะปกติ ภาวะดังกล่าวนี้มีสาเหตุเกิดจากร่างกายทารกมีสารกลุ่ม
บิลิรูบิน (bilirubin) สูงขึ้นมากกว่าปกติ ทารกเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟเพื่อลดปริมาณบิลิรูบินให้รวดเร็ว และเป็นการป้องกันโรคสมองพิการ ซึ่งเป็นผลกระทบที่รุนแรง
 
กลุ่มทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดภาวะตัวเหลือง
  • ทารกที่มีตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
  • ทารกที่มีตัวเหลืองให้เห็นได้ก่อนกลับบ้าน
  • ทารกที่มีพี่ตัวเหลือง
  • ทารกที่มีอายุครรภ์ 35-37 สัปดาห์
  • ทารกที่ได้รับนมมารดาเพียงอย่างเดียว
  • ทารกที่มีรอยฟกช้ำหรือภาวะเลือดออกในสมอง (cephalhematoma)
  • ทารกเพศชาย
*** ถ้ามีความเสี่ยงหลายข้อรวมกันจะเพิ่มโอกาสตัวเหลืองเพิ่มขึ้น ***
 
ชนิดของการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
  1. ภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิดในภาวะปกติ (physiological (normal) jaundice)
พบมากกว่าร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิดทั้งหมด โดยทารกอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ยกเว้นทารกเกิดก่อนกำหนดซึ่งมักมีอาการป่วยร่วมด้วย
สาเหตุ
  • ตับของทารกยังทำงานไม่สมบูรณ์ทำให้การขับบิลิรูบินออกช้า ซึ่งพบในช่วงวันที่ 2-4 และจะหายไปเองใน 1-2 สัปดาห์
  • ทารกแรกเกิดมักมีการสร้างบิลิรูบินมากกว่าผู้ใหญ่และเด็กโตถึง 2 เท่าเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่า
  1. ภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิดที่ผิดปกติ (pathological jaundice)
    1. มีการสร้างบิลิรูบินเพิ่มขึ้นกว่าปกติ
  • Hemolytic disease of the newborn (HDN) เกิดจากการที่กลุ่มเลือดของมารดาไม่เหมือนของทารก ทำให้มารดาสร้างแอนติบอดีต่อกลุ่มเลือดของทารก ซึ่งแอนติบอดีนี้จะผ่านทางรกไปสู่ทารกได้ ทำให้มีการทำลายเม็ดเลือดของทารก
ABO incompatibility เป็นชนิดของ hemolytic disease of the newborn (HDN) ที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย เกิดในมารดาที่มีเลือดกลุ่มโอเท่านั้นและบุตรมีกลุ่มเลือดเอหรือบี ส่วน Rh incompatibility พบน้อยมากและในปัจจุบันแถบประเทศตะวันตกพบน้อยลงเนื่องจากมีวิธีป้องกันโดยการให้ Rh immune globulin แก่มารดาภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังคลอด
  • ความผิดปกติของเยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ
  • ความผิดปกติของเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายในภาวะปกติ ได้แก่ ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase) หรือการขาด pyruvate kinase เป็นต้น
  • โรคธาลัสซีเมีย
  • ทารกที่มีเลือดออกภายในร่างกาย เช่น เลือดออกในสมองหรือลำไส้จำนวนมาก ทำให้มีบิลิรูบินเข้าสู่กระแสโลหิตมากกว่าปกติ
  • ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ (polycythemia)
    1. มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้เพิ่มขึ้นจากภาวะต่างๆ เช่น
  • ทารกที่ดูดนมได้น้อย
  • ภาวะลำไส้อุดกั้น มีบิลิรูบินตกค้างในลำไส้จำนวนมากและดูดซึมกลับสู่ตับได้มากขึ้น
    1. ตับสามารถกำจัดบิลิรูบินได้น้อยลง
    2. ภาวะติดเชื้อในครรภ์ เช่น การติดเชื้อ cytomegalovirus (CMV) การติดเชื้อ Toxoplasmosis หัดเยอรมัน เริม ซิฟิลิส ตับอักเสบ
    3. ภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด
  1. ภาวะเหลืองจากการได้รับนมมารดา (breast milk jaundice)
 
อาการและอาการแสดง
  • อาการตัวเหลืองมักเห็นบริเวณใบหน้าก่อน ถ้ากดบริเวณหน้าผากจะเห็นได้ชัดเจนขึ้น ทารกคลอดก่อนกำหนดมีผิวหนังที่บางทำให้ดูเหลืองกว่าทารกครบกำหนดที่มีระดับบิลิรูบินเท่ากัน และจะเห็นชัดมากขึ้นที่ลำตัวและแขนขาตามลำดับเมื่อระดับบิลิรูบินสูงขึ้น
  • มีรอยจ้ำเลือดตามตัว อาจพบจุดเลือดออกตามผิวหนังซึม ถ้าระดับบิลิรูบินสูงมากๆ
  • ตับหรือม้ามโต พบในภาวะที่มีการทำลายของเม็ดเลือดสูงในทารก (hemolytic disease of the newborn) หรือทารกที่ติดเชื้อในครรภ์
  • ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจากสาเหตุหมู่เลือดไม่เข้ากันกับมารดา (blood group incompatibility) หรือมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (reticulocyte count สูงผิดปกติและทารกมีฮีมาโตคริทน้อยกว่า 40%) หรือน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม ถ้าอายุน้อยกว่า 48 ชั่วโมง ส่องไฟที่ระดับของบิลิรูบินมากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถ้าอายุมากกว่า 48 ชั่วโมง ส่องไฟเมื่อระดับสูงกว่า 15 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • ในกรณีที่ไม่ใช่กรณีกลุ่มเลือดไม่เข้ากัน ไม่มีการแตกของเม็ดเลือดและไม่พบความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะบิลิรูบิน เช่น มีการติดเชื้อในเลือด ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) สำหรับทารกอายุ 48-72 ชั่วโมง ให้เริ่มส่องไฟเมื่อบิลิรูบินมากกว่า 15 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับทารกอายุมากกว่า 72 ชั่วโมง ให้เริ่มส่องไฟเมื่อ
    บิลิรูบินมากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  • กรณีมีข้อบ่งชี้ต้องทำการเปลี่ยนถ่ายเลือด ทารกจะได้รับการส่องไฟไปก่อนจนกว่าเลือดที่จะใช้สำหรับทำการเปลี่ยนถ่ายได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว
  1. แพทย์จะตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินว่าทารกมีภาวะบิลิรูบินสูงหรือไม่ ได้แก่ การตรวจหากลุ่มหมู่เลือด การดูภาวะต่อต้านเม็ดเลือด เช่น Coombs’ test การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด การตรวจนับเม็ดเลือด (smear and reticulocyte count) และการตรวจหาภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase)
  2. พยาบาลจะให้คำแนะนำและอธิบายแก่มารดาในเรื่องความจำเป็นของการส่องไฟ
  3. พยาบาลจะแนะนำถึงข้อบ่งชี้ในการหยุดส่องไฟ
  1. ติดตามการเกิดตัวเหลือง โดยการบันทึกเวลาที่เริ่มปรากฏตัวเหลือง ระยะเวลาของการเกิดตัวเหลือง อัตราการเพิ่มของระดับบิลิรูบิน ระดับสูงสุดของบิลิรูบินในกระแสเลือด หมู่เลือดมารดาและทารก และสภาพอาการของทารก
  2. ตรวจสภาพการทำงานของอุปกรณ์
  3. ประเมินอุณหภูมิร่างกายของทารกและประเมินสัญญาณชีพทุก 2-4 ชั่วโมง
  4. ประเมินการได้รับสารน้ำ (ส่วนใหญ่จะให้นมแก่ทารกทุก 3 ชั่วโมง)
  5. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการให้นมคือ การสำรอก ผู้ดูแลควรจับให้ทารกเรอระหว่างและหลังการให้นมทุกครั้ง
  6. ประเมินการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ โดยลักษณะสีของอุจจาระและปัสสาวะจะค่อยเปลี่ยนไปเมื่อทารกได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ คือจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีเขียวและสีเหลืองตามลำดับ
  7. ประเมินการขับถ่ายปัสสาวะของทารก (ปกติทารกขับถ่ายมากกว่า 6 ครั้งใน 24 ชั่วโมง) เนื่องจากทารกปัสสาวะบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดก้นแดงได้ ดังนั้นควรเช็ดทำความสะอาดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งทุกครั้ง
  8. กรณีมารดายังไม่มีน้ำนม อาจให้นมผสมได้โดยนำทารกไปให้มารดาเป็นผู้ป้อนนม โดยปิดไฟ phototherapy เสมอเมื่อนำทารกออกไปให้นม
  9. ให้ผิวหนังทารกได้สัมผัสกับแสงมากที่สุด โดยการถอดเสื้อผ้าทารกออก เพื่อให้หน้าอกและท้องได้สัมผัสแสง ทั้งนี้อาจใส่ผ้าอ้อมผืนเล็กๆ ได้ในกรณีที่ทารกถ่ายอุจจาระปริมาณที่มากๆ
  10. ป้องกันดวงตาทารก โดยการปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตา และเปิดออกอย่างน้อย 15-30 นาทีทุก 4 ชั่วโมงและทำความสะอาดตาให้ทารกด้วยน้ำเกลือ (normal saline solution: NSS) ตามปกติ
  • อัตราการเพิ่มของการเผาผลาญ (increases metabolic rate) ซึ่งอาจพบว่าทารกอาจมีน้ำหนักตัวลดลง
  • ทารกมีภาวะเสียน้ำมากจากการระเหยของน้ำ เพราะอุณหภูมิรอบตัวของทารกสูงขึ้น จึงต้องมีการทดแทนโดยให้น้ำมากขึ้นกว่าเดิม หรือโดยการให้สารน้ำทางหลอดเลือด
  • ทารกอาจถ่ายเหลวจากแสงที่ใช้ในการรักษา ทำให้มีการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ ทำให้มีการขาดเอนไซม์แลคเตส (lactase) เป็นการชั่วคราว และจะดีขึ้นเมื่อหยุดการรักษา ควรให้ทารกดูดนมมากๆ และบ่อยๆ เพื่อลดการเสียน้ำและเพิ่มการถ่ายอุจจาระ ถ้าทารกดูดหรือรับนมไม่ได้หรือได้ไม่ดีก็ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือด
  • ถ้าไม่ได้ปิดตาทารกให้มิดชิด อาจมีการบาดเจ็บบริเวณเรตินา เนื่องจากถูกแสงส่องนานทำให้ตาบอดได้ ดังนั้นการดูแลทารกในช่วงที่รับการส่องไฟควรปิดตาทารกให้มิดชิด
  • ทารกอาจมีสีผิวคล้ำขึ้นจากการที่ต้องถูกแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน
  • เนื่องจากต้องให้ทารกรักษาด้วยการส่องไฟอาจทำให้มารดามีโอกาสได้อุ้มและสัมผัสทารกน้อยลง ดังนั้นจึงควรให้มารดาเป็นผู้ป้อนนมแก่ทารกเพื่อใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการสร้างสัมพันธภาพ
  • ทารกอาจมีอุณหภูมิร่างกายสูงหรือต่ำกว่าปกติ ดังนั้นควรประเมินสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอทุก 4 ชั่วโมง
  • อาจมีผื่นขึ้นตามตัวเป็นการชั่วคราว
ไม่มีผลกระทบต่อการเดินทางของผู้ป่วย
 
ระดับบิลิรูบินในเลือดลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมกับอายุและทารกแต่ละราย
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
จะทำให้ระดับบิลิรูบินเพิ่มสูงขึ้นมากในค่าที่อาจมีผลต่อการทำงานของสมอง
 
  • การเปลี่ยนถ่ายเลือด (blood exchange) กรณีทารกมีข้อบ่งชี้เนื่องจากบิลิรูบินสูงเกินไปและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองพิการ
  • การรักษาด้วยยา เช่น ยา phenobarbital ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มการจับของบิลิรูบินได้ (conjugation)
แก้ไขล่าสุด: 20 มกราคม 2564

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs