bih.button.backtotop.text

วางแผนตั้งครรภ์ และคลอดบุตร

Layout-Women-Center-Element_ศนยสต-นรเวช.pngLayout-Women-Center-Element_สขภาพผหญง.pngLayout-Women-Center-Element_สขภาพวยทอง.pngLayout-Women-Center-Element_สขภาพเตานม.png


 Layout-Women-Center-Element_มะเรงในผหญง-(1).pngLayout-Women-Center-Element_วางแผนตงครรภ-และคลอดบตร.pngวางแผนตั้งครรภ์และคลอดบุตรLayout-Women-Center-Element_แผนกบำบดพเศษทารกแรกเกด-(1).png

วางแผนตั้งครรภ์ก่อนมีบุตร​

การเตรียมสุขภาพให้พร้อมก่อนการตั้งครรภ์หมายถึงการมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่นจนถึงวันคลอด พร้อมให้กำเนิดลูกน้อยที่แข็งแรงสมบูรณ์มากที่สุด

 

Layout-Women-Center-Element_วางแผนตงครรภกอนมบตร​-1-(2).png
การตรวจสุขภาพคู่สมรส 
 

Layout-Women-Center-Element_วางแผนตงครรภกอนมบตร​-2-(2).png
การตรวจยีนเพื่อหาความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์

ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) หมายถึงภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ในระยะเวลา 1 ปี โดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอและไม่มีการคุมกำเนิด หรือระยะเวลา 6 เดือนในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป โดยมีสาเหตุได้ทั้งจากฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายหรือทั้งสองฝ่ายร่วมกันและสามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังนี้
 

Layout-Fertility-Center-IVF-Clinic-Banner-Element_Medicine-500x500-(1).png

รักษาด้วยยา


Layout-Fertility-Center-IVF-Clinic-Banner-Element_Robotic-Surgery-500x500-(3).png  

การผ่าตัดผ่านกล้อง (Reproductive surgery: Minimal Invasive Surgery (Hysteroscopy, Laparoscopy))


Layout-Fertility-Center-IVF-Clinic-Banner-Element_Fertility-Technology-500x500.png

การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น IUI, ICSI หรือ IVF

Layout-Women-Center-Element_วางแผนตงครรภกอนมบตร​-3.png

คลอดธรรมชาติ

เป็นการคลอดตามธรรมชาติที่คุณแม่เบ่งคลอดเองทางช่องคลอด มีข้อดีคือลูกน้อยจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ในช่องคลอดของคุณแม่ อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช่จ่ายได้มากกว่าคุณแม่ผ่าคลอด และคุณแม่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าคลอด โดยมีบริการฉีดยาชาที่ไขสันหลังเพื่อระงับความปวดให้คุณแม่ด้วยวิสัญญีแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง


Layout-Women-Center-Element_วางแผนตงครรภกอนมบตร​-4.png

คลอดลูกด้วยการผ่าคลอด 

เป็นการคลอดด้วยการผ่าตัดทางหน้าท้อง โดยปกติแล้วการผ่าคลอดจะเหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติได้ เช่น มีโรคประจำตัว ทารกอยู่ในท่าที่ไม่พร้อมสำหรับการคลอด หรือในกรณีที่ต้องผ่าคลอดแบบฉุกเฉิน

 
 

ภาวะครรภ์เสี่ยง หมายถึง การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงซึ่งส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในครรภ์ โดยอาจทำให้เกิดอันตรายหรือเสียชีวิตได้ทั้งในขณะตั้งครรภ์ คลอด หรือหลังคลอด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เสี่ยง

  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางอายุรกรรมต่างๆ โรคติดเชื้อ HIV กามโรค หรือพาหะตับอักเสบบี
  • มีประวัติปัญหาในการตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร เช่น ทารกคลอดก่อนและหลังกำหนด มีประวัติแท้งบุตรไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง
  • วิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ติดยาเสพติดหรือสุรา
  • ตั้งครรภ์มีอายุน้อยกว่า 16 ปี หรือมากกว่า 40 ปี


วิธีป้องกันและดูแลภาวะครรภ์เสี่ยง

ป้องกันก่อนการตั้งครรภ์ ควรตระหนักถึงความเสี่ยงต่างๆ เตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ด้วยการตรวจสุขภาพ หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์เพื่อประเมินความเสี่ยงและจัดการกับโรค ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุราและใช้สารเสพติด รับประทานกรดโฟลิกล่วงหน้า 2-3 เดือน ก่อนตั้งครรภ์เพื่อป้องกันความผิดปกติในทารก


การดูแลภาวะครรภ์เสี่ยง

การดูแลครรภ์เสี่ยงขึ้นอยู่กับปัจจัยความเสี่ยง โดยแผนการดูแลอาจรวมถึงวิธีการต่างๆดังนี้

  • พบสูติแพทย์ตามนัดหมายเพื่อติดตามการตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด
  • พบแพทย์สาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ
  • รีบไปพบแพทย์หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดไหลหรือของเหลวออกจากช่องคลอด ทารกดิ้นน้อยลง รู้สึกเจ็บปวดบริเวณท้องน้อย เจ็บแสบขณะปัสสาวะ สายตาเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงมองเห็นไม่ชัด มีไข้ อาเจียนหรือคลื่นไส้อย่างต่อเนื่องและรู้สึกเวียนศีรษะ

การดูแลสุขภาพหลังการตั้งครรภ์ประกอบไปด้วยการดูแลที่ครอบคลุมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เรามีทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพผู้ชำนาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ในการดูแลสุขภาพมารดาและทารกอย่างต่อเนื่อง เช่น

  • นักโภชนาการ แนะนำการรับประทานอาหารเพื่อให้มารดาและลูกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอและช่วยในการลดน้ำหนัก
  • นักกายภาพบำบัด ช่วยจัดโปรแกรมออกกำลังกายให้แก่มารดาหลังคลอดเพื่อให้ฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็วขึ้น ช่วยลดน้ำหนักและลดอาการซึมเศร้าหลังคลอด
  • พยาบาลวิชาชีพ ของคลินิคที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางพร้อมให้บริการให้คำปรึกษาการเตรียมพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนี้
    • ให้คำปรึกษาการแก้ไขปัญหาหัวนมและเต้านมแก่สตรีตั้งครรภ์
    • ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่ที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    • ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่เพื่อฝึกทักษะการให้นมแม่อย่างถูกต้อง
    • ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่หลังคลอดที่มีปัญหาเต้านมและหัวนม เช่น เต้านมคัด เต้านมอักเสบ หัวนมเจ็บ
    • ให้คำแนะนำคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ
    • ให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณแม่ที่มีปัญหาลูกไม่ยอมดูดนมแม่ สับสนหัวนม
    • บริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 
  • บริการด้านเสริมความงาม เพื่อคืนความมั่นใจให้คุณแม่หลังคลอด โดย Vitallife Center
  • สิทธิพิเศษสำหรับทารกที่คลอดบำรุงราษฎร์ ด้วยสมาชิก Baby Club โดยจะได้รับส่วนลด 10% (สําหรับค่ายาผู้ป่วยนอก, ค่ายาผู้ป่วยในและค่าห้องพักผู้ป่วยใน โดยสิทธิประโยชน์นี้จะสิ้นสุดเมื่อบุตรอายุครบ 12 ปี)
 

 

บำรุงราษฎร์มีประสบการณ์ในการดุแลภาวะครรภ์เสี่ยงกว่า 1,627 รายและพบภาวะครรภ์เป็นพิษเพียง 0.01% เท่านั้น
สำหรับภาวะตกเลือดหลังคลอดพบผู้ป่วยเพียง 0.53% ด้วยความร่วมมือของทีมสูติแพทย์และสหสาขาที่ให้การดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเป็นระบบเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย


Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_TH-01.jpg
Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_TH-02.jpg
Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_TH-03.jpg
ด้วยการดูแลอย่างครอบคลุมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนถึงคลอด ด้วยทีมสูติแพทย์ กุมารแพทย์และสหสาขาวิชาชีพ ทำให้บำรุงราษฎร์มีอัตราการเสียชีวิตของคุณแม่หลังคลอดเป็น 0 อัตราการเสียชีวิตทารกแรกเกิดต่ำเพียง 0.12% และมีอัตราการรอดชีวิตของทารกแรกเกิดที่น้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม สูงถึง 88%

Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_EN-04.jpg

Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_EN-05.jpg

Layout-Woman-Center-Campaign-infographic_EN-06.jpg

แบบประเมินความเสี่ยงสัญญาณของภาวะมีบุตรยาก


Banner_Women_centerrisk-assessment_มลกยาก.png
แก้ไขล่าสุด: 29 มกราคม 2567

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs