You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
การรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง
การรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation: RF ablation) เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้กลับมาเป็นปกติ โดยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านสายสวนที่สอดเข้าร่างกายไปตามหลอดเลือดถึงห้องหัวใจ ปลายสายจะมีขั้วปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุไป ณ ตําแหน่งที่มีกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เพื่อทําลายตําแหน่งที่มีการนําไฟฟ้าผิดปกติ
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการต่อไปนี้
1. บริเวณที่ใส่สายสวนมีเลือดออก มีรอยฟกช้ำขึ้นใหม่หรือบวมกดเจ็บ
2. มีสัญญาณว่าเกิดการติดเชื้อ เช่น แผลบวมแดง หรือมีไข้
3. เจ็บหน้าอกหรือหายใจติดขัด
4. วิงเวียนหรือหน้ามืด
ก่อนทำหัตถการ
· ผู้ป่วยควรอยู่ในประเทศไทยประมาณ 1 สัปดาห์ตลอดระยะเวลาการรักษา
· แนะนำให้พักโรงแรมใกล้โรงพยาบาลเพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดหรือทำหัตถการจนถึงวันนัดพบแพทย์
หลังทำหัตถการ
· ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด และได้รับเอกสารรายงานการผ่าตัดหรือการทำหัตถการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
· หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงในการดึง ผลัก ดัน หรือยกขึ้น รวมถึงการนั่งคุกเข่า ซึ่งอาจมีผลทําให้เลือดออกบริเวณที่แทงเข็มที่ขาหนีบ
· ดูแลบริเวณรอยเข็มแทงที่ขาหนีบให้แห้งและสะอาดเสมอจนกว่าแผลจะหายสนิท ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการแดง บวม และปวดมาก นอกจากนี้หากมีอาการเลือดออกที่รอยเข็มแทง ให้กดบริเวณรอยเข็มอย่างน้อย 10 นาที ถ้าเลือดยังไม่หยุดให้รีบปรึกษาแพทย์
· ในการเดินทางกลับประเทศโดยเครื่องบิน หากผู้ป่วยนั่งชั้นประหยัดแนะนำให้เลือกที่นั่งแถวหน้าและลุกเดินบ่อยๆ ทุก 15-30 นาที รวมถึงกระดกข้อเท้า (foot ankle pump) บ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ขา
· รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยควรพกพายาประจำตัวอย่างเพียงพอไว้ในสัมภาระถือขึ้นเครื่องสำหรับการเดินทาง และสำรองปริมาณยาเพิ่มเติมสำหรับอีกหนึ่งหรือสองวัน รวมถึงควรพกใบสั่งยาติดตัวไว้ตลอดเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่จุดตรวจของศุลกากร
ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รักษาด้วยวิธีนี้
มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่สามารถควบคุมภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตหรือรับประทานยา การรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงทำให้ทราบว่าเนื้อเยื่อหัวใจจุดใดเป็นต้นเหตุให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและกำจัดเหตุของปัญหาได้ หากไม่รักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์อาจไม่สามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้ได้ผลดีที่สุด
การรับประทานยา
Related conditions
Doctors Related
Related Centers
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์