bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดหูรูดทวารหนัก

การผ่าตัดหูรูดทวารหนัก (sphincterotomy) เป็นวิธีรักษาแผลปริที่เยื่อบุทวารหนักซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายอุจจาระแรงเกินไป การที่กล้ามเนื้อบีบรัดตัวและการขับถ่ายอุจจาระเป็นประจำทำให้แผลไม่หาย หากเป็นแผลไม่มากอาจรักษาได้ด้วยการใช้ยาและยาที่ทำให้อุจจาระนิ่ม แต่หากเป็นมากหรือเกิดซ้ำๆ อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหูรูดทวารหนัก

การผ่าตัดหูรูดทวารหนักจะตัดหูรูดส่วนนอกสุดของทวารหนักออก ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงและคลายการบีบรัดตัวที่เป็นสาเหตุให้แผลไม่หาย การผ่าตัดหูรูดทวารหนักสามารถทำได้ทั้งที่โรงพยาบาลและคลินิก ปกติจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมักหายเจ็บภายในเวลาไม่กี่วัน
 

จุดประสงค์/ประโยชน์ของการทำหัตถการ
การที่กล้ามเนื้อทวารหนักบีบรัดตัวทำให้แผลปริไม่มีโอกาสหาย การผ่าตัดหูรูดช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นคลายการบีบตัว ปกติรอยแผลที่ช่องทวารหนักสามารถหายได้หากปฏิบัติตามวิธีต่อไปนี้
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • ใช้ยาที่ทำให้อุจจาระนิ่มลง
  • แช่น้ำอุ่น
  • ใช้ยาเฉพาะที่ (เป็นยาทา)
หากใช้วิธีการดังกล่าวแล้วไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องผ่าตัด การผ่าตัดทำให้แผลปริมีโอกาสได้สมานตัวและลดความเจ็บปวดรวมทั้งการบีบรัดลง ปกติจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมักหายเจ็บภายในเวลาไม่กี่วัน
 
การผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดชั้นในเป็นการตัดหรือขยายกล้ามเนื้อหูรูดชั้นในซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่บีบรัดและคลายตัวขณะถ่ายอุจจาระ การตัดกล้ามเนื้อหูรูดชั้นในจะป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อบีบรัดตัวและทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงชั่วคราว จึงเปิดโอกาสให้แผลปริได้สมานตัว แพทย์จะนำส่วนที่เป็นแผลปริและเนื้อเยื่อส่วนที่เป็นแผลออก
การผ่าตัดอาจทำโดยใช้ยาชาเฉพาะที่หรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเพื่อให้อวัยวะส่วนล่างของร่างกายชาก็ได้ บางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ยาสลบ แพทย์จะตัดสินใจว่าควรใช้ยาระงับความรู้สึกชนิดใดโดยดูจากตัวผู้ป่วยเองและความถนัดของแพทย์ สุขภาพของผู้ป่วยและระเบียบวิธีปฏิบัติมาตรฐานของสถานพยาบาลแห่งนั้นๆ

ผู้ป่วยต้องนอนบนเตียงผ่าตัดในท่าที่แพทย์สามารถจัดการบริเวณทวารหนักได้สะดวก อาจเป็นท่านอนคว่ำยกสะโพกขึ้นเล็กน้อยหรือนอนหงายแล้วยกขาวางไว้บนขาหยั่งก็ได้ หลังจากให้ยาระงับความรู้สึกแล้วจึงทำความสะอาดบริเวณที่จะผ่าตัดด้วยยาฆ่าเชื้อ

การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที จากนั้นแพทย์จะเย็บแผลโดยมักใช้ไหมละลาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกัน
 
 
ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดหูรูดทวารหนักมีน้อยมากแต่ก็อาจเกิดขึ้นได้บ้าง อาการที่มักพบได้แก่
  • เลือดออกมาก
  • กลั้นอุจจาระไม่อยู่
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • ติดเชื้อ
  • อาการที่เป็นผลสืบเนื่องจากการใช้ยาระงับความรู้สึก
  • อาจเกิดฝีหรือแผลชอนทะลุ
  • ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา
  • ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 1 สัปดาห์หรือตลอดระยะเวลาการรักษา
  • หากผู้ป่วยมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง ผู้ป่วยสามารถเดินทางโดยสารโดยเครื่องบินได้ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด รวมถึงได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ก่อนขึ้นเครื่อง)
ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยและการปฏิบัติตัว หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
อาการเจ็บป่วยอาจรุนแรงจนส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้
 
ปกติการผ่าตัดหูรูดทวารหนักมักเป็นทางเลือกสุดท้ายหลังจากรักษาแผลปริที่เยื่อบุทวารหนักด้วยวิธีอื่นๆ มาแล้วแต่แผลไม่หาย
 

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs