You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ขณะนี้ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบด้วยเบอร์โทรศัพท์เป็นการชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
การติดตั้งท่อเทนซ์คอฟฟ์สำหรับการล้างไตทางช่องท้อง
การล้างไตทางช่องท้อง เป็นการกำจัดของเสียจากเลือดเมื่อไตของผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งมักพบได้ในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย การล้างไตทางช่องท้องนั้นต่างกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเนื่องจากผู้ป่วยสามารถทำได้เองทั้งที่บ้าน ที่ทำงานหรือขณะเดินทาง ระหว่างการล้างไตทางช่องท้อง ภายในช่องท้องของผู้ป่วยจะถูกเติมด้วยน้ำยาล้างไตชนิดพิเศษ เมื่อน้ำยาล้างไตเข้าไปถึงช่องท้อง ของเหลวส่วนเกินและของเสียจะข้ามเยื่อบุช่องท้องมาสู่น้ำยาล้างไต น้ำยาล้างไตจะถูกปล่อยค้างไว้ในช่องท้องโดยใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่ง แล้วจึงถ่ายออกและเติมน้ำยาเข้าไปใหม่ ผู้ป่วยจะทำการล้างไตภายในช่องท้อง 4-6 ครั้งต่อวัน ในการล้างไตทางช่องท้องมีการใช้ยาน้อยกว่าและมีข้อจำกัดการรับประทานอาหารน้อยกว่าการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อย่างไรก็ตามการล้างไตทางช่องท้องไม่เหมาะกับผู้ป่วยทุกราย โดยวิธีการนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่สามารถดูแลเครื่องมือเหล่านี้ได้ด้วยตนเองหรือมีผู้ดูแลที่สามารถดูแลเครื่องมือได้อย่างเหมาะสม ท่อเทนซ์คอฟฟ์ คือ ท่อพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นซึ่งจะถูกใส่เข้าไปในช่องท้องเพื่อนำน้ำยาล้างไตเข้าไปในท้องและถ่ายน้ำยาออกเมื่อของเสียจากร่างกายปะปนเข้าสู่น้ำยาล้างไต ท่อเทนซ์คอฟฟ์จะถูกติดตั้ง 2-3 สัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มการล้างไต
ภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นภายใน 30 วันหลังการติดตั้ง ได้แก่ ลำไส้เกิดการทะลุ (มีอัตราการเกิดน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์) เลือดออก การติดเชื้อ และผลข้างเคียงจากการวางยาสลบ การอุดตันของสายสามารถเกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุมาจากลิ่มเลือด การเกิดพังผืด หรือการหักงอของสาย อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะหลัง ได้แก่ ถุงลมที่ใช้ตรึงสายหลุดออกมานอกแผล การติดเชื้อ ปัญหาในการระบายน้ำยาล้างไต และเยื่อบุช่องท้องอักเสบซึ่งเกิดจากการติดเชื้อภายในช่องท้อง การเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบมีความเกี่ยวข้องอย่างมากต่อการติดเชื้อของแผลที่หน้าท้อง ดังนั้นจึงควรรักษาอาการติดเชื้อระยะแรกด้วยยาปฏิชีวนะนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ
ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
จะเป็นอย่างไรหากผู้ป่วยไม่ทำหัตถการนี้
การล้างไตมักเป็นทางเลือกสุดท้ายของการรักษาโรคไตวายระยะสุดท้ายซึ่งจะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไต หากไม่ได้รับการล้างไตอาการของผู้ป่วยจะทรุดลงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
หากผู้ป่วยไม่ต้องการติดตั้งท่อเทนซ์คอฟฟ์ ผู้ป่วยสามารถรับการติดตั้งท่อชนิดอื่นสำหรับการล้างไตทางช่องท้องได้ แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าท่อชนิดใดเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด การล้างไตนั้นมักเป็นทางเลือกสุดท้ายของการรักษาโรคไตวายระยะสุดท้ายซึ่งจะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไต การรับประทานยานั้นสามารถใช้ได้ผลในระยะหนึ่ง จากนั้นการใช้ยาจะไม่มีผลในการรักษาอีกต่อไป
Related conditions
Doctors Related
Related Centers
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
โดย นพ.เจนวิทย์ วงศ์บุญสิน แพทย์ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคไต และเวชพันธุศาสตร์โรคไต
โรคไตโรคทางพันธุกรรมการตรวจยีน