bih.button.backtotop.text

การใช้กล้องส่องตรวจทางช่องทรวงอก

การใช้กล้องส่องตรวจทางช่องทรวงอก เป็นการใส่กล้องผ่านเข้าไปทางผนังทรวงอกเพื่อให้แพทย์สามารถตรวจดูและรักษาโรคภายในช่องทรวงอก

การใช้กล้องส่องตรวจทางช่องทรวงอกเพื่อทำผ่าตัดแทนการผ่าตัดเปิดช่องอกช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ลดความเจ็บปวด ความไม่สบาย และลดระยะเวลาพักฟื้นลง

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • แผลผ่าตัดติดเชื้อ
  • มีภาวะเลือดออก เนื่องจากหลอดเลือดฉีกขาด
  • มีลมรั่วในปอด เนื้อปอดเกิดการทะลุ
  • ปอดอักเสบ
  • การอุดตันของเส้นโลหิตจากฟองอากาศ
ผู้ป่วยต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้าน 1-2 สัปดาห์ หากมีข้อสงสัยเรื่องต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์จนเข้าใจ
  • กิจกรรม หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในการดึง ผลัก ดัน หรืองานหนัก ยกของหนัก และงดขับรถเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากมีผลต่อการหายของแผล ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลจะหายเป็นปกติ
  • การดูแลแผล เมื่อแพทย์อนุญาตให้อาบน้ำได้ให้ทำความสะอาดด้วยการอาบน้ำฟอกสบู่ทุกวัน ซับแผลให้แห้ง งดการทาครีม โลชั่น หรือโรยแป้งที่แผลจนกว่าจะหายเป็นผิวหนังปกติ ติดต่อแพทย์ถ้าพบว่าแผลมีการอักเสบ บวม ปวดมากขึ้น หรือมีสิ่งคัดหลั่งสีผิดปกติออกมาจากแผล
  • การรับประทานอาหาร จำกัดตามโรคของผู้ป่วยและรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  • การออกกำลังกาย ฝึกการหายใจอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำ งดออกกำลังกายหนักประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • การรับประทานยา กรณีมียาแก้อักเสบต้องรับประทานยาจนหมด
  • การมาตรวจตามนัด เพื่อติดตามอาการและการหายของแผลผ่าตัด หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หายใจไม่สะดวก เหนื่อยมากขึ้น ไอเป็นเลือด หรือมีอาการอื่นๆ ที่เปลี่ยนไปจากเดิมให้มาพบแพทย์ก่อนนัด
  • ผู้ป่วยควรอยู่ในประเทศไทยประมาณ 2-3 สัปดาห์ตลอดระยะเวลาการรักษา
  • แนะนำให้พักโรงแรมใกล้โรงพยาบาลเพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดจนถึงวันนัดพบแพทย์
  • ในการเดินทางกลับประเทศโดยเครื่องบิน หากผู้ป่วยนั่งชั้นประหยัด (economy class) แนะนำให้เลือกที่นั่งแถวหน้าและลุกเดินบ่อยๆ ทุก 15-30 นาที รวมถึงกระดกข้อเท้า (foot ankle pump) บ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ขา
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยควรพกพายาประจำตัวอย่างเพียงพอไว้ในสัมภาระถือขึ้นเครื่องสำหรับการเดินทาง และสำรองปริมาณยาเพิ่มเติมสำหรับอีกหนึ่งหรือสองวัน รวมถึงควรพกใบสั่งยาติดตัวไว้ตลอดเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่จุดตรวจของศุลกากร
ความสำเร็จจากการทำหัตถการขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
หัตถการนี้เป็นทางหนึ่งของการวินิจฉัย/รักษาโรคในช่องทรวงอก หากไม่เลือกหัตถการนี้ควรพิจารณาข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของทางเลือกอื่น
 
แก้ไขล่าสุด: 03 กุมภาพันธ์ 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs