bih.button.backtotop.text

การสำลัก

การสำลัก หมายถึง การหายใจเข้าแล้วมีสิ่งแปลกปลอมหลุดผ่านเข้าไปในหลอดลมและทางเดินหายใจส่วนล่าง อาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอาจเกิดขึ้นภายหลังการสำลัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ ของที่สำลักเป็นของแข็ง เศษอาหาร ของเหลว น้ำ หรือน้ำมันหรือกรดจากกระเพาะอาหาร ลักษณะค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสิ่งแปลกปลอม ความถี่ของการสำลัก และการตอบสนองของสิ่งแปลกปลอมนั้น

การสำลัก หมายถึง การหายใจเข้าแล้วมีสิ่งแปลกปลอมหลุดผ่านเข้าไปในหลอดลมและทางเดินหายใจส่วนล่าง อาการแสดงที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอาจเกิดขึ้นภายหลังการสำลัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ ของที่สำลักเป็นของแข็ง เศษอาหาร ของเหลว น้ำ หรือน้ำมันหรือกรดจากกระเพาะอาหาร ลักษณะค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสิ่งแปลกปลอม ความถี่ของการสำลัก และการตอบสนองของสิ่งแปลกปลอมนั้น
 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการสำลัก
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีประวัติผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่น ผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งคอหอย ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง
  • ผู้ที่มีความผิดปกติระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะกลืนลำบาก
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณใบหน้าและลำคอ ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสง ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ปลอกประสาทอักเสบ บาดเจ็บไขสันหลัง ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก
  • ผู้ที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือการได้รับยาคลายเครียด (anxiolytics)
  • ไม่สามารถกลืนได้หรือใช้เวลานานกว่าปกติ (ปกติใช้เวลาประมาณ 1 วินาที)
  • ไอหรือสำลักขณะดื่มน้ำหรือนานกว่า 1 นาทีจึงจะแสดงอาการ
  • มีเสียงครืดคราดในลำคอหลังการดื่มน้ำ
  • หลังดื่มน้ำแล้วยังคงมีน้ำเหลือค้างในช่องปากหรือกระพุ้งแก้ม
  • ไม่สามารถกลืนน้ำได้
  • ไม่สามารถควบคุมน้ำลายไม่ให้ไหลออกจากปากได้
  • จัดท่าทางในการรับประทานอาหาร โดยนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ หลีกเลี่ยงท่านอน ในกรณีผู้ป่วยติดเตียงให้ยกศีรษะผู้ป่วยขึ้นอย่างน้อย 60-90 องศา เพื่อป้องกันการสำลักเข้าปอด และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ
  • ก้มหน้าเล็กน้อยขณะกำลังกลืนอาหาร ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันการสำลักในผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก
  • รับประทานอาหารคำเล็กหรือพอดีคำ ไม่ใหญ่เกินไป เคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ ให้ละเอียดที่สุดก่อนกลืน
  • ตั้งใจกลืนอาหาร ไม่คุยกันระหว่างรับประทานอาหารหรือไม่ควรหัวเราะขณะรับประทานอาหาร
  • ไม่รีบเร่งในการรับประทานอาหาร ให้เวลากับมื้ออาหารอย่างเพียงพอ หากจำเป็นต้องป้อนอาหาร ควรป้อนอาหารให้ผู้ป่วยด้วยความเร็วที่เหมาะสม โดยสังเกตว่าผู้ป่วยกลืนอาหารในปากแล้วจึงป้อนอาหารช้อนต่อไป และตักอาหารให้พอดีกับที่ผู้ป่วยสามารถเคี้ยวได้
  • ไม่ควรรับประทานอาหารขณะรู้สึกเหนื่อย เพราะอาจทำให้เกิดการสำลักได้
  • สามารถรับประทานอาหารสลับกัน เช่น อาหารที่บดเคี้ยวสลับกับอาหารเหลว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เหนียว เคี้ยวยาก เนื่องจากอาจทำให้ติดคอ ถ้าอาหารชิ้นใหญ่ควรทำการหั่นซอยก่อน
  • ปรุงอาหารให้มีลักษณะอ่อนนิ่ม หั่นเนื้อสัตว์ให้เล็กที่สุด หากเป็นผักก็หั่นให้เล็กลงและต้มให้นิ่ม
  • เลือกระดับความหนืดของอาหารให้เหมาะสมกับความสามารถในการรับประทาน เช่น ในบางรายอาจสามารถกลืนอาหารที่มีความหนืดข้นได้ดีกว่าอาหารเหลว หากผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบากอาจทำการปรับลักษณะของอาหารและน้ำให้เหมาะสม โดยอาจใช้สารเพิ่มความหนืดใส่ลงในอาหารและของเหลวต่างๆ เพื่อช่วยลดโอกาสสำลัก
  • อย่ารับประทานอาหารแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุป เพื่อช่วยให้เนื้ออาหารชุ่มและนุ่มขึ้น
  • จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบและลดสิ่งรบกวนขณะรับประทานอาหาร เช่น การพูดคุย การดูโทรทัศน์
  • ดูแลทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร เพื่อช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากการสำลักได้
  • ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการสำลักสูง เช่น มีปริมาณอาหารเหลือค้างในกระเพาะอาหารมากกว่า 200 มิลลิลิตร ควรให้อาหารทางสายยางโดยการหยดอาหารอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้การสำลักลดลงได้ดีกว่าการให้อาหารทางสายยางแบบเป็นครั้งๆ
  • ยกหัวเตียงสูงอย่างน้อย 30 องศาระหว่างการให้อาหารทางสายยางแบบต่อเนื่อง
  • ตรวจสอบตำแหน่งของสายยางให้อาหารทุกครั้งก่อนการให้อาหารทางสายยาง เพื่อป้องกันการสำลัก
  • ในผู้ป่วยที่ต้องได้รับอาหารทางสายยางอย่างต่อเนื่อง ควรตรวจสอบปริมาณอาหารที่คงเหลืออยู่ในกระเพาะอาหารทุกๆ 4-6 ชั่วโมง และตรวจสอบทุกครั้งก่อนที่จะให้อาหารทางสายยางครั้งต่อไป หากปริมาณอาหารที่คงเหลือในกระเพาะอาหารมีปริมาณมากกว่า 200 มิลลิลิตร ควรเลื่อนอาหารมื้อนั้นออกไปก่อน
แก้ไขล่าสุด: 13 มกราคม 2564

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์โรคระบบประสาท

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs