bih.button.backtotop.text

กระเพาะอาหารอักเสบ

กระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) คือ การอักเสบของกระเพาะอาหาร เยื่อบุของกระเพาะอาหารมักกลายเป็นสีแดง ระคายเคือง และบวม และอาจมีบริเวณแผลอักเสบที่อาจเกิดเลือดไหล

สาเหตุ
โดยปกติแล้วกระเพาะอาหารจะผลิตกรดเพื่อช่วยในการย่อยอาหารและฆ่าเชื้อก่อโรคที่ปนเปื้อน ซึ่งกรดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ดังนั้นเซลล์บุกระเพาะอาหารบางส่วนจึงผลิตเมือกป้องกันตามธรรมชาติเพื่อเป็นชั้นเคลือบปกป้องกระเพาะอาหาร โดยปกติแล้วจะมีสมดุลระหว่างปริมาณกรดที่กระเพาะอาหารผลิตขึ้นกับชั้นเคลือบปกป้อง หากสมดุลนี้เปลี่ยนแปลงไปอาจเกิดกระเพาะอาหารอักเสบขึ้นได้ เนื่องจากกรดเข้าทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร
สาเหตุของการเสียสมดุลนี้ ได้แก่
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori)
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs)
  • อาหารเป็นพิษ
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสูบบุหรี่
ในหลายกรณีที่กระเพาะอาหารอักเสบไม่แสดงอาการ แต่หากมีอาการเกิดขึ้น อาการเหล่านั้นได้แก่
  • รู้สึกไม่สบายท้อง
  • จุกแน่นใต้ลิ้นปี่ โดยเฉพาะหลังมื้ออาหาร
  • ปวดแสบท้อง
  • อาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • อาจอาเจียนปนเลือด
แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติการเจ็บป่วย อาการ และการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินว่าผู้ป่วยควรรับการรักษาด้วยยาก่อนเพื่อดูว่าอาการดีขึ้นหรือไม่ หรือจำเป็นต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติม ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ หรือตรวจลมหายใจเพื่อหาระดับยูเรีย (urea breath test) เพื่อประเมินว่ามีการติดเชื้อ H. pylori หรือไม่ ในบางกรณีแพทย์อาจทำการตรวจสอบเยื่อบุกระเพาะอาหารโดยตรงด้วยวิธีการที่เรียกว่า การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (gastroscopy) ซึ่งอุปกรณ์ส่องไฟขนาดเล็กและยืดหยุ่นจะถูกสอดผ่านเข้าไปในกระเพาะอาหารของผู้ป่วย ในระหว่างกระบวนการนี้แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างเพื่อส่งตรวจในห้องปฏิบัติการได้
 
การรักษากระเพาะอาหารอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุ แนวทางการรักษา ได้แก่
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • การใช้ยาลดกรด
  • หลีกเลี่ยงสารที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร
  • ยากลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม (proton pump inhibitors) และยาอื่นๆ ตามแพทย์สั่ง
  • รับประทานอาหารเป็นมื้อย่อย
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์
  • พยายามจัดการกับความเครียด
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกทั้งหมด
  • รับประทานอาหารอ่อนนุ่มที่ย่อยง่าย
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
  • รับประทานมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง อย่ารับประทานมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • เลิกบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินและยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • ผ่อนคลายความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
แก้ไขล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2566

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs