bih.button.backtotop.text

ลิ้นหัวใจรั่ว

ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท มีเลือดไหลย้อนกลับและทำให้หัวใจต้องทำงานหนักเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ลิ้นหัวใจมีทั้งหมด 4 ลิ้น

ลิ้นหัวใจมีทั้งหมด 4 ลิ้น เมื่อเกิดลิ้นหัวใจรั่วจะพบดังนี้

  • ลิ้นไมตรัลรั่ว (mitral valve regurgitation) เมื่อหัวใจบีบตัวเลือดจะไหลย้อนกลับไปที่ลิ้นไมตรัล
  • ลิ้นเอออร์ติกรั่ว (aortic valve regurgitation) อาจเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดหรือลิ้นหัวใจมีการติดเชื้อ
  • ลิ้นพัลโมนารีรั่ว (pulmonary valve regurgitation) พบได้น้อยมากหรือเกิดจากภาวะความดันในปอดสูง
  • ลิ้นไตรคัสปิดรั่ว (tricuspid valve regurgitation)พบได้บ่อยในภาวะหัวใจห้องขวาล่างโต
  • ลิ้นไมทรัลรั่วมีสาเหตุจาก
    • ภาวะที่ลิ้นหัวใจหย่อนไปในหัวใจห้องบนซ้าย
    • หัวใจห้องล่างซ้ายโต
    • การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
    • โรคหัวใจรูมาติก
  • ลิ้นเอออร์ติกรั่วมีสาเหตุมาจาก
    • ลิ้นหัวใจมีเพียง 2 กลีบ ซึ่งปกติต้องมี 3 กลีบ
    • ความดันโลหิตสูง
    • การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
    • กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan syndrome)
    • โรคหัวใจรูมาติก
  • ลิ้นพัลโมนารีรั่วมีสาเหตุมาจาก
    • ภาวะความดันในปอดสูง
    • เด็กที่ได้รับการผ่าตัดโรคหัวใจ
    • ลิ้นไตรคัสปิดรั่วมีสาเหตุมาจาก
    • ภาวะความดันในปอดสูง
    • ภาวะน้ำท่วมปอด

ลิ้นหัวใจรั่วสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงระดับรุนแรง ผู้ป่วยที่มีลิ้นหัวใจรั่วเล็กน้อยอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อลิ้นหัวใจรั่วมากขึ้นอาจมีอาการต่างๆ ดังนี้

  • มีอาการเหนื่อยแม้เป็นการทำกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น ขาบวม
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • มีอาการวูบเป็นลมหมดสติ
  • มีอาการแน่นหน้าอกเหมือนน้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้
  • สามารถทำได้โดยซักประวัติผู้ป่วย
  • ตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจหัวใจโดยเฉพาะ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram: EKG) และตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram หรือ echo) เพื่อประเมินระดับการตีบแคบของลิ้นหัวใจ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง
  • การใส่สายกระตุ้นหัวใจหากมีภาวะหัวใจห้องล่างไม่ทำงาน
  • การให้ยาในกลุ่มอาการภาวะน้ำท่วมปอด ยาขยายหลอดเลือดในผู้ป่วยลิ้นเอออร์ติกรั่ว
  • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  • มีลิ่มเลือด ซึ่งสามารถอุดตันปอดหรือสมองได้
  • ภาวะน้ำท่วมปอด
  • ภาวะหัวใจโต เพราะหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นในการบีบตัว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • เสียชีวิตเฉียบพลัน
  • งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ให้ออกกำลังอย่างพอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป และอย่าหักโหม
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  • เน้นรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีน้ำตาล ไขมัน และเกลือโซเดียมสูง
  • หมั่นตรวจสุขภาพหรือไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ
  • เมื่อเกิดอาการแน่นหน้าอกหรือความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
แก้ไขล่าสุด: 21 กันยายน 2564

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ลิ้นหัวใจ บำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

สถาบันโรคหัวใจ (Heart Institute)

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs