• โรคหัวใจขาดเลือด (Coronary artery disease)
โรคคุ้นหูที่พบได้บ่อย คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ที่มาจากการรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไม่ดีหรืออายุที่มากขึ้น รักษาได้โดยการเปิดหลอดเลือด (revascilarization) การรักษานี้ทำได้ด้วยการใส่ขดลวด (stent) ผ่านสายสวน หรือการผ่าตัดบายพาสโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและการดูแลจากทีมพยาบาลเฉพาะทางด้านการบำบัดโรคหัวใจ
• โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ(Cardiac arrhythmia)
เป็นภาวะความผิดปกติที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆในผู้สูงอายุ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที (Ventricular tachycardia, ventricular fibrillation) หรือโรคหัวใจห้องบนเต้นพริ้ว (Atrial fibrillation) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต แนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพคือการศึกษาและการจี้ไฟฟ้าหัวใจ โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์ในการรักษา
• ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)
คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลง ส่งผลกระทบต่อการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆของร่างกาย พบได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ แนวทางการรักษาคนไข้กลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การใช้ยาหรือการใช้เครื่องพยุงหัวใจในแบบต่าง ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการด้านภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และลดอาการลงไปได้แม้ในรายที่มีภาวะรุนแรง
• โครงสร้างของหัวใจผิดปกติ (structural heart disease)
นอกจากระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบไฟฟ้าหัวใจแล้ว หัวใจยังประกอบด้วยโครงสร้างอื่น ๆ เช่น ลิ้นหัวใจและเยื่อบุเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติขึ้นได้จากสภาวะความเสื่อมของร่างกาย การติดเชื้อหรือสาเหตุอื่น ๆ คนไข้กลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการตรวจติดตามผลอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาหรือผ่าตัดแก้ไขให้ทันถ่วงทีในช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่บำรุงราษฎร์เรามีทีมแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญการ และทีมแพทย์อายุรกรรมหัวใจให้คำแนะนำแนวทางการรักษาในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอก
• โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Cardiogenetics)
ในปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความรู้ทางพันธุศาสตร์ ทำให้สามารถระบุและตรวจหายีนที่มีโอกาสส่งผ่านโรคหัวใจในครอบครัวได้มากขึ้น เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคไหลตาย โรคไขมันในเลือดสูงและโรคอื่น ๆ การระบุยีนก่อโรคเหล่านี้ สามารถช่วยชีวิตผู้ที่ยังไม่แสดงอาการของโรคหรือช่วยในการวางแผนครอบครัวได้ดี การพบแพทย์โรคหัวใจที่มีความรู้เฉพาะทางด้านพันธุศาสตร์จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยวางแผนและป้องกันการเกิดโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรรมนี้
• โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease)
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำเป็นต้องได้รับการรักษา และดูแลอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ดังนั้นเป้าหมายของการรักษานอกจากการผ่าตัดแก้ไข (total correction) โดยแพทย์ผ่าตัดผู้ชำนาญการแล้ว เรายังมีความพร้อมให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ไปตลอดชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และทีมสนับสนุนอื่น
• การคัดกรองและการส่งเสริมสุขภาวะของหัวใจ (Cardiac Preventive and enhancing)
ที่บำรุงราษฎร์เรามีบริการตรวจคัดกรองโรคหัวใจที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่ต้องการเสริมสมรรถภาพการออกกำลังกาย เรามีทีมแพทย์โรคหัวใจที่มีความชำนาญด้านเวชศาสตร์การกีฬา (sport cardiology) โดยเฉพาะ เพื่อช่วยประเมินสุขภาพหัวใจ วางแผนการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งทีมแพทย์โรคหัวใจ และเวชพันธุศาสตร์ ที่มีความชำนาญในการถอดรหัสดีเอ็นเอและแปลผลได้อย่างแม่นยำ