bih.button.backtotop.text

ภาวะมีบุตรยากจากโลหะหนัก

สารพิษจากโลหะหนักทำให้ระบบสืบพันธุ์ของทั้งเพศหญิงและเพศชายเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

โลหะหนัก คืออะไร
โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท ทองแดง โครเมียมและสารหนูมีอยู่ในสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ตั้งแต่อาหารที่เรารับประทาน อากาศที่เราหายใจ ยาหรืออาหารเสริมบางชนิดและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อโมเลกุลขนาดเล็กของโลหะหนักสะสมอยู่ในเซลล์ของร่างกายในปริมาณมาก เป็นผลให้ระบบต่างๆของร่ายกายและ/ หรือ อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปกติ เกิดความไม่สมดุลได้  และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยาก รวมถึงอาการและโรคต่างๆที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
 
สารพิษจากโลหะหนักทำให้ระบบสืบพันธุ์ของทั้งเพศหญิงและเพศชายเกิดความผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ดังนี้
  • คุณภาพ รวมถึงปริมาณการผลิตอสุจิและจำนวนตัวอสุจิที่มีชีวิตลดลง อสุจิเคลื่อนที่ช้าลงและรูปร่างของอสุจิผิดปกติ
  • ทำให้ระดับฮอร์โมนในเพศหญิงและเพศชายอยู่ในภาวะไม่สมดุล
  • ไข่ไม่ตกตามเวลาหรือไข่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง
  • ทำให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ฝังตัวในโพรงมดลูกได้ยากขึ้น
  • การได้รับสารพิษจากโลหะหนักเป็นระยะเวลานานทำให้ประจำเดือนผิดปกติ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและการแท้งบุตร
การตรวจโลหะหนัก ช่วยให้แพทย์ทราบถึงปริมาณและชนิดของโลหะหนักในร่างกาย การตรวจโลหะหนักในร่างกายทำได้หลายวิธี เช่น
  • การตรวจหาจากเลือด 
  • การตรวจหาจากปัสสาวะ  
  • การตรวจหาจากเหงื่อ
หากพบว่ามีโลหะหนักในร่างกายสูงผิดปกติ ก็สามารถทําการขับออกจากร่างกายได้โดยมีวิธีการหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะหนักที่สะสมอยู่ในร่างกาย  ดังนี้
  • การทำคีเลชั่น (Chelation) เป็นการใช้สารเหลวช่วยกำจัดโลหะหนักผ่านทางหลอดเลือด 
  • การให้ยาเพื่อรักษาอาการ กรณีมีอาการใดๆที่แสดงออกถึงผลจากการมีโลหะหนักสะสมในร่างกาย
  • การให้วิตามินเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของตับในการกำจัดโลหะหนัก
การหลีกเลี่ยงการรับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย สามารถทำได้โดย
  • สวมเครื่องป้องกันเช่น หน้ากากหรือถุงมือเมื่อต้องทำงานหรือสัมผัสกับโลหะหนัก
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารซ้ำๆ จากแหล่งเดิมๆ
  • จำกัดปริมาณการรับประทานปลาที่มีสารปรอทปริมาณมาก เช่น ปลาทูน่า ปลาฉลาม ปลาอินทรีย์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เสื่อมสภาพแล้ว เพราะอาจมีสารโลหะหนักรั่วซึมออกมา
  • ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
  • อ่านฉลากบนผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อว่ามีโลหะหนักหรือไม่และมีในปริมาณเท่าไร เช่น อาหาร เครื่องสำอาง อาหารเสริม หรือสมุนไพร เป็นต้น
  • งดสูบบุหรี่
แก้ไขล่าสุด: 18 เมษายน 2567

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์การเจริญพันธุ์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs