bih.button.backtotop.text

ภาวะทารกในครรภ์บวมน้ำ

Hydrops หมายถึงการมีสารน้ำสะสมในเนื้อเยื่อหรือช่องว่างในร่างกายที่มากผิดปกติ 
 Hydrops fetalis หมายถึงทารกบวมน้ำทั้งตัว ตรวจพบการสะสมของสารน้ำอย่างผิดปกติในร่างกายทารถอย่างน้อย 2 ตำแหน่งขึ้นไป เช่น น้ำในช่องช่องปอด (pleural effusion) น้ำในช่องหัวใจ (pericardial effusion) น้ำในช่องท้อง (ascites) หรือมีการสะสมของน้ำเพียง 1 ตำแหน่ง ร่วมกับทารกมีภาวะบวมทั่วตัวโดยการวินิจฉัย

ไม่นับรวมภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ (polyhydramnios) และนอกจากนี้ยังพบร่วมกับรกขนาดใหญ่ผิดปกติ  (placentomegaly) โดยมีการศึกษาพบว่าอัตราการตายจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนตำแหน่งการสะสมของน้ำ

ทารกบวมน้ำ สามารถเกิดได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกจนถึงครรภ์ครบกำหนด

อุบัติการณ์

ในประเทศไทยพบว่ามีอัตราการเกิดทารกบวมน้ำ 1.8:1000 ของการเกิดมีชีพ และ มีอัตราการตายร้อยละ 98.78

สาเหตุที่ทำให้ทารกในครรภ์บวมน้ำมี 2 ลักษณะ ดังนี้

1.   ทารกบวมน้ำที่เกิดจากปฏิกิริยาอิมมูน (immune hydrops fetalis; IHF)

หมายถึงทารกบวมน้ำที่เกิดจากแอนตี้บอดี้ในมารดาผ่านรกไปทำลายเม็ดเลือดทารก ทำให้ทารกมีภาวะซีด และเกิดปัญหาภาวะบวมน้ำตามมา ซึ่งที่พบได้บ่อยที่สุดคือปัญหาการไม่เข้ากันของหมู่เลือด Rh ระหว่างมารดากับทารก พบในประเทศตะวันตก ประมาณ 10.6:10,000 การคลอดมีชีพ

2.   ทารกบวมน้ำที่ไม่เกี่ยวกับปฏิกิริยาอิมมูน (non-immune hydrops fetalis; NIHF)

เกิดจากความผิดปกติของทารกเอง เช่น โรคหัวใจพิการ cystic hygroma หรือความผิดปกติทางโครโมโซม ภาวะทารกมีโครโมโซมผิดปกติคนไทยพบฮีโมโกลบินบาร์ทร้อยละ 80 ของทารกบวมน้ำทั้งหมด และเป็นความผิดปกติโดยกำเนิดชนิดรุนแรงที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 1:250-1:400 ของการคลอด นับว่าสูงมากเนื่องจากอยู่ในแหล่งความถี่ของยีนส์แอลฟ่าธาลัสซีเมียชุกมาก ส่วนสาเหตุที่เกิดจาก Rh isoimmunization ซึ่งนับเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของทารกบวมน้ำในประเทศทางตะวันตกนั้นกลับพบในประเทศไทยได้น้อยมาก นอกจากนั้นทารกบวมน้ำที่ไม่เกี่ยวกับปฏิกิริยาอิมมูน ในบางรายก็อาจเกิดจากการติดเชื้อจากในครรภ์ได้

อาการบวมน้ำจะเกิดขึ้นกับร่างกายของทารกในครรภ์ดังนี้

  • น้ำในช่องท้อง (ascites) ซึ่งมีได้หลายระดับความรุนแรง พบได้เกือบทุกราย มักเป็นอาการแสดงแรก ๆ ของทารกบวมน้ำ
  • น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion) บางรายอาจจะเกิดก่อนน้ำในช่องท้องด้วยซ้ำไป
  • น้ำในช่องปอด (pleural effusion) ในรายที่มีปริมาณมากจะสังเกตเห็นได้ไม่ยาก
  • ชั้นใต้ผิวหนังบวม (subcutaneous edema)
  • ตับ ม้ามโต ซึ่งเป็นผลจากการสร้างเม็ดเลือดเลือดนอกไขกระดูกเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อภาวะซีด
  • ปริมาณน้ำคร่ำ มีรายงานจำนวนมากพบว่าครรภ์แฝดน้ำพบได้บ่อยขึ้นมากในทารกบวมน้ำ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าส่วนใหญ่แอลฟ่าธาลัสซีเมียที่ทารกบวมน้ำชัดเจนแล้วจะกลับมีน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติมาก และรายที่มีครรภ์แฝดน้ำมักจะเป็นทารกบวมน้ำจากความพิการโดยกำเนิดอื่นเป็นส่วนใหญ่ มีรายงานว่าพบครรภ์แฝดน้ำได้สูงร้อยละ 50-75 ของทารกบวมน้ำชนิดไม่เกี่ยวกับอิมมูน
  • รกหนาผิดปกติ ภาวะรกหนาผิดปกติพบได้บ่อยในทารกที่มีภาวะบวมน้ำ การวินิจฉัยภาวะรกหนาผิดปกติ จะใช้ความหนาของรกที่มากกว่า 6 เซนติเมตร แต่ในบางครั้งหากมีภาวะครรภ์แฝดน้ำ รกอาจจะถูกกดให้บางจนเท่าปกติได้
  • เชื้อชาติของหญิงตั้งครรภ์และสามี สามารถบ่งบอกได้ถึงความชุกของโรค เช่น Hb Bart's hydrop fetalis หรือ Rh isoimmunization ที่มีความชุกต่างกันในแต่ละเชื้อชาติอย่างชัดเจน
  • โรคประจำตัว เช่น ในมารดาเป็น connective tissue disease อาจทำให้ทารกมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจำพวก heart block หรือประวัติมารดาเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ก็จะเพิ่มโอกาสการเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงในลูกได้
  • อาการ เช่น หากมารดามีอาการคล้ายการติดเชื้อไวรัส อาจมีความเป็นไปได้ว่ามีการติดเชื้อ Pavovirus B19 ซึ่งจะติดต่อผ่านทางการหายใจหรือการสัมผัส
  • ประวัติการตั้งครรภ์ในปัจจุบัน เช่น อายุครรภ์, การใช้ยาขณะตั้งครรภ์, โรคติดเชื้อที่เกิดขณะตั้งครรภ์, ครรภ์แฝด
  • ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง(Ultrasound) ใช้เพื่อการวินิจฉัย รวมถึงตรวจติดตามอาการของทารกในครรภ์ โดยอาจตรวจพบลักษณะต่างๆ เช่น หัวใจโต รกหนา น้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือมีความผิดปกติอื่นๆในทารกที่มีภาวะซีด รวมถึงการตรวจพบลักษณะจำเพาะต่างๆ ในโครโมโซมผิดปกติบางชนิด การตรวจพบเนื้องอกที่รก หรือการตรวจ fetal echocardiography แล้วพบความผิดปกติของหัวใจ
  • ตรวจหมู่เลือด ทั้ง ABO และ Rh blood group, indirect Coomb's test ในรายที่สงสัย hemolytic anemia
  • ตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) รวมถึง red blood cell indices เช่น Mean corpuscular volume (MCV) และ peripheral blood smear
  • ตรวจหาภาวะติดเชื้อ intrauterine infection ที่ส่งผลให้เกิดทารกบวมน้ำ ได้แก่ syphilis, pavovirus B19, cytomegalovirus, toxoplasmosis, adenovirus hepatitis
  • ตรวจหาความเสี่ยงการเกิดธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงของทารกในครรภ์ เช่นความเสี่ยงในการเกิดฮีโมโกลบิน Bart's disease, ฮีโมโกลบินเอช และอื่นๆ
  • การเจาะน้ำคร่ำ (amniocentasis) สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ karyotype รวมถึงส่งตรวจเพื่อหา intrauterine infection เช่น PCR หรือ culture เพื่อหาเชื้อ
  • การเจาะเลือดสายสะดือทารก (cordocentasis or fetal blood sampling)

ภาวะทารกในครรภ์บวมน้ำ เป็นภาวะเสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ ในกรณีที่ทารกมีอาการรุนแรง ไม่สามารถรักษาได้ เช่น มีโครโมโซมผิดปกติ เป็นธาลัสซีเมียชนิด Bart’s หรือทารกมีความพิการอย่างรุนแรง แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรใส่ใจกับการฝากครรภ์ ไปพบแพทย์ตามนัด การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) หาสิ่งผิดปกติในแต่ละไตรมาส  รวมทั้งควรสังเกตอาการผิดปกติ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อจะได้วินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดโรค และการรักษาอย่างทันท่วงที

แก้ไขล่าสุด: 23 ธันวาคม 2563

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs