bih.button.backtotop.text

คลินิกลำไส้อักเสบเรื้อรัง

Layout-Digestive-Disease_1-TH.pngLayout-Digestive-Disease_2-TH-(2).pngLayout-Digestive-Disease_3-TH-(1).png Layout-Digestive-Disease_4-TH-(1).png

ทำไมต้องคลินิกลำไส้อักเสบเรื้อรัง บำรุงราษฎร์

ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เรามุ่งมั่นให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD) ด้วยการรักษาที่ครอบคลุมและการบริการที่มีมาตราฐาน ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่มีประสบการณ์สูง เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างครบวงจรและตรงกับความต้องการของผู้ป่วย พร้อมด้วยเทคโนโลยีล่าสุด เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและรวดเร็ว โดยมีการวางแผนการรักษาและคำแนะนำทางโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย พร้อมการติดตามผลเพื่อการดูแลระยะยาว ที่จะช่วยลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำและเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ Inflammatory bowel disease เป็นกลุ่มอาการของโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอาหารที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แบ่งได้เป็น 2 โรค คือ โรคลําไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative colitis) และโรคโครห์น (Crohn's disease)

 

โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
(Ulcerative colitis)

โรคโครห์น

 (Crohn's disease)

การเกิดโรค

• เกิดบริเวณลำไส้ใหญ่เท่านั้น
• การอักเสบเกิดเฉพาะเนื้อเยื่อชั้นตื้นๆ เช่น ชั้นเยื่อบุลำไส้ของลำไส้ใหญ่ และมักเป็นที่ไส้ตรงเหนือทวารหนักขึ้นไป
• พบได้ทุกส่วนของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
• การอักเสบสามารถลุกลามจนลำไส้ทะลุหรือลำไส้อุดตันได้

อาการ

• มักมีอาการถ่ายบ่อย ถ่ายปนมูกหรือเลือดสด ถ่ายไม่สุด ปวดเบ่ง
• อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ข้ออักเสบ ตาอักเสบ
•มักมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ถ่ายเป็ดเลือด น้ำหนักตัวลดลง มีฝีที่ทวารหนัก
•อาจพบภาวะทุพโภชนาการ ภาวะซีด หรือโลหิตจาง ร่วมด้วย
•หากการอักเสบมีความรุนแรงอาจเกิดเป็นแผลลึกจนทะลุไปอวัยวะใกล้เคียง เช่น ช่องคลอด กระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณผิวหนังรอบทวาร รวมทั้งฝรหนองในช่องท้องได้

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค IBD อย่างไรก็ตาม อาจเกิดจากปัจจัยเหล่านี้ร่วมกัน ได้แก่

เชื้อชาติหรือปัจจัยทางพันธุกรรม

เนื่องจากพบโรคในคนผิวขาวมากกว่าคนเอเชีย และการแปรผันทางพันธุกรรมของยีนบางชนิดทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้น

ปัจจัยทางระบบภูมิคุ้มกัน

เชื่อว่าผู้ป่วยมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่มากผิดปกติอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง

 

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและสังคม

เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่มากผิดปกติ และยังสร้างสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้หลายชนิด จึงนำไปสู่การอักเสบของทางเดินอาหาร

 

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดโรค

พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากใยต่ำ อาหารขยะ การสูบบุหรี่ และความเครียดเรื้อรัง

ขั้นตอนที่ 1

ซักประวัติและการตรวจร่างกาย

ขั้นตอนที่ 2

การตรวจคัดกรอง การตรวจเพื่อหาตัวบ่งชี้การอักเสบและแยกโรคอื่น เช่นการติดเชื้อ

ขั้นตอนที่ 3

การตรวจส่องกล้องลำไส้ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค

ขั้นตอนที่ 4

การตรวจภาพทางรังสีขั้นสูง CT Scan หรือ MRI เพื่อประเมินขอบเขตรอยโรคและหาภาวะแทรกซ้อน

การรักษามุ่งเน้นไปที่การรักษาอาการ, ลดการอักเสบ, ป้องกันภาวะแทรกซ้อน, และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยอธิบายได้ดังนี้: 

Layout-Orthopedics-Center-Element_800x800-8.png

การรักษาด้วยยา ซึ่งมีการใช้ยาหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ยาแก้อักเสบ ยากดภูมิคุ้มกัน ยาสารชีววัตถุ (Biologic drugs)

Layout-Orthopedics-Center-Element_800x800-8.png การปรับพฤติกรรมและอาหาร ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ เช่น อาหารไขมันสูง อาหารเผ็ด หรืออาหารที่ย่อยยาก
การส่งเสริมโภชนาการ ให้คำแนะนำโดยนักโภชนาการ ให้ธาตุเหล็ก วิตามินเสริม (หลีกเลี่ยง NSAIDs เพราะอาจกระตุ้นอาการ)

 

Layout-Orthopedics-Center-Element_800x800-8.png

การผ่าตัด (ในกรณีที่จำเป็น) เช่นการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ การตีบตันของลำไส้หรือการเกิดรูรั่ว อาจต้องตัดลำไส้ส่วนที่เสียหายออก การผ่าตัดระบายฝีที่ทวารหนัก

Layout-Orthopedics-Center-Element_800x800-8.png

การติดตามผลระยะยาว ตรวจติดตามการอักเสบและภาวะแทรกซ้อนผ่านการตรวจภาพถ่าย (เช่น CT/MRI) และการส่องกล้องประเมินการขยายของแผลในผลังลำไส้ และการเฝ้าระวังมะเร็งลำไส้

ทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆ ประกอบด้วยแพทย์ทางเดินอาหารที่มีประสบการณ์สูงและทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น พยาบาล นักโภชนาการ และผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

เทคโนโลยีการวินิจฉัยทันสมัย เช่น กล้องส่องตรวจลำไส้ ระบบสแกนภาพลำไส้และช่องท้อง และการวิเคราะห์ยีนส์ เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำ

 

โปรแกรมการรักษาเฉพาะบุคคล วางแผนการรักษาที่ออกแบบตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย โดยอาจรวมถึงยา การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน และการรักษาแบบใหม่ เช่น การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกัน

โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพลำไส้ เพื่อช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างความแข็งแรงของลำไส้ เช่น การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ การฝึกปฏิบัติทางกายภาพบำบัด และการจัดการความเครียด

ดูแลและติดตามอย่างใส่ใจ บริการการสายด่วนที่สามารถเข้าถึงการรักษาในช่วงเวลาโรคกำเริบฉุกเฉิน และบริการติดตามผลระยะยาวเพื่อป้องกันการกลับมาของโรคและปรับปรุงคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน


 

ดูวิดิโอเพิ่มเติม

แก้ไขล่าสุด: 14 มกราคม 2568

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs