bih.button.backtotop.text

โรคจมูกอักเสบ

โรคจมูกอักเสบ ไม่ใช่โรคร้ายแรงและพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด เมื่อมีสิ่งกระตุ้นผู้ป่วยก็จะกลับมามีอาการได้อีก และหากเป็นมากก็อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ต้องมาพบแพทย์บ่อยคร้้ง และอาจได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น ง่วง ซึม มีภาวะจมูกแห้ง หรือมีเลือดกำเดาไหลได้

สาเหตุและชนิดของโรคจมูกอักเสบ
การระคายเคืองและอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากการที่มีสิ่งกระตุ้นมาทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวมและมีสารคัดหลั่งหรือมูกเพิ่มขึ้นผิดปกติ โดยสิ่งกระตุ้นแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
  1. ชนิดที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ แมลงบางชนิด
  2. ชนิดที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ เช่น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ความชื้นในอากาศ อากาศแห้ง เย็นหรือร้อนจัด สภาพแวดล้อม
นอกจากนี้ โรคจมูกอักเสบยังเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียได้อีกด้วย
อาการของโรคจมูกอักเสบที่พบได้บ่อย คือ คัดจมูก แน่นตันจมูกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง น้ำมูกไหล บางรายมีอาการหูอื้อ เจ็บด้านหลังหู ปวดศีรษะแบบหนักท้ายทอยโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน รู้สึกเพลีย อาการมึนและปวดศีรษะ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากสารก่อภูมิแพ้อาจมีอาการไอ จาม คันตา น้ำตาไหลเพิ่มจากอาการที่กล่าวมาแล้ว
แพทย์วินิจฉัยโรคจมูกอักเสบด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจเพิ่มเติม
  • การซักประวัติอย่างละเอียดเพื่อหาสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ เช่น สภาพแวดล้อม อาชีพการงาน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เนื่องจากหลายครั้งที่สิ่งกระตุ้นอาการของโรคนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัว ยกตัวอย่างเช่น อาการปวดศีรษะที่เกิดจากการเปลี่ยนอุณหภูมิฉับพลัน เช่น เข้า-ออกห้องแอร์ อาการคัดจมูก จามทุกครั้งที่ตื่นนอนซึ่งอาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ภายในห้องนอน เป็นต้น
  • การตรวจร่างกาย เช่น การตรวจในโพรงจมูกเพื่อดูการบวมของเยื่อบุโพรงจมูก สีของน้ำมูก
  • การตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจด้วยการส่องกล้องโพรงจมูก (nasal endoscope) การตรวจภูมิแพ้ทางผิวหนัง (skin test) หรือตรวจเลือด serum Ig E
การป้องกันโรคจมูกอักเสบนั้นทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค อาทิ
  • สิ่งกระตุ้นที่เป็นสารก่อภูมิแพ้  เช่น ฝุ่น ควัน
  • การสัมผัสอากาศเย็นโดยตรง
  • การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างฉับพลัน
  • การรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวขณะท้องว่าง เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะไปเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร หากไอกรดรั่วขึ้นมาถึงโพรงจมูกก็อาจส่งผลให้ระคายเคืองเยื่อบุจมูกและมีอาการบวมตามมาได้
นอกจากนี้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็สามารถป้องกันการเกิดโรคจมูกอักเสบได้ เพราะการออกกำลังกายช่วยจะปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และทำให้เยื่อบุโพรงจมูกมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นลดลง 
การรักษาโรคจมูกอักเสบสามารถทำได้โดยการรักษาที่สาเหตุของการเกิดโรค เช่น รักษาโรคภูมิแพ้ โรคหวัด และรักษาตามอาการ ได้แก่ การให้ยาพ่นจมูกซึ่งเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดใช้เฉพาะที่ในจมูก โดยใช้ในปริมาณน้อยแต่ต้องพ่นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือนเพื่อลดการอักเสบ หลังจากนั้นหากผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แพทย์จะค่อยๆ ปรับลดยาลง จนเหลือการใช้เฉพาะเมื่อมีอาการ

ทั้งนี้ พบว่าการใช้ยาพ่นจมูกให้ผลการรักษาที่ดีกว่ายารับประทาน เนื่องจากตัวยาออกฤทธิ์ที่จมูกโดยตรง
แก้ไขล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2565

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์หู คอ จมูก

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 4 คน

Related Health Blogs