bih.button.backtotop.text

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังเป็นโรคผิวหนังที่พบได้ไม่บ่อยในประเทศไทย เมื่อเทียบกับ โรคผิวหนังชนิดอื่น หรือเป็ นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยเมื่อเทียบกับมะเร็งในส่วน ต่างๆของร่างกาย การที่ประเทศไทยพบมะเร็งผิวหนังน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งๆที่เราเป็นเมืองที่มีแสงแดดจัดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งผิวหนัง อาจ เป็นเพราะผิวหนังของคนไทยมีเม็ดสีเมลานิน ที่ช่วยป้องกันอันตรายจาก แสงแดดได้ดีกว่า แต่ปัจจุบันพบโรคมะเร็งผิวหนังได้มากขึ้น ซึ่งมาจาก สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

มะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยในคนไทย มี 3 ชนิด
มะเร็งผิวหนังที่พบบ่อยในคนไทย มี3 ชนิดคือ Basal Cell Carcinoma, Squamous Cell Carcinoma และ Malignant Melanoma Basal Cell Carcinoma อาการที่เห็นได้ชัดคือจะมีตุ่มเนื้อสีชมพู แดง มีลักษณะผิวเรียบมัน และมักจะมีเส้นเลือดฝอย เล็ก ๆ กระจายอยู่บริเวณตุ่มเนื้อ บางครั้งก็มีลักษณะเป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย ตุ่มเนื้อจากมะเร็ง ชนิดนี้จะโตช้า และจะโตไปเรื่อย ๆ จนอาจแผลแตกในที่สุด ท าให้มีเลือดออกและกลายเป็นแผล เรื้อรัง Squamous Cell Carcinoma อาการของมะเร็งชนิดนี้จะเริ่มต้นจากตุ่มเนื้อสีชมพู หรือแดง และด้านบนอาจมีลักษณะเป็นขุย หรือตกสะเก็ด เมื่อสัมผัสบริเวณแผลจะรู้สึกแข็ง เลือดออกง่าย แผลจะค่อย ๆ ขยายขนาดไป เรื่อย ๆ และกลายเป็นแผลเรื้อรังในที่สุด Malignant Melanoma เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของมะเร็งชนิดนี้ เริ่มต้นจะมีลักษณะคล้ายกับไฝหรือขี้แมลงวัน แต่ จะโตเร็ว ขอบเขตไม่เรียบและอาจมีสีไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ที่บริเวณแผลอาจตกสะเก็ดหรือมีอาการ เลือดออกด้วยเช่นกัน
 
  • แสงแดด พบว่ามะเร็งผิวหนังมักเกิดบริเวณที่โดนแดดจัด ดังนั้นผู้ที่ต้อง ทำงานกลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูง
  • เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์เพราะมีเม็ดสีผิวหนังน้อยกว่า
  • มีประวัติคนในรอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
  • มีประวัติการถูกสารเคมี เช่น สารหนู หรือสัมผัสกับสารเคมีเป็นเวลานานๆ
  • ภาวะภูมคุ้มกันบกพร่อง HIV หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน
  • มีไฝหรือขี้แมงวันมากผิดปกติ
  • ผิวหนังทีเคยได้รับการฉายรังสี
  • การใช้สารยับยั้งการสร้างเม็ดสีมากๆ ทาให้ผิวขาว เช่น การฉีดสารกลูต้าไธโอนในปริมาณสูงๆ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังมากขึ้น
  1. มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเป็ นก้อนนูนที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือขยายขนาดอย่าง รวดเร็ว
  2. ก้อนที่ผิวหนังมีแผลเกิดขึ้น หรือมีเลือดออกได้ง่าย
  3. แผลเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือมีแผลเกิดขึ้นบริเวณที่เป็นแผลเป็น หรือบริเวณแผลไฟไหม้มาก่อน
  4. รอยโรคบริเวณแผลเดิมมีสีดำ หรือน้ำาตาลที่ขอบเขตไม่ชัดเจน และมีแผลเกิดขึ้น
  5. ไฝมีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ รูปร่างสีที่เปลี่ยนแปลงไปอาจเป็นสีขาว หรือสีน้ำาตาล ดำ ไม่สม่ำเสมอ มีแผลเกิดขึ้น หรือมีเลือดออกง่าย โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้ารวมทั้งบริเวณเล็บ
  6. พบผื่นเรื้อรังที่มีการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเนื้อนูนขึ้นมา
การตรวจวินิจฉัยและการรักษา มะเร็งผิวหนังสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัย และรักษา ตั้งแต่เริ่มแรก การรักษามะเร็งผิวหนังที่ดีที่สุดคือ การค้นพบตั้งแต่แรกเริ่ม โดยตรวจเบื้องต้นด้วยตนเอง หากมีข้อสงสัยให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อ การวินิจฉัย ซึ่งทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิ วิทยา มะเร็งผิวหนังระยะเริ่มต้นใช้วิธีผ่าตัดก็หายขาดได้ หากเป็นมะเร็งระยะ กระจายหรือมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา หลังผ่าตัดอาจต้องใช้รังสีรักษา หรือ ให้เคมีบำบัดร่วมด้าย
 
  • ทาครีมกันแดดเป็นประจำาทุกวัน โดยเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป ควรทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 20-30 นาที และควรทาซ้ำทุกๆ 2 ชั่วโมงเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
  • หากต้องออกไปอยู่กลางแสงแดด ควรสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดทุกครั้ง สวม หมวกปีกกว้าง หรือใช้ร่มที่ที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้
  • หลีกเลี่ยงจากภาวะทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือสัมผัส ควันบุหรี่
  • หมั่นสังเกตผิวหนังของตนเองอยู่เสมอ หากพบว่ามีความผิดปกติหรือมี การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์
แก้ไขล่าสุด: 13 กุมภาพันธ์ 2564

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ผิวหนัง & ความงามด้านผิวพรรณ

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs