bih.button.backtotop.text

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน

ข้อมูลศนูย์

โรคมะเร็งเป็นภัยร้ายที่คุกคามทุกคนได้อย่างเท่าเทียมกัน

มะเร็งเป็นโรคที่มีคนเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้นๆ ถือเป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในปัจจุบัน และสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย จากสถิติคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 จะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งจะมากกว่า 13.1 ล้านคนต่อปี    กว่าร้อยละ 40 ของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ป่วยอยู่ในปัจจุบันนั้น มีทางป้องกันและรักษาได้ ทำให้จำนวนผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  ตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับคุณภาพการดูแลเชิงป้องกันโรคมะเร็ง การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง  โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีความซับซ้อน ต้องการการดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล เพื่อรักษาโรคและอาการที่ซับซ้อนแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เรามุ่งมั่นในการส่งมอบทางเลือกในการดูแลรักษาที่หลากหลาย ตรงจุด ปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับโลกให้แก่ผู้ป่วยของเรา
 

Layout-Horizon-Cancer-Journey-Infographic-01.jpg

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  มีเป้าหมายในการเป็นศูนย์มะเร็งที่ให้การดูแลรักษาโรคมะเร็ง หนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่ให้การบริบาลรักษาอย่างครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การดูแลเชิงป้องกัน การรักษาโรคมะเร็ง รวมทั้งการเฝ้าติดตามป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ  โดยให้การดูแลรักษาที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มุ่งเน้นการดูแลแบบเฉพาะบุคคล เพื่อรักษาโรคและอาการที่ซับซ้อน ที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย

ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นโรงพยาบาลไทยเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในด้านโรคมะเร็ง ประจำปี 2566  โดย Newsweek และ Statista ซึ่งเป็นการจัดอันดับโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่โดดเด่นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Layout-Infographic-Horizon-Cancer-01.jpg
 
 
Layout-Orthopedics-Center-Element_800x800-8.png

Top Cancer Prevention, Diagnosis and Procedures

  • มีโปรแกรมการตรวจที่ครอบคลุม ตั้งแต่การค้นหาความเสี่ยงและค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้อย่างแม่นยำ
  • มีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทันเวลา และรู้ระยะของโรคทำให้รักษาโรคอย่างแม่นยำ สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งในเชิงลึก ตรวจว่าเซลล์มะเร็งมีคุณลักษณะเฉพาะที่มีความไวต่อฮอร์โมนและโปรตีนบางชนิดหรือไม่
  • การผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกันโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของสภาวะโรค เช่น ขนาด ตำแหน่งและระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพจิตใจและร่างกายของผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่นการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด การฉายรังสี การฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือการปลูกถ่ายไขกระดูก (Stem cell) การฝังแร่กัมมันตรังสี (Brachytherapy) การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
Layout-Orthopedics-Center-Element_800x800-8.png

A Collaborative Care Team

  • การมี Tumor board หรือการประชุมของทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง เช่น อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง ศัลยแพทย์ด้านโรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ รังสีแพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคมะเร็ง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการและเภสัชกร เพื่อหาวิธีการรักษาร่วมกัน
  • มีทีมผู้ชำนาญการทางด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง สามารถแปลผลการตรวจได้อย่างแม่นยำ เช่น แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์และนักพันธุศาสตร์
  • พยาธิแพทย์ผู้มีความชำนาญชั้นสูงด้านการตรวจชิ้นเนื้ออย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยเซลล์มะเร็งอย่างแม่นยำ
  • ทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางทุกสาขาที่เกี่ยวข้องในการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพและร่วมจัดโปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
Layout-Orthopedics-Center-Element_800x800-8.png

Advanced Technology

  • การตรวจยีนในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองระดับโลก
  • การนำระบบ AI เข้ามาใช้ทั้งในส่วนของการคัดกรอง การวิเคราะห์ และการวินิจฉัย และประมวลผล เพื่อตัดสินใจวางแผนการรักษามะเร็ง รวมถึงมีการทดสอบการตรวจหาการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งจากชิ้นเนื้อมะเร็งและจากเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อผลลัพธ์ที่ดี
Layout-Orthopedics-Center-Element_800x800-8.png

Best Specialized Hospital APAC 2023— Oncology : Bumrungrad is the only Thai hospital

(Ranked 72 from 75)

Layout-Horizon-Center-Press-Conference_Booth-Box-01.jpg

 

 การป้องกัน 

เราให้บริการตรวจเพื่อค้นหาความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งทั้งจากปัจจัยภายใน เช่น พันธุกรรมและปัจจัยภายใน เช่น สภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต เพื่อป้องกันโรคหรือค้นพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้นโดยยังไม่แสดงอาการ พร้อมให้ความรู้และคำปรึกษารวมถึงวางแผนในการป้องกันโรคมะเร็งแบบเฉพาะบุคคล โปรแกรมของเราเหมาะกับ

ผู้ที่มีความเสี่ยง ทางด้านพันธุกรรมและ/หรือสภาพแวดล้อม

ผู้ที่มีสุขภาพดี มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่มีหรือไม่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง แต่ที่มีความกังวลและต้องการตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็ง

จุดเด่นของโปรแกรมการตรวจป้องกันมะเร็ง

  • โปรแกรมการตรวจที่ครอบคลุม ตั้งแต่การค้นหาความเสี่ยงและค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้อย่างแม่นยำ
  • มีทีมผู้ชำนาญการทางด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง สามารถแปลผลการตรวจได้อย่างแม่นยำ เช่น แพทย์เฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์และนักพันธุศาสตร์
  • การตรวจยีนในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองระดับโลก
  • ทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางทุกสาขาที่เกี่ยวข้องในการให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพและร่วมจัดโปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น สภาพแวดล้อม กับพันธุกรรมว่าทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้มากน้อยเพียงใด เพื่อนำเสนอโปรแกรมลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ให้มีโอกาสเกิดมะเร็งได้น้อยที่สุดหรือเป็นมะเร็งแล้วมีโอกาสในการรักษาหาย
Layout-Horizon-Cancer-Center-thumbnail_web-with-logo.jpg
 

Layout-Horizon-Center-Press-Conference_Booth-Box-02.jpg
 
 

 การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง  

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งที่แม่นยำและครอบคลุมทุกมิติ ดังนี้

  • การตรวจวินิจฉัยระยะของมะเร็ง (TNM) โดยการดูปัจจัย 3 อย่างร่วมกัน คือ
    • ขนาดของก้อนมะเร็ง (Tumor)
    • การแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียง (Node involvement) และ
    • การแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น (Metastasis)
  • การวินิจฉัยคุณสมบัติเฉพาะของเซลล์มะเร็งที่มีความไวต่อฮอร์โมนและโปรตีนบางชนิด โดยจะใช้ข้อมูลสองส่วนประกอบกัน คือ เซลล์มะเร็งมีตัวรับฮอร์โมนหรือไม่ (hormone receptor) และมีตัวรับโปรตีนกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือไม่ (human epidermal growth factor receptor-2) ทำให้แพทย์สามารถเลือกใช้ยาได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับกับผู้ป่วยมากที่สุด
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ (Biopsy) เพื่อยืนยันชนิดและความรุนแรงของก้อนเนื้อที่ผิดปกติ แพทย์ของบำรุงราษฎร์มีความชำนาญและประสบการณ์ในการตัดชิ้นเนื้ออย่างแม่นยำสูงในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • การตรวจวินิจฉัยมะเร็งจากตัวอย่างของเหลว (liquid biopsy) คือการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมผิดปกติที่บ่งชี้มะเร็งและการหาลำดับเบสโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ยุคใหม่ (next-generation sequence) เพื่อหาเซลล์มะเร็งที่อยู่ในกระแสเลือดและดีเอ็นเอบางชนิดของมะเร็ง ช่วยให้สามารถประเมินจำนวนของเซลล์มะเร็งในร่างกาย ทำให้สามารถติดตามความเสี่ยงต่อการกำเริบหรือการแพร่กระจาย มีความแม่นยำในการวินิจฉัยมะเร็งชนิดเป็นก้อน เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้
  • การตรวจเพื่อดูว่าผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) หรือไม่ (Microsatellite Instability: MSI)

จุดเด่นในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งของบำรุงราษฎร์

  • การวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทันเวลา และรู้ระยะของโรคทำให้รักษาโรคอย่างแม่นยำ
  • การวินิจฉัยโรคมะเร็งในเชิงลึก ว่าเซลล์มะเร็งมีคุณลักษณะเฉพาะที่มีความไวต่อฮอร์โมนและโปรตีนบางชนิดหรือไม่
  • พยาธิแพทย์ผู้มีความชำนาญชั้นสูงด้านการตรวจชิ้นเนื้ออย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยเซลล์มะเร็งอย่างแม่นยำ
 
Layout-Quote-Post-02.jpg
 
 

 การรักษาโรคมะเร็ง 

  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด เป็นการให้ยาชนิดรับประทานหรือยาฉีดเข้าเส้นเลือดซึ่งมีฤทธิ์ทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • การฉายรังสี เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็ง
  • การฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT เป็นเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม IMRT (Intensity Modulated Radiation Therapy) ที่พัฒนาขึ้นโดยให้เครื่องฉายรังสีสามารถหมุนได้รอบตัวผู้ป่วย สามารถควบคุมความเร็วของการหมุน ปริมาณของรังสี และการเคลื่อนที่ของวัตถุกำบังรังสี จึงช่วยลดระยะเวลาของการฉายรังสี รวมทั้งทำให้การฉายรังสีมีความถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cell) คือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเองหรือใช้เซลล์ของผู้บริจาคเพื่อรักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งระบบเลือดต่างๆ
  • การฝังแร่กำมันตภาพรังสี (Brachytherapy) เป็นวิธีการรักษามะเร็งด้วยรังสีรักษาประเภทหนึ่ง โดยการใส่ต้นกำเนิดของรังสีภายในก้อนมะเร็งโดยตรงหรือใกล้ๆกับก้อนมะเร็ง ทำให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดและลดความเสียหายของเนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบๆก้อนมะเร็งได้
  • การรักษาแบบเฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) คือการรักษาโรคมะเร็งโดยให้ยาหรือสารไปยับยั้งกระบวนการส่งสัญญาณระดับเซลล์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจริญเติบโตและแบ่งตัวของเซลล์
  • การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษาโรคมะเร็งโดยการส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเพื่อให้สามารถกำจัดหรือควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การรักษาด้วยการจี้เย็น เป็นวิธีการรักษามะเร็งปอดที่บอบช้ำน้อยและปลอดภัย เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถรักษามะเร็งปอดด้วยวิธีการมาตรฐาน เช่น การผ่าตัด การฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด
  • การผ่าตัดโรคมะเร็งด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับชนิดและระยะของโรคมะเร็ง ตั้งแต่การผ่าตัดแบบมาตรฐานไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัด
 
Layout-Quote-Post-04.jpg Layout-Quote-Post-06.jpg
Layout-Quote-Post-07.jpg Layout-Quote-Post-08.jpg


จุดเด่นในการรักษาโรคมะเร็งของบำรุงราษฎร์

  • การผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกันโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของสภาวะโรค เช่น ขนาด ตำแหน่งและระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพจิตใจและร่างกายของผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่นการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด การฉายรังสี การฉายรังสีด้วยเทคนิค VMAT การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดหรือการปลูกถ่ายไขกระดูก (Stem cell) การฝังแร่กัมมันตรังสี (Brachytherapy) การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
  • การมี Tumor board หรือการประชุมของทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง เช่น อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง ศัลยแพทย์ด้านโรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ รังสีแพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคมะเร็ง เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการและเภสัชกร เพื่อหาวิธีการรักษาร่วมกัน
  • การนำระบบ AI เข้ามาใช้ทั้งในส่วนของการคัดกรอง การวิเคราะห์ และการวินิจฉัย และประมวลผล เพื่อตัดสินใจวางแผนการรักษามะเร็ง รวมถึงมีการทดสอบการตรวจหาการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็งจากชิ้นเนื้อมะเร็งและจากเลือด ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Layout-Horizon-Center-Press-Conference_backdrop_Final-01-(1).jpg
 
ให้การดูแลและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโดยเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ  (multidisciplinary care) เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาและบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง ดังนี้ 

ทีมแพทย์

  • อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง, อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือดและมะเร็ง, อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไขกระดูก, อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลแบบประคับประคอง
  • ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง,
  • สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งนรีเวช
  • กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือดและมะเร็งในเด็ก, กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกถ่ายไขกระดูก
  • รังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง, รังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง
  • พยาธิแพทย์
  • วิสัญญีแพทย์ระงับความเจ็บปวด 
 

 

 แพทย์ชำนาญการด้านมะเร็งวิทยา  

นพ.ณรงค์ศักดิ์
นพ.หฤษฎ์
นพ.ธนาวัฒน์
พญ.สุธิดา

 

นพ.สุรสิทธิ์
พญ.ปิยะนุช
นพ. บวร
นพ. คมกฤช มหาพรหม
รศ.พญ. ธัญนันท์ ใบสมุทร
     

 

 แพทย์ชำนาญการด้านโลหิตวิทยา  

นพ.วิเชียร
พญ.ไปรยา
ผศ.พญ. มนัสมนต์ นาวินพิพัฒน์
 

 

 แพทย์ชำนาญการด้านรังสีรักษา  

นพ.อภิชาต
     

 

บุคลากรทางการแพทย์ : พยาบาลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง, เภสัชกรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งและยาเคมีบำบัด, นักฟิสิกส์การแพทย์, นักรังสีเทคนิค, นักโภชนาการ

 

 

 

 

 

 

  • Panichevaluk AAkarasakul D, Pongpirul K, Tharavichitkul E, Galalae RM. Combined High-Dose Rate Brachytherapy (HDR-BT) and Whole Pelvic Radiation Therapy (WPRT) in Node Negative, Intermediate to High Risk Localized Prostate Cancer: Clinical Outcomes and Patient Behaviors across Ethnicities. Journal of Radiotherapy in Practice. 2017;16:141-7. 
  • Gale HI, Sharatz SM, Taphey M, Bradley WF, Nimkin K, Gee MS. Comparison of CT enterography and MR enterography imaging features of active Crohn disease in children and adolescents. Pediatr Radiol. 2017. (PMID: 28470387)
  • Abujudeh H, Kaewlai R, Shaqdan K, Bruno MA. Key Principles in Quality and Safety in Radiology. AJR Am J Roentgenol. 2017:W1-W9. (PMID: 28075621)
  • Sangkhathat S, Maneechay W, Chaiyapan W, Kanngern S, Boonpipattanapong T. Association of Wilms' tumor 1 gene single-nucleotide polymorphism rs16754 with colorectal cancer. Mol Clin Oncol. 2015;3(6):1401-5. (PMID: 26807256
  • Kaewlai R, Wongwaisayawan S, Suwannanon R, Limchawalit K, Saksobhavivat N, Udompanich OM. Acute Nontraumatic Abdominal Pain in Adults: Sonographic Diagnosis and Pitfalls with Multiplanar CT Correlation. Radiological Society of North America 2013 Scientific Assembly and Annual Meeting; December 1-6, 2013; Chicago, IL.

นพ. ณรงค์ศักดิ์ เกียรติขจรธาดา

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - โลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา

ดูประวัติ

นพ. อภิชาต พานิชชีวลักษณ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

รังสีวิทยา - รังสีรักษา

ดูประวัติ

นพ. สุรสิทธิ์ ซอและห์ อิสสระชัย

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - โลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา

ดูประวัติ

พญ. สุธิดา สุวรรณเวโช

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - โลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา

ดูประวัติ

นพ. หฤษฎ์ สุวรรณรัศมี

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - โลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา

ดูประวัติ

รศ.พ.อ.นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - โลหิตวิทยา

ดูประวัติ

นพ. ธนาวัฒน์ จิรกุลาภรณ์

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - โลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา

ดูประวัติ

ผศ.พญ. ไปรยา รุจิโรจน์จินดากุล

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - โลหิตวิทยา

ดูประวัติ

พญ. ปิยะนุช จิตต์เที่ยง

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

อายุรศาสตร์ - มะเร็งวิทยา

ดูประวัติ

Related Packages

Contact Information

  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน
    แผนกเคมีบำบัด
    วันจันทร์-วันศุกร์
    07.00-20.00 น.
    วันเสาร์
    07.00-16.00 น.
    วันอาทิตย์
    07.00-16.00 น.
    แผนกรังสีรักษา
    วันจันทร์-วันเสาร์
    08.00-16.00 น.
    หน่วยปลูกถ่ายไขกระดูก
    เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง 7 วัน

Location

  • ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน
    อาคาร B ชั้น 3 ด้านใต้
  • แผนกเคมีบำบัด
    อาคาร B ชั้น 3 ด้านใต้
  • แผนกรังสีรักษา
    อาคาร B ชั้นล่าง ด้านใต้
  • หน่วยปลูกถ่ายไขกระดูก
    อาคาร B ชั้น 8 ด้านเหนือ
แก้ไขล่าสุด: 30 เมษายน 2568
คะแนนโหวต 9.79 of 10, จากจำนวนคนโหวต 290 คน

Related Health Blogs