bih.button.backtotop.text

โรคกระเพาะอาหารและแบคทีเรีย H. pylori

โรคกระเพาะอาหารที่สำคัญ เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น มะเร็งกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยทั่วไปที่มีอาการ เช่น ปวดลิ้นปี่ แสบร้อนท้อง ปวดร้าวไปทั้งหลัง โดยอาการจะสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารหรือมีอาการปวดกลางดึกหรือเช้ามืด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำ และน้ำหนักลด เป็นต้น โดยโรคกระเพาะอาหารนั้นเดิมเชื่อว่าเป็นผลมาจากกระเพาะอาหารมีกรดมาก เกร็งตัวมาก เยื่อบุกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง มีความเครียดสูง รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
 
Helicobacter pylori (H. pylori)
H. pylori เป็นเชื้อแบคทีเรียของการเกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นชนิดต่างๆ การกำจัดเชื้อนี้ทำได้ไม่ยาก เป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะเป็นเกลียวและมีหาง ชอบอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารที่มีกรดสูงและชอนไชเข้าไปในเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น จนทำให้เกิดอาการอักเสบของระบบทางเดินอาหารส่วนต้นทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การติดเชื้อ H. pylori ในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นพบได้ทั่วโลกและเป็นกันมากในประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา โดยอาจมีอุบัติการณ์สูงถึง 60-70% ของประชากรในบางประเทศ พบมากในคนที่มีอายุมากขึ้น เชื่อว่าเชื้อนี้ติดต่อทางปากจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่

การวินิจฉัยยืนยันโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
โดยทั่วไปนิยมตรวจด้วยการเอกซเรย์โดยกลืนแป้งทึบรังสี การตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อดูลักษณะเยื่อบุกระเพาะอาหารด้วยตา การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็งเพื่อเอาเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ไปตรวจหาเชื้อ H. pylori ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเพาะเชื้อ การตรวจหาเอนไซม์ยูรีเอสที่ผลิตจากตัวแบคทีเรีย อาจตรวจเลือดหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ H. pylori ที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้ออยู่ และวิธีการตรวจหาเชื้อ H. pylori ในกระเพาะอาหารทางลมหายใจ (13C Urea Breath Test)
 
 
จำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดพร้อมกัน ทั้งนี้เพราะเชื้อนี้ค่อนข้างดื้อต่อยาโดยส่วนใหญ่ มักต้องใช้ยา 2-3 ชนิดเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ โดยเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหาร 1 ชนิด และร่วมกับยาปฏิชีวนะ 1-2 ชนิด โดยมีประสิทธิผลในการกำจัดเชื้อ H. pylori ได้ 80-90% นอกจากนั้น ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยารักษาโรคกระเพาะอาหารต่ออีก 4-8 สัปดาห์แล้วแต่กรณี สำหรับการแนะนำเรื่องอาหารนั้น ในระยะหลังนี้การระมัดระวังเรื่องอาหารในระหว่างการรักษาโรคกระเพาะอาหารมีความสำคัญลดลงไป ซึ่งรายละเอียดควรปรึกษาแพทย์แล้วแต่กรณี
 
  1. ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  2. ทำให้ไม่เป็นโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นบ่อยๆ อย่างที่เคยเป็น
  3. ทำให้โรคมะเร็งของกระเพาะอาหารชนิดเริ่มต้นบางชนิดทุเลาลงได้
  4. เชื่อว่าจะทำให้โอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารลดลงได้ในระยะยาว
แก้ไขล่าสุด: 10 กุมภาพันธ์ 2566

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs