bih.button.backtotop.text

น้ำวุ้นลูกตาเสื่อม

น้ำวุ้นลูกตา (vitreous) เป็นส่วนประกอบของลูกตาที่อยู่ด้านหลังต่อกับเลนส์แก้วตา มีลักษณะเป็นวุ้นใสไม่มีสี มีความหนืดกว่าน้ำ 2-4 เท่า ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 มีหน้าที่รักษารูปทรงของลูกตาและหักเหแสงที่ผ่านเข้ามาได้ ถ้าน้ำวุ้นลูกตามีการเปลี่ยนแปลงเป็นตะกอน ผู้ป่วยจะเห็นเป็นเส้นหรือจุดดำลอยไปมา (floaters) มักพบในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเร็วกว่านั้นในกรณีผู้ที่มีสายตาสั้นมากหรือเคยมีประวัติการกระแทกที่ตาอย่างรุนแรง

อาการ
ผู้ป่วยจะเห็นเส้นใยหรือจุดดำๆ ลอยไปมา (floaters) ซึ่งจะเห็นชัดขึ้นเวลามองพื้นสีขาว ท้องฟ้าหรือทะเล
 
  1. เป็นภาวะธรรมชาติ น้ำวุ้นลูกตามีการเปลี่ยนแปลงเป็นตะกอนได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือเร็วกว่านั้นในผู้มีสายตาสั้น
  2. เคยมีอุบัติเหตุที่ดวงตา
  3. เป็นตาอักเสบเรื้อรัง
ถ้าน้ำวุ้นตาเสื่อมและลอกตัวออกจากผิวจอตาอย่างแรงจะทำให้ผู้ป่วยเห็นแสงแวบๆ หรือแสงแฟลช (flashing) ในลูกตาได้โดยเฉพาะในที่มืด หากรุนแรงอาจทำให้ดึงรั้งจอตา เกิดการฉีกขาดหรือหลุดลอกของจอตาตามมาได้
 
การซักประวัติ การตรวจตาโดยการขยายม่านตาและใช้กล้องตรวจตาอย่างละเอียดโดยแพทย์
 
หากมีเพียงวุ้นตาเสื่อมไม่ต้องรักษา แต่ควรตรวจจอตาตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ หากมีการฉีกขาดหรือหลุดลอกของจอตาร่วมด้วย ต้องทำการรักษา มิฉะนั้นจะส่งผลต่อการมองเห็นได้
 
 
ถ้าผู้ป่วยมีอาการเห็นหยากไย่หรือแสงฟ้าแลบในตามากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือตามัวลง ให้รีบมาตรวจตาก่อนเวลาที่นัดหมาย
แก้ไขล่าสุด: 02 กุมภาพันธ์ 2566

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs