ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่อยู่บริเวณส่วนล่างของลำคอด้านหน้า ขนาดประมาณ 20 กรัม มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีผลกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายทำงานโดยเฉพาะหัวใจ สมอง และควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือผิดปกติ มักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายประมาณ 9-10 เท่า โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-40 ปี ปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองได้โดยมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การตรวจเลือดเพื่อเช็คการทำงานของต่อมไทรอยด์ และการเผาผลาญ
- ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ ปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์ T3 และ T4 ในเลือด ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่ หากไม่ปกติก็แปลว่ามีอาการของโรคไทรอยด์
- ตรวจวัดการทำงานของต่อมใต้สมอง (Thyroid-Stimulating Hormone: TSH) เป็นการตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนต่อมใต้สมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์
- การตรวจวัดระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์
ดังนั้น เมื่อสังเกตหรือคลำแล้ว พบว่ามีก้อนผิดปกติที่อยู่บริเวณส่วนล่างของลำคอด้านหน้า ควรพบแพทย์เพื่อตรวจว่าเป็นก้อนเนื้องอกไทรอยด์หรือไม่
พบก้อนที่ไทรอยด์บอกโรคอะไรได้บ้าง?
หากพบก้อนที่ไทรอยด์สามารถบ่งบอกโรคต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Adenoma)
- เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของต่อมไทรอยด์แต่ทำงานมากเกินไป (Toxic Adenoma)
- มะเร็งไทรอยด์ (Thyroid Carcinoma)
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 24 มิถุนายน 2567