คุณบุญสิริ ชุตินาวี คนไข้วัย 15 ปี พบว่าตนเองเป็น
โรคกระดูกสันหลังคดจากการตรวจสุขภาพที่โรงเรียน และสังเกตเห็นว่าเอวทั้งสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน ทำให้ขาดความมั่นใจ จึงได้ปรึกษากับครอบครัวว่าอยากผ่าตัดรักษาเพื่อให้หายขาด ก่อนที่จะมารักษากับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คุณบุญสิริและครอบครัวได้ไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง แต่แพทย์บอกว่าแผลผ่าตัดจะยาวตั้งแต่ช่วงคอไปจนเกือบถึงบั้นท้าย ทางครอบครัวจึงตัดสินใจพาคุณบุญสิริมาปรึกษากับนพ. สมโภชน์ ไพบูลย์ศิริจิตที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เพราะรู้สึกว่าไว้วางใจได้และมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย
ความประทับใจในคำแนะนำที่ละเอียดและความใส่ใจที่แพทย์มีต่อคนไข้
เมื่อมาพบกับ
นพ. สมโภชน์ ไพบูลย์ศิริจิต ครั้งแรก นอกจากแพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยร่างกายอย่างละเอียดด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่การตรวจด้วยตาเพื่อดูลักษณะของกระดูกสันหลัง การตรวจเอกซเรย์และ
การตรวจ MRI แล้ว คุณบุญสิริยังเล่าความประทับใจที่มีต่อนพ. สมโภชน์ให้เราฟังว่า “ตอนแรกกลัวว่าคุณหมอจะดุ แต่เมื่อคุยด้วย คุณหมอสามารถแปลศัพท์ทางการแพทย์ให้เข้าใจในมุมมองของคนปกติได้ ทำให้เข้าใจเลยว่าคุณหมอจะทำอะไรกับร่างกายเราบ้าง คุณหมออธิบายทุกขั้นตอนที่จะทำและบอกว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรเข้ามาช่วย ทำให้รู้สึกไว้ใจ”
การวินิจฉัยที่นำไปสู่การรักษาที่เปลี่ยนแปลงชีวิต
แพทย์ได้วินิจฉัยว่าคณบุญสิริมีกระดูกสันหลังคดกว่า 60 องศา ซึ่งควรรับการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีรอยแผลเป็นยาวเพราะแพทย์จะกรีดแผลเฉพาะช่วงที่คดและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตเพราะความสูงของคุณบุญสิริใกล้หมด กระดูกที่สูงขึ้นต่อจากนี้จะไม่ได้มาจากช่วงลำตัวแต่จะมาจากช่วงขา ในตอนแรกทางครอบครัวรู้สึกกังวลเพราะเป็นการผ่าตัดใหญ่และกลัวว่าหลังการผ่าตัดอาจใช้ชีวิตได้ไม่ปกติเหมือนเดิมเพราะมีเหล็กอยู่ในหลัง แต่คุณบุญสิริไว้วางใจในคำแนะนำของแพทย์ จึงตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัดโดยไม่ลังเล
การผ่าตัดที่ปลอดภัยด้วยความชำนาญของแพทย์และเทคโนโลยีขั้นสูง
คุณบุญสิริเล่าว่า “ตอนมาถึงโรงพยาบาลไม่รู้สึกตื่นเต้น รู้สึกว่าโรงพยาบาลใหญ่มาก สวยเหมือนมานอนพักที่โรงแรมอาทิตย์นึง ในห้องผ่าตัดก็ไม่เหมือนในละครที่ดูน่ากลัว ดูเป็นห้องผ่าตัดที่ทันสมัย ไว้ใจได้ มาเริ่มตื่นเต้นตอนคุณหมอให้น้ำเกลือและเข็นเข้าห้องผ่าตัด แต่คุณหมอได้พูดปลอบใจไว้ว่าจะพยายามเต็มที่ไม่ให้หนูรู้สึกเจ็บ” แพทย์ได้ใช้วิธีการผ่าตัดแก้ไขกระดูกสันหลังโดยการเชื่อมกระดูกสันหลังและยึดกระดูกให้อยู่กับที่ด้วยสกรู (corrective deformity with pedicle screw fixation and fusion) และเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคนไข้ แพทย์ได้ใช้เครื่องมือการตรวจติดตามระบบประสาทระหว่างการผ่าตัดแบบเรียลไทม์ (intra operative neuromonitoring) เพื่อแจ้งเตือนถึงระบบประสาทที่สำคัญในบริเวณที่ทำการผ่าตัด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของระบบประสาทและ
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถี (O-arm navigation) เพื่อสร้างภาพสามมิติของกระดูกสันหลัง ทำให้มีความแม่นยำในการใส่เครื่องมือสูงและทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็ว
หลังการผ่าตัดที่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดอย่างที่คิด
หลังผ่าตัดแพทย์ได้รับประทานยาและให้ยาที่กดเองได้เพื่อระงับปวด แต่หลังการผ่าตัด คุณบุญสิริไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆ โดยกล่าวว่า “ไม่รู้ว่ากินหรือไม่กินต่างกันยังไงเพราะตลอดที่ผ่าตัดเสร็จมา กล้าพูดจริงๆว่าไม่เจ็บเลยทุกขั้นตอน” ระหว่างการพักฟื้นคุณบุญสิริได้พูดถึงความประทับใจในการบริการของแพทย์และพยาบาลว่า “คุณหมอและพยาบาลน่ารักหมดเลย มีหมอหลายท่านเข้ามา หมอกายภาพ หมอเด็กเพราะหนูเพิ่งพ้นอายุ 14 คุณหมอสมโภชน์เข้ามาดูทุกวัน พี่พยาบาลน่ารักมาก กดปุ่มเรียกก็มาเลย บริการดี” ในวันที่ 8 หลังการผ่าตัด คุณบุญสิริสามารถเดินได้แต่ยังไม่คล่องนักและรู้สึกเวียนศีรษะเวลาลุกนั่ง แพทย์จึงให้ยาและให้เลือด ทำให้อาการดีขึ้นและกลับบ้านได้ในวันที่ 10 หลังจากกลับบ้าน คุณบุญสิริสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ไปโรงเรียนได้ นั่งได้ ถือกระเป๋าได้และว่ายน้ำได้ โดยแพทย์ได้สอนท่าออกกำลังกายที่ช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังแข็งแรง
การผ่าตัดที่เพิ่มความมั่นใจและความสุขในชีวิต
หลังการผ่าตัด กระดูกสันหลังของคุณบุญสิริยังมีความโค้งเล็กน้อยที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คุณบุญสิริกล่าวว่า “ก่อนการผ่าตัดเศร้ามาก เอวไม่เท่ากัน ใส่เสื้อผ้าอะไรก็ดูไม่สวย ไปโรงเรียนก็ไม่มั่นใจ หลังการผ่าตัดก็ใช้ชีวิตปกติเลย มีแค่ต้องระวังหลัง แต่ไม่ปวดอะไร…มั่นใจมากขึ้นและสูงขึ้น 3 เซนติเมตร ดีใจที่ตัดสินใจถูก”
คุณบุญสิริแนะนำทิ้งท้ายว่า
“หลังจากออกจากโรงพยาบาล เราคาดหวังอะไรไว้ เราได้ตามที่ต้องการทุกอย่าง เราใช้ชีวิตได้ตามปกติและสูงขึ้นด้วย แนะนำให้เลือกโรงพยาบาลนี้ มั่นใจได้ว่าเราจะได้ตามที่เราคาดหวัง”
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2567