ปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร
ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine headache) เป็นการปวดศีรษะที่รบกวนชีวิตประจำวัน โดยมีลักษณะการปวดแบบตุบๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย และจะค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง และไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากขึ้น
อาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นอย่างไร
สาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรนคืออะไร
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการปวดศีรษะไมเกรนเกิดจากอะไร แต่ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนมีหลายประการ ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิง
- ความเครียด
- สภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้าหรือแสงแฟลช เสียงดัง กลิ่นที่รุนแรง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน
- การใช้ยาบางชนิด
- การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือมากเกินไป
- ออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากเกินไป
- การสูบบุหรี่
- อาการถอนคาเฟอีน
- การอดอาหาร หรือการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ
เราสามารถจัดการกับการปวดศีรษะไมเกรนได้อย่างไร
ปัจจุบันการปวดศีรษะไมเกรนยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน
การใช้ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน
การรับประทานยาทันทีเมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดแบบไม่รุนแรง
|
ยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ Paracetamol
|
ยาลดการอักเสบที่ไม่ไช่สเตียรอด์ (NSAIDs) ได้แก่ Ibuprofen, Naproxen, Celecoxib, Etoricoxib
|
ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดที่รุนแรงมากขึ้น (จำเพาะเจาะจงกับการปวดศีรษะไมเกรน)
|
ยากลุ่ม Triptans ได้แก่ Sumatriptan, Eletriptan
|
ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine ได้แก่ Ergotamine + Caffeine
|
ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
|
ได้แก่ Metoclopramide, Domperidone
|
การใช้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
ยาที่สามารถใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่
กลุ่มยาลดความดัน
|
Propranolol, Metoprolol tartrate, Verapamil
|
กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า
|
Amitriptyline
|
กลุ่มยากันชัก
|
Valproate, Topiramate
|
กลุ่มยา Calcitonin gene-related peptide (CGRP) monoclonal antibodies
|
Erenumab เป็นยากลุ่มใหม่ที่ใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนทั้งแบบที่มีอาการนำ (aura) หรือไม่มีอาการนำ สามารถลดจำนวนวันที่ปวดศีรษะไมเกรนลงจากเดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ สามารถบริหารยาเองได้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เดือนละ 1 ครั้ง
|
วิธีอื่นๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน
- ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
- นอนพักในที่มืดและเงียบสงบ
- ประคบเย็นบริเวณศีรษะ
- ปรับพฤติกรรมการนอน และการรับประทานอาหาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
อาการปวดศีรษะไมเกรนสามารถบรรเทาและป้องกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา อย่างไรก็ดี การเริ่มรับประทานยาบรรเทาปวดทันทีหลังจากที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการใช้ยานั้นควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ โรคประจำตัว และความรุนแรงของโรค จะส่งผลต่อการเลือกใช้ยาและขนาดยาที่ควรได้รับนั่นเอง
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตลอด 24 ชั่วโมง
Contact information: Drug Information Service ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Tel: +66(0) 2 011 3399 Email: [email protected]
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 04 สิงหาคม 2567