ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเป็นอาการธรรมดาสามัญที่หลายคนไม่ให้ความสนใจ แต่คุณทราบหรือไม่ว่านี่อาจเป็นอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หนึ่งในโรคหัวใจที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่งซึ่งไม่เพียงบั่นทอน คุณภาพชีวิตแต่ยังเป็นภัยคุกคาม
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด มีอาการโดยละเอียดอย่างไร และจะรักษาได้หรือไม่ ฉบับนี้พูดคุยกับนพ. โชติกร คุณวัฒน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจเพื่อหาคำตอบมาฝากคุณ
ช้าไป เร็วไป ไม่สม่ำเสมอ
โดยทั่วไปแล้วอัตราการเต้นของหัวใจคนเราจะอยู่ที่ประมาณ 60 - 100 ครั้งต่อนาที มีจังหวะการเต้นสม่ำเสมอ โดยหัวใจห้องข้างบนและข้างล่างจะเต้นในจังหวะที่สัมพันธ์กัน แต่เมื่อใดก็ตามที่หัวใจเต้นช้า เต้นเร็วเต้นเป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอ ไม่สัมพันธ์กัน มีหยุดบางช่วง นั่นหมายถึงว่าเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้น
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยทุกกลุ่มวัย โดยเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งนพ. โชติกรสรุปสาเหตุสำคัญ ๆ ไว้ดังนี้
- ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น มีผนังหัวใจหนามาก ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่อายุน้อย ๆ มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด
- ความผิดปกติทางร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ เบาหวานความดันโลหิต ไขมันในเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ซึ่งมักพบในผู้ป่วยกลุ่มที่เป็นผู้สูงอายุ
- อาหารบางอย่าง เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต
- ยารักษาโรคบางชนิด อาทิ ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน ยารักษาโรคหอบหืด
- ความผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ อาทิ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติ เช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม เป็นต้น
- ความเครียดและความวิตกกังวล
ปัจจัยทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อระบบไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้กระแสไฟฟ้าในหัวใจเปลี่ยนไป เกิดคลื่นไฟฟ้าหมุนวน หรือทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ซึ่งหากเป็นการเต้นเร็วผิดปกติ จากหัวใจห้องบนแบบเต้นพลิ้วก็อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจ ซึ่งถ้าลิ่มเลือดนี้หลุดไปที่สมองก็มีโอกาสทำให้เป็นอัมพาตได้ หรือถ้าหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ไม่ดี และหาก ปล่อยไว้นานหัวใจก็อาจจะเต้นพลิ้วและอาจจะหยุดเต้นได้
อย่างไรก็ตาม นพ. โชติกรอธิบายว่า อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นไม่ได้เป็นอันตรายไปเสียทั้งหมด “เมื่อเกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นแพทย์จะวิเคราะห์ว่าเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใด เช่น หากเป็นการเต้น แทรกธรรมดาจากห้องข้างบนหรือห้องข้างล่างของหัวใจ แต่ตรวจแล้วไม่พบสัญญาณของหลอดเลือดอุดตัน หรือ หัวใจอ่อนแรง ก็ไม่เป็นอันตรายแต่ถ้าเป็นหัวใจเต้นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation ซึ่งมักพบในผู้ป่วย สูงอายุ พวกนี้เป็นอันตรายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง”
วินิจฉัยอย่างละเอียด
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการใจสั่นหน้ามืด หายใจขัด เป็นลมหมดสติ บางรายมาด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอก ในขณะที่บางรายไม่มีอาการเลย แต่เป็นการตรวจพบภายหลังดังนั้นการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดจึงสำคัญอย่างยิ่ง โดยแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติผู้ป่วยเพื่อคัดแยกว่าอาการ ที่ผู้ป่วยประสบนั้นคือหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่
ซึ่งแพทย์จะต้องคัดกรองโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเต้นของ หัวใจเสียก่อน
“ในขั้นแรกแพทย์จะตรวจร่างกายดูว่ามีการเต้นของ หัวใจที่ผิดปกติ เสียงหัวใจผิดปกติ หรือขนาดหัวใจโต หรือไม่ ตรวจเลือด ตรวจสารต่าง ๆ ในร่างกาย ตรวจดู การทำงานของต่อมไทรอยด์ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ” นพ. โชติกรอธิบาย “การที่ตรวจไม่เจอ ณ ขณะนั้น ไม่ได้ แปลว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็น เพราะบางครั้งอาการอาจเกิดขึ้น ชั่วขณะแล้วหายไป ในช่วงเวลาที่ปกติก็ตรวจไม่พบอะไร กรณีแบบนี้ต้อง ตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจมอนิเตอร์ 24 ชั่วโมง โดยจะติดเครื่องตรวจ ให้ผู้ป่วยนำกลับบ้านไปแล้วค่อยกลับมาพบแพทย์อีกทีภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์ดูว่ามีหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ เป็นต้น
ส่วนอีกกรณี คือ ผู้ป่วยเป็นนาน ๆ ครั้ง เราก็มีเครื่องมือที่เรียกว่า Event Monitor ให้ผู้ป่วย พกกลับบ้าน เมื่อรู้สึกว่ามีอาการก็กดปุ่มและนำมาแนบหน้าอกเพื่อบันทึก อาการผิดปกติ” นอกจากนี้ แพทย์อาจพิจารณาตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความ ถี่สูง (Echocardiogram) ซึ่งเป็นการตรวจที่ช่วยให้แพทย์เห็นโครงสร้าง หัวใจ โดยดูว่ามีลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจบีบตัวไม่ปกติ หัวใจอ่อนแรงหรือไม่ ผู้ป่วยอาจต้องวิ่งสายพาน (Exercise Stress Test) เพื่อวัดความผิดปกติของ หัวใจเมื่อถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะไล่เรียงตรวจ เพื่อให้แน่ใจที่สุด รวมทั้งวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดใดและมีอันตรายหรือไม่
"ตามปกติแล้วอัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ประมาณ 60 - 100 ครั้งต่อนาที มีจังหวะการเต้นสม่ำเสมอโดยหัวใจห้องข้างบนและข้างล่างจะเต้นในจังหวะที่สัมพันธ์กัน" นพ. โชติกร คุณวัฒน์
รักษาที่ต้นเหตุ
สำหรับการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น จะเป็นการรักษาตามสาเหตุ ของโรคเนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ผู้ป่วยที่มี อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการรับประทานยาบางชนิด แพทย์อาจ พิจารณาให้หยุดยาก่อน ในรายที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะเนื่องจากต่อมไทรอยด์ ผิดปกติ แพทย์ก็จะรักษาความผิดปกติของไทรอยด์นั้น หรือบางกรณีเกิด จากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ก็อาจต้องรักษาโดยทำบายพาส หรือใส่ ขดลวดเพื่อขยายหลอดเลือด เป็นต้น
“กรณีที่ผู้ป่วยมีหัวใจเต้นผิดปกติแบบเต้นเร็วบางชนิด มีอาการอยู่ บ่อย ๆ แต่ไม่อยากรับประทานยาไปตลอด แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วย การจี้ไฟฟ้า โดยการสอดสายสวนเข้าไปยังตำแหน่งที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของ ความผิดปกติโดยสอดเข้าจากทางหน้าขาผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดดำ เข้าสู่หัวใจที่ปลายสายสวนจะมีจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะปล่อยกระแส ไฟฟ้าไปทำลายจุดที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ” นพ. โชติกรกล่าว
ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นช้าโดยไม่ได้เกิดจากยาหรือ ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ การรักษาอาจทำได้โดยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือ Pacemaker แต่หากเป็นกรณีหัวใจอ่อนแรงแล้วรักษาด้วยยาไม่ดีขึ้น การปล่อยไว้จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะแล้วอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจต้องใส่เครื่องช่วยกระตุกหัวใจ (Defibrillator) ที่จะคอย กระตุกให้หัวใจกลับมาทำงานปกติทุกครั้งที่ได้รับสัญญาณผิดปกติ
นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการหัวใจอ่อนแรงและน้ำท่วมปอดอยู่บ่อย ๆ แพทย์จะมีวิธีช่วยคือการใส่เครื่องช่วยรักษาที่เรียกว่า Cardiac Resynchronization Therapy ซึ่งเป็นเครื่องช่วยการบีบตัวของห้องข้างล่างหัวใจ ที่รวมเอาเครื่องช่วยกระตุกหัวใจไว้ด้วยทำให้หัวใจห้องข้างล่างทำงาน สัมพันธ์กันและช่วยให้บีบตัวได้มากขึ้นและทำให้ไม่เกิดภาวะน้ำท่วมปอด
รู้ทัน รับมือได้
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิดนั้น สามารถป้องกัน ได้ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เข้ารับการตรวจร่างกาย ประจำปีเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติของสารต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึง ดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ และถ้าเมื่อไรที่มีอาการผิดปกติ อาทิ ใจสั่น หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอาการเหนื่อย เจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นลม หรือ รู้สึกได้ว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุ ที่แท้จริงต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 25 สิงหาคม 2563