EP Study กับการวินิจฉัย และรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความรู้และเทคนิคใหม่ในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นความหวังของผู้ป่วยอย่างแท้จริง
หากจะกล่าวว่า
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้นถือได้ว่าเป็นภัยเงียบ ก็คงไม่ผิดนัก เพราะอาการของผู้ป่วยอาจเกิดขึ้นเพียงบางช่วง เวลา หลายรายไม่แสดงอาการขณะแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัย ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้การตรวจวินิจฉัยหา สาเหตุของความผิดปกติอย่างตรงจุด รวมทั้งการรักษาให้มีประสิทธิภาพ สูงสุดต้องอาศัยประสบการณ์ของแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมกัน
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีสาเหตุมาจากกระแสไฟฟ้าในหัวใจที่ ควบคุมกลไกการเต้นของหัวใจเกิดความผิดปกติ หรือเรียกได้ว่าไฟฟ้า หัวใจลัดวงจร ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก การศึกษา ด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ หรือ
Electrophysiology Study (EP Study) เข้ามา
“การระบุตำแหน่งต้นตอของความผิดปกติจะช่วยให้เราทำการรักษาที่สาเหตุได้อย่างแท้จริง”
นพ. กุลวี เนตรมณี
มีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทั่วโลก ได้รับเกียรติจากนายแพทย์
นพ. กุลวี เนตรมณี อายุรแพทย์ โรคหัวใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ และมีประสบการณ์ด้านการ รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมากว่า 30 ปี ทั้งในประเทศไทยและสหรัฐ อเมริกามาตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ EP Study และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึงการที่หัวใจเต้นอย่างไม่สม่ำเสมอ โดยอาจเต้นเร็วเกินไป เต้นช้าเกินไป หรือเต้นแล้วเว้นจังหวะไปก็เป็นได้”
นพ. กุลวีเริ่มอธิบาย
“
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด ซึ่งหลายชนิด ไม่เป็นอันตราย แต่สำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทอาจเป็น อันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาทันทีเช่น หัวใจห้องล่างเต้นรัว (Ventricular Tachycardia/ Ventricular Fibrillation) หรือ
หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) ซึ่งเป็นภาวะหัวใจ เต้นผิดปกติที่พบมากที่สุดและจำเป็นต้องได้รับการรักษา”
ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation ที่พบ ได้บ่อยนั้นมักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก กว่า 75 ปีซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าคนอายุน้อยหรือไม่เกิน 50 ปี ถึง 13 เท่า
นพ. กุลวีอธิบายต่อว่า “สาเหตุของภาวะหัวใจ เต้นผิดจังหวะมีมากมาย โดยอาจจะเป็นภาวะผิดปกติของ หัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือปัจจัยบางประการที่ส่งผลให้ กายภาพของหัวใจเปลี่ยนแปลงไป อาทิ ภาวะหลอดเลือด หัวใจตีบ หัวใจวาย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หรือ แม้แต่การสูญเสียเกลือแร่มากเกินไปก็เป็นสาเหตุทำให้ระบบ ไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติได้”
อาการที่พึงสังเกตของ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก มีอาการคล้ายจะเป็นลม “เมื่อมีอาการดังกล่าว อย่างน้อยก็ ควรมาพบแพทย์รับการตรวจดูสักครั้ง” นพ. กุลวีกล่าว “ส่วนตัวแพทย์เอง การจะดูว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดใดเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่นั้นต้อง พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิด จังหวะรายหนึ่งมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอร่วมด้วย ขณะที่อีกรายมี หัวใจเต้นผิดจังหวะก็จริง แต่โครงสร้างของหัวใจปกติดีทุกอย่าง ผู้ป่วย สองรายนี้ย่อมเผชิญความเสี่ยงต่อชีวิตไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการรักษาก็ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป”
EP Study กับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ในการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติและตรวจสอบ ว่าการรักษาแบบใดจะเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์จำเป็น ต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือได้โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการบ่งชี้ว่าหัวใจเต้นผิด จังหวะ หรือผู้ที่เสี่ยงว่าหัวใจจะหยุดเต้นโดยกะทันหัน ด้วยความก้าวหน้า ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งภาพถ่ายทางการแพทย์ ซอฟต์แวร์ ประกอบกับ ประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของหัวใจ ของแพทย์ ทำให้การสาขาสรีรวิทยาไฟฟ้าในหัวใจ หรือ EP Study มีความ ก้าวหน้ามากขึ้น
“EP Study เป็นการศึกษา วินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของ ระบบไฟฟ้าหัวใจซึ่งเป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ” นพ. กุลวีกล่าว “โดยระหว่างการตรวจ EP Study จะมีการติดแผ่นรับสัญญาณไฟฟ้าที่ หน้าอกของผู้ป่วยเพื่อเฝ้าดูอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ จากนั้น แพทย์จะสอดสายสวนเข้าไปในร่างกาย เมื่อสายสวนเข้าไปถึงหัวใจจะส่ง สัญญาณไฟฟ้ากลับมา แพทย์อาจทดสอบโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าไป กระตุ้นหัวใจเพื่อเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ หรือทำการทดสอบอย่างอื่นต่อ ในกรณีที่จำเป็น”
ข้อมูลกระแสไฟฟ้าของหัวใจที่ได้จาก EP Study ผนวกกับวิทยาการ อันก้าวหน้าของ Cardiac Imaging จะถูกนำมาเชื่อมโยงผ่านระบบ ซอฟท์แวร์ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้น ประกอบกับสิ่งสำคัญคือประสบการณ์ เฉพาะทางในการวินิจฉัยของแพทย์ ทำให้แพทย์สามารถเห็นจุดที่ผิดปกติ ได้ถูกต้อง และทำให้สามารถให้การรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าให้หายขาดได้ “การระบุตำแหน่งต้นตอของความผิดปกติจะช่วยให้เราทำการรักษาที่ สาเหตุได้อย่างแท้จริง” นพ. กุลวีกล่าว
“ภาพกายวิภาคของหัวใจที่จำลองขึ้นมาจากการเชื่อมโยงกระแสไฟฟ้า ของหัวใจ ทำให้แพทย์มองเห็นกลไกการเต้นของหัวใจแบบ real time โดยเราสามารถหมุนภาพหัวใจนี้ดูได้โดยรอบ 3 มิติ ขณะเดียวกันก็บันทึก ข้อมูลของกระแสไฟฟ้าในหัวใจไปด้วย เมื่อพบความผิดปกติของกระแส ไฟฟ้าที่จุดใดก็จะกำกับตำแหน่งไว้ด้วยรหัสสี และปล่อยพลังงานความ ร้อนจากปลายของสายสวนเพื่อจี้เนื้อเยื่อที่ผิดปกติ แก้ไขกระแสไฟฟ้าหัวใจ ที่ผิดปกติให้เป็นปกติได้ในทันที”
หัวใจเต้นผิดจังหวะ รักษาหายได้
การวินิจฉัยและรักษาด้วย EP Study สำหรับภาวะหัวใจ เต้นผิดจังหวะบางชนิดเรียกได้ว่าเป็นความหวังสำหรับผู้ป่วย เป็นอย่างมาก “ผู้ป่วยบางรายที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจอื่น ๆ อาจหายขาดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ เนื่องจาก
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย EP Study นั้นเป็นการ รักษาที่ต้นตอของปัญหา แต่มีผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหา
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน (heart attack) ซึ่งมักก่อให้เกิดแผลเป็นที่บริเวณหัวใจ และมักเป็นอุปสรรค ต่อกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ผู้ป่วยกลุ่มนี้แม้จะได้รับการรักษา ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแล้ว แต่ก็อาจมีภาวะหัวใจเต้น ผิดจังหวะที่จุดอื่น ๆ เกิดขึ้นได้อีก”
นพ. กุลวีกล่าว ทั้งนี้
นพ. กุลวีเน้นว่า “การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ด้วยการจี้ด้วยพลังงานความร้อนอาจช่วยให้ผู้ป่วยหลาย ๆ รายหายจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและมีชีวิตดีขึ้นมากก็จริง แต่ไม่ได้ เปลี่ยนปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยมีอยู่แล้วและส่งผลต่อโรคหัวใจ หากผู้ป่วย เริ่มต้นด้วยการมีภาวะความดันโลหิตสูง มีหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือมี พังผืดที่หัวใจ ผู้ป่วยก็ยังคงมีความเสี่ยงซึ่ง EP Study เปลี่ยนปัจจัยเหล่านั้น ไม่ได้ เพราะฉะนั้นแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนหายจากโรคหัวใจเต้นผิด จังหวะ แต่ผู้ป่วยก็ยังต้องระมัดระวัง ควบคุมปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อหัวใจ อย่างสม่ำเสมอด้วยตัวเอง”
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นเป็นบางขณะและมีความเป็นไปได้สูง ที่จะถูกละเลย ทำให้ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาซึ่งในหลาย ๆ กรณีก็ สร้างความเสียหายอย่างถาวรให้กับหัวใจ หากพบว่าตนเองมีอาการผิด ปกติ เช่น รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็ว มีเหงื่อออกมาก วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม อย่าลืมขอคำปรึกษาจากแพทย์
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 31 มีนาคม 2565