bih.button.backtotop.text

ใช่หรือไม่? กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน หรือที่เรียกกันอย่าง คุ้นปากกว่าหัวใจวายนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของ คนไทยเช่นเดียวกับคนทั่วโลก โดยข้อมูลจากสถาบันโรคทรวงอก ระบุว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552

HEART ATTACK ใช่หรือไม่? กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในช่วงนาทีวิกฤติ การตัดสินใจอย่างรวดเร็วช่วยรักษาชีวิตไว้ได้

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลัน หรือที่เรียกกันอย่าง คุ้นปากกว่าหัวใจวายนั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของ คนไทยเช่นเดียวกับคนทั่วโลก โดยข้อมูลจากสถาบันโรคทรวงอก ระบุว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจต้องนอน โรงพยาบาลวันละ 1,185 รายต่อวัน โดยในจำนวนนี้เป็นกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดถึงประมาณ 470 รายต่อวัน แม้ว่าภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

“เมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นหน้าอกเป็นอาการเตือนที่สำคัญ” 
นพ. ชัยอนันต์ ชัยยามานนท์


เฉียบพลันจะร้ายแรง แต่การรู้ ระวัง เข้าใจ และตอบสนองอย่างฉับไว สามารถช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตลงไปได้มาก Better Health ฉบับนี้ จึงพาคุณไปคุยกับนายแพทย์ชัยอนันต์ ชัยยามานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดให้มากกว่าเดิม

สาเหตุและอาการ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน” นพ. ชัยอนันต์กล่าว “โดยกลไกการเกิดนั้นมาจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจ ตีบแคบอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ ไม่มีใครทำนาย หรือบอกได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร ผมพบผู้ป่วยหลายรายที่กลางวันไปตีกอล์ฟ สังสรรค์กับเพื่อนก็ดูแข็งแรงดี แต่กลับมาบ้านตอนกลางคืนกลับมีอาการแน่นหน้าอก”

แม้จะไม่มีใครบอกได้ว่าหลอดเลือดจะอุดตันเมื่อไร และกล้ามเนื้อหัวใจ จะขาดเลือดตอนไหน “เมื่อเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วย มักมีอาการแน่นหน้าอกเป็นอาการเตือนที่สำคัญ” นพ. ชัยอนันต์อธิบาย “ผมขอใช้คำว่าแน่นหน้าอกนะครับไม่ใช่เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกส่วนมาก จะเป็นตรงกลาง เป็นนานเกินกว่าหนึ่งนาทีขึ้นไป และมีอาการปวดร้าวขึ้น ไปที่กรามหรือที่ไหล่ร่วมด้วยโดยเฉพาะไหล่ซ้าย ค่อนข้างมั่นใจได้เลยครับ ว่าน่าจะมีปัญหา ผู้ป่วยบางรายไม่มีปัญหาเรื่องของอาการแน่นหน้าอกแต่จะมาด้วยอาการเหนื่อย ซึ่งถ้ามีเหงื่อแตกร่วมด้วยก็ต้องสงสัยไว้ก่อนว่า อาจจะเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเข้าแล้ว”

นพ. ชัยอนันต์อธิบายต่อว่ามีปัจจัยหลาย ๆ ประการที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ ไขมันในเลือดสูง ซึ่งพบได้บ่อยและต้องระมัดระวังให้มาก โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจหัวใจด้วย นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ยังได้แก่ การสูบบุหรี่ และภาวะกรนรุนแรงหรือภาวะหยุดหายใจระหว่าง หลับซึ่งมีหลักฐานชัดเจนแล้วว่าทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจน เป็นผลให้หลอดเลือดเสื่อมเร็วและสามารถกระตุ้นให้เกิด ลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย

นอกจากผู้ป่วยด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบ เฉียบพลันจากลิ่มเลือด ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ต้องระวัง คือ กลุ่มที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งยังไม่ได้มีลิ่มเลือดอุดตัน “ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการเฉพาะเมื่อหัวใจต้องทำงานหนัก คือ ตอนที่ออกแรง และหัวใจเต้นเร็วมาก ๆ มีภาวะติดเชื้อจาก ไข้หวัดใหญ่ มีไข้สูง ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องอาศัยการควบคุมปัจจัย เสี่ยงควบคู่ไปกับการใช้ยาซึ่งมักจะได้ผลดี หรือในกรณี ที่เป็นมาก อาจต้องพิจารณาทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ หรือกรณีที่หลอดเลือดตีบหลายเส้นก็อาจต้องพิจารณาทำบายพาส

แต่ที่ต้องยอมรับคือ กล้ามเนื้อหัวใจที่เคยแข็งแรงอาจอ่อนแรงลง ซึ่ง ณ จุดที่คุณสูญเสียกล้ามเนื้อบางส่วนไปแล้วคุณจะไม่กลับมาฟิต เหมือนเดิมอีก ถ้าต้องการรักษาโรคหัวใจโดยอยากให้หัวใจกลับมา แข็งแรงเหมือนสมัยอายุน้อย ๆ ก็ต้องรักษาตั้งแต่แรก ๆ อย่ากลัวที่ จะหาหมอ และหาหมอให้ถูกโรค สิ่งที่เราเรียนรู้ได้ในกรณีแบบนี้คือ

หากทราบก่อนหรือรีบมาตรวจและรับการรักษาก็จะลดโอกาสที่จะต้อง ทำการผ่าตัดใหญ่ลงไปได้” นพ. ชัยอนันต์กล่าว

ทุกนาทีคือชีวิต

เมื่อมีเกิดอาการที่น่าสงสัย สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือ การรีบไป พบแพทย์ทันทีโดยไม่รอช้า “ในทางการแพทย์มีการพิสูจน์แล้วว่าเมื่อผู้ป่วย มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อรับการ รักษาอย่างถูกต้องนั้น ช่วยชีวิตได้จริง ๆ” นพ. ชัยอนันต์กล่าว “เวลา เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทุกนาทีที่เสียไปบ่งบอกว่าอนาคตของผู้ป่วยจะ เป็นอย่างไร”

เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์มีหลัก ปฏิบัติสำหรับการรับมือกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ชัดเจน กล่าวคือ ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแน่นหน้าอก หรือว่ามีอาการเหนื่อย สงสัยว่าจะมี

การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวด

- ใส่บอลลูน/ขดลวดเข้าสู่หลอดเลือด
- ขยายบอลลูน/ขดลวดในตำแหน่งหลอดเลือดตีบตัน
- นำบอลลูนออก คงขดลวดที่ขยายไว้

ปัญหาของหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยจากการทำ คลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อยืนยันข้อสงสัยได้ภายใน 5 นาที “ที่นี่เรากำหนด Golden Period หรือระยะเวลาที่จำเป็นต้องให้การช่วยเหลือให้ทันภายใน 60 นาที หมายความว่า เมื่อเกิดอาการแน่นหน้าอกเฉียบพลันแล้ว เราจะ สามารถเปิดหลอดเลือดของผู้ป่วยได้ภายใน 60 นาที” นพ. ชัยอนันต์กล่าว “เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ สงสัย และรีบมาพบแพทย์จนสามารถเปิด

หลอดเลือดหัวใจได้เร็ว เราก็สามารถรักษากล้ามเนื้อหัวใจไว้ได้มาก ผู้ป่วย กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่รอดพ้นจากภาวะหัวใจโตและภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง สามารถกลับมามีชีวิตใกล้เคียงปกติมาก หรือดีขึ้นกว่าเดิมโดยเฉพาะผู้ป่วย ที่มีหลอดเลือดตีบมานาน”

ยอมรับความจริง

ในช่วงเวลาวิกฤติ ทุกคนทราบดีว่าวิธีรับมือที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์ หรือส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด แต่ปัญหาก็คือเมื่อเกิดเหตุจริง ๆ หลายคนอาจไม่ทันคิดจนทำให้การตอบสนองนั้นไม่รวดเร็วเท่าที่ควร

“การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะในนาที วิกฤติ ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าถ้าเรายอมรับความจริง และตอบสนองต่อความ จริงนั้นด้วยความสัตย์ซื่อ กล่าวคือ เมื่อมีอาการน่าสงสัย ประกอบกับทราบ ปัจจัยทางสุขภาพของตัวเองอยู่แล้ว อย่าหยุดแค่สงสัยแล้วไม่ทำอะไร แต่ต้องหาข้อพิสูจน์ให้ได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรานั้นเป็นปัญหาหรือไม่ เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยไม่ใช่โชคลาง ความจริงเท่านั้นจะทำให้คุณ ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เรื่องการรักษาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย แน่นอน เช่น มีอาการเหนื่อย ไม่แน่ใจ มาคุยกับหมอได้ เรามีวิธีการแยกแยะ จนทราบได้ว่าเกิดจากอะไร กลุ่มไหนรอได้ กลุ่มไหนต้องตรวจเพิ่มเติม อย่าเชื่อแบบปากต่อปาก ไปหาอะไรมารับประทานเสริมเพราะคิดว่าจะ ช่วยได้ ตรงนี้เท่ากับการยื้อเวลาไม่ให้เราได้ทราบความจริงและประวิงเวลา ที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งหมดนี้ส่งผลมากต่อ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” นพ. ชัยอนันต์กล่าวตอนท้าย

 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 31 มีนาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs