'หินปูน' ที่เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากการเสื่อมโดยธรรมชาติของแคลเซียมในร่างกาย ที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็ง หรืออาจเกิดจากกลไกของร่างกาย สร้างแคลเซียมมาป้องกันบริเวณที่เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังอาจแฝงตัวมากับคราบไขมัน และเกาะติดบริเวณหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน และนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
รู้ระดับความเสี่ยง ด้วยการตรวจ Calcium Scoring CT
ผลการตรวจที่ได้จากการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ด้วยวิธี Calcium Scoring CT จะบอกระดับคะแนน ตั้งแต่ 0-400 ขึ้นไป เพื่อประเมินว่า จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากน้อยเพียงใด สู่การปรับไลฟ์สไตล์อย่างเหมาะสม หรือวางแผนในการรักษาได้อย่างทันท่วงที
- ระดับหินปูน 0 ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันต่ำ
- ระดับหินปูน 1-10 ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันน้อย หรือเพียง 10%
- ระดับหินปูน 11-100 ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันปานกลาง แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกาย หรือปรับอาหารให้เหมาะสม
- ระดับหินปูน 101-400 ปริมาณหินปูนปานกลางถึงสูง แพทย์อาจแนะนำการรักษาหรือการตรวจเพิ่มเติม
- ระดับหินปูน 400 ขึ้นไป อาจมีภาวะหลอดเลือดตีบแฝงอยู่ และมีโอกาสหัวใจวายเฉียบพลันสูง แพทย์อาจพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
หมายเหตุ
*ค่า Score ที่ได้ เป็นผลรวมของการนับวัดจากหลอดเลือกหัวใจทุกเส้น
**การตรวจนี้ไม่สามารถประเมินคราบไขมัน (Soft plaque) ในหลอดเลือดหัวใจได้
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: