bih.button.backtotop.text

ถาม-ตอบ โรคทางสายตา

Q: ดิฉันมีอาการตาแห้ง ต้องพกน้ำตาเทียมตลอดเวลา ถ้าใช้บ่อยเกินไปจะเป็นอันตรายหรือไม่ อย่างไร

A: ในผู้ที่จำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมบ่อยๆ (เกินวันละ 4 ครั้ง) แนะนำให้ใช้น้ำตาเทียมชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย (non preservative หรือ preservative free) ซึ่งจะมีลักษณะเป็นหลอดพลาสติกเล็กๆ เมื่อเปิดใช้แล้วยาจะมีอายุได้นานเพียง 24 ชั่วโมง

น้ำตาเทียมชนิดขวดจำเป็นต้องผสมสารกันเสีย ถ้าหยอดตาบ่อยเกินไป อาจมีการสะสมของสารกันเสีย ทำให้มีอาการเคืองตาได้

รศ.พญ. สุดารัตน์ ใหญ่สว่าง


Q: น้องสาวติดโทรศัพท์มือถือมาก คุณหมอบอกว่ามีอาการของโรคสายตาสั้นเทียม ไม่ทราบว่าโรคนี้คืออะไรและจะรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

A: สายตาสั้นเทียม (pseudomyopia) คือภาวะสายตาสั้นชั่วคราวที่เกิดจากกล้ามเนื้อภายในลูกตาซึ่งทำหน้าที่เพ่งยามมองใกล้ และเมื่อมองไกลกล้ามเนื้อนี้จะต้องคลายตัว ในเด็กบางคนกล้ามเนื้อนี้ไม่คลายตัวในเวลา
 

มองไกล ทำให้เกิดสายตาสั้นได้ช่วงเวลาหนึ่ง ภาวะแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กๆ ใช้สายตาเพ่งดูใกล้มากจนเกินไป แม้เวลาที่มองไกลๆ สายตาของเขาก็ยังคงเพ่งต่อไป ทำให้การมองเห็นของเด็กเหมือนคนสายตาสั้นจริงๆ เมื่อวัดค่าสายตาออกมาก็จะเป็นค่าสายตาสั้น แต่ไม่ใช่ค่าสายตาที่ถาวร
 

โดยส่วนใหญ่แล้ว สายตาสั้นเทียมจะเกิดขึ้นในเด็กอายุประมาณ 6 ปีขึ้นไปจนถึงช่วงวัยรุ่น หลังจากนั้นจะพบน้อยลง ในผู้ใหญ่จะไม่พบเป็นสายตาสั้นเทียม เพราะกลไกการเพ่งของสายตาในเด็กจะมีกำลังแรงมาก แล้วค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น
 

การรักษาเบื้องต้นคุณพ่อคุณแม่ต้องปรับพฤติกรรมการใช้สายตาของลูกไม่ให้เพ่งดูใกล้มากจนเกินไป ปรับการใช้เวลาว่างเป็นกิจกรรมกลางแจ้ง และหากไม่แน่ใจว่าลูกสายตาสั้นจริงหรือไม่ ควรพาไปพบจักษุแพทย์โรคตาเด็ก คุณหมอจะตรวจวินิจฉัยด้วยการหยอดยาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ตาเพ่งไม่ได้ กล้ามเนื้อภายใน
 

ลูกตาที่ทำหน้าที่ในการเพ่งจะอ่อนแรงชั่วคราวจากฤทธิ์ยา เมื่อกล้ามเนื้อตาเพ่งไม่ได้ สายตาสั้นเทียมก็จะไม่เกิดจากนั้นจึงทำการวัดค่าสายตาอีกครั้งว่ามีค่าสายตาสั้นเหลืออยู่หรือไม่ น้อยลงหรือไม่ หากเป็นสายตาสั้นเทียมหลังหยอดยาแล้วก็จะไม่มีค่าสายตาสั้นหรืออาจจะมีแต่น้อยกว่าเดิม

Q: อายุเกือบ 50 แล้ว สายตาสั้นและมีสายตายาวสูงอายุร่วมด้วย การทำเลสิกจะช่วยแก้ปัญหาได้หรือไม่

 
A: สายตายาวสูงอายุพบในคนอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป โดยพบร่วมกับภาวะสายตาผิดปกติแต่กำเนิดได้ (สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง) ผู้ที่มีภาวะสายตายาวสูงอายุุจะมีอาการมองใกล้ไม่ชัด หรือปวดขมับเวลาอ่านหนังสือหรือจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ ภาวะนี้ไม่สามารถแก้ไขให้กลับสภาพเดิมได้ เพราะเป็นความ


พญ. ฐาริณี กุลกำม์ธร


เสื่อมของกล้ามเนื้อตาที่ช่วยในการเพ่งมองใกล้และเลนส์แก้วตายืดหยุ่นได้น้อยลง ทำให้มองใกล้ได้ยากกว่าช่วงที่อายุน้อย วิธีช่วยให้มองใกล้ชัดขึ้นคือการใส่แว่นอ่านหนังสือ (แว่นสายตายาว) ส่วนทางเลือกอื่นถ้าไม่ต้องการใส่แว่น ได้แก่ การทำเลสิกแบบ monovision โดยจักษุแพทย์จะตั้งค่าเลเซอร์แก้ค่าสายตาข้างเด่นให้เห็นไกลได้ชัด ส่วนตาอีกข้างจะตั้งค่าเลเซอร์ให้เหลือค่าสายตาสั้นเล็กน้อย (ประมาณ -1.5 diopters หรือสายตาสั้น 150) ซึ่งจะช่วยเรื่องมองใกล้

เนื่องจากการมองเห็นจะคมชัดทีละหนึ่งตา บางรายอาจมีอาการเมื่อยตาถ้าต้องอ่านหนังสือหรือมองใกล้นานๆ หรืออาจมีแสงจ้าเพิ่มขึ้นตอนขับรถกลางคืนได้ ผู้ที่สนใจควรปรึกษาจักษุแพทย์ว่าท่านเหมาะกับการทำเลสิกแบบ monovision หรือไม่ โดยแพทย์จะประเมินค่าสายตาร่วมกับให้ลองภาวะ monovision ด้วยคอนแทคเลนส์ก่อนตัดสินใจ

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 16 มีนาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs