bih.button.backtotop.text

เรื่องไม่เล็กของเด็กตัวเล็ก-ตัวเตี้ย

แม้ความเตี้ยจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสักเท่าไหร่ แต่เด็กที่มีภาวะตัวเตี้ยอาจได้รับผลกระทบทางจิตใจและสูญเสียความมั่นใจในตัวเองหากโดนเพื่อนล้อ และหากในอนาคต เด็กๆ มีความใฝ่ฝันในอาชีพบางอย่างที่กำหนดส่วนสูงไว้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ภาวะดังกล่าวอาจส่งผลกับอนาคตของเขาไม่มากก็น้อย 
 

สูงเท่าไหร่ดี?

อายุ อัตราการเพิ่มความสูง/ปี
แรกเกิด-1 ปี 25 ซม./ปี
1-2 ปี 12 ซม./ปี
2-4 ปี 7 ซม./ปี
ก่อนเข้าวัยรุ่น  5-6 ซม./ปี
ช่วงวัยรุ่น  เพศหญิง 8-12 ซม./ปี เพศชาย 10-14 ซม./ปี


Tips: พ่อแม่ควรบันทึกส่วนสูงในแต่ละช่วงชีวิตของลูกไว้ และหมั่นสังเกตว่าความสูงของลูกพัฒนาตามค่ามาตรฐานอยู่หรือไม่หากความสูงของลูกเริ่มนิ่งๆ ในช่วงหนึ่งถึงสองปี สูงไม่ถึงอัตราตามตาราง หรือต่ำกว่าเกณฑ์ทั่วไป ควรพาลูกมาพบคุณหมอตั้งแต่เนิ่นๆ 

 

การรักษา

เพราะองค์ประกอบของความสูงซับซ้อนกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมน พันธุกรรม และอาหาร การได้พบแพทย์จะช่วยวินิจฉัยต้นเหตุของความเตี้ยได้ถูกต้องผ่านการซักประวัติ ดูพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมไปถึงการรับประทานอาหาร เมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุได้แล้ว แพทย์จะให้คำแนะนำเพื่อไปปรับใช้ในการเลี้ยงดูลูก 
  1. กินอะไรดี:  วางแผนโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับเด็ก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ปลูกฝังและส่งเสริมให้ลูกรับประทานอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในปริมาณที่เหมาะสม
  2. ทำอะไร ตอนไหนดี:  แบ่งเวลาในการทำกิจวัตรประจำวันของลูก จัดสรรชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมในแต่ละวันเพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต และเพิ่มการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและการเจริญเติบโต
  3. สู้กับฮอร์โมนยังไงดี: หากคุณหมอพบว่าต้นเหตุของภาวะเตี้ยเกิดจากฮอร์โมน อาจมีการรักษาซึ่งจะเป็นยาชนิดรับประทาน หรือแบบฉีด ก็ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของฮอร์โมนชนิดต่างๆ



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แก้ไขล่าสุด: 06 พฤษภาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs