bih.button.backtotop.text

EP.3 ลูกเตี้ยคุณหมอช่วยได้อย่างไร



เมื่อเด็กตัวเตี้ยมาหาหมอหลังจากเราซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยแล้ว เราจะรักษาหรือช่วยเด็กกลุ่มนั้นได้อย่างไร อย่างแรกเลย เราต้องดูว่าเตี้ยจากสาเหตุอะไร เมื่อเราเจอสาเหตุ ก็รักษาตามโรคที่เราเจอ เช่น ถ้าขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ก็ให้ยาไทรอยด์ เจอภาวะโรคเรื้อรังอะไรต่างๆ เราก็จะแนะนำให้รักษาตรงตามโรคเพื่อจะได้ช่วยให้เด็ก Catch up หรือสูงขึ้นมาได้

ส่วนในกลุ่มที่ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตเราวินิจฉัยแล้วจากการตรวจโกรทฮอร์โมน ถ้าฮอร์โมนขาดก็จะให้การรักษาด้วยฮอร์โมน โกรทฮอร์โมนซึ่งเป็นฮอร์โมนแบบฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ฉีดทุกวันที่บ้านก่อนนอน แล้วก็ฉีดเป็นระยะเวลานานจนกระทั่ง อายุกระดูกของผู้หญิงมากกว่า 14 ปีหรืออายุกระดูกของผู้ชายมากกว่า 16 ปี หรือฉีดจนกระทั่งความสูงต่อปีน้อยกว่า 2 ถึง 2.5 ซม. ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ที่จะหยุดฉีด

ทั้งนี้ก่อนฉีดยาแพทย์จะพิจารณาข้อบ่งชี้ว่า มีความจำเป็นไหมที่ต้องฉีด ไม่ใช่ว่าทุกคนเดินมาหาหมออยากฉีดโกรทฮอร์โมนได้ หากมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่าขาดหรือมีภาวะเขาเรียกว่า Small for gestational age คือตัวเล็ก ทารกตัวเล็ก น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าอายุครรภ์ในอายุที่ต่ำกว่าเกณฑ์ Percentile ที่ 10 ณ อายุครรภ์นั้นๆ หรือมีโรคบางโรคเช่น Turner syndrome อันนี้ก็จะมีข้อบ่งชี้ที่จะพิจารณาในการให้ยาของโกรทฮอร์โมนได้ อันนี้คือการรักษาที่ผู้ป่วยบำรุงราษฎร์ด้วยเรื่องตัวเตี้ยค่ะ


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

EP.3 ลูกเตี้ยคุณหมอช่วยได้อย่างไร
คะแนนโหวต 0 of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs