ต่อมลูกหมากสำคัญอย่างไร
ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้นบริเวณ ปากทางออกของกระเพาะปัสสาวะ มีรูปร่างลักษณะคล้ายเม็ดเกาลัด หลายคนมักสับสนและเข้าใจผิดว่าต่อมลูกหมากคือลูกอัณฑะ แต่ที่จริงแล้ว อวัยวะทั้งสองนี้ทำงานต่างกันคือ ลูกอัณฑะทำหน้าที่สร้างเชื้ออสุจิ ขณะที่ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ซึ่งมีความสำคัญ อย่างยิ่งต่อระบบ สืบพันธุ์เพศชาย “โดยปกติ อวัยวะส่วนต่าง ๆ จะหยุดเจริญเติบโตเมื่อร่างกายย่างเข้า สู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว (ราว ๆ อายุ 25 ปี) แต่ต่อมลูกหมาก ยังคงสามารถเติบโตต่อไปได้เรื่อย ๆ ตามระดับฮอร์โมนเพศชายหรือ Testosterone ซึ่งมักจะมีระดับลดน้อยลงเมื่อคุณผู้ชายมีอายุมากขึ้น เมื่อมีฮอร์โมนเพศชายไปหล่อเลี้ยงต่อมลูกหมากน้อยลง เอนไซม์ชนิดหนึ่ง ในต่อมลูกหมากก็จะพยายามย่อยฮอร์โมนเพศชายให้ได้
สาร DHT (Dehydrotestosterone) ในปริมาณมากขึ้น ทำให้ต่อมลูกหมากมีเซลล์ เนื้อเยื่อเพิ่มขึ้นและมีขนาดโตขึ้นตามไปด้วย และถ้าหากต่อมลูกหมาก โตมากจนผิดปกติ ก็อาจพัฒนาไปสู่สาเหตุของโรคได้” คุณหมอ อภิชาติอธิบาย
โรคต่อมลูกหมากมีอะไรบ้าง
หากต่อมลูกหมากมีขนาดโตขึ้นจนไปเบียดบังท่อปัสสาวะ ก็อาจ ทำให้ท่อปัสสาวะตีบตัน และเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติต่าง ๆ เวลา ถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะเป็นเลือด หรือแม้กระทั่งพัฒนากลายเป็นเนื้อร้ายและแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
หากเกิดอาการผิดปกติขึ้น แพทย์จะเป็นผู้ทำการตรวจและวินิจฉัยว่า ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากโรคต่อมลูกหมากชนิดใด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วโรคต่อมลูกหมากสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นภาวะที่มีอาการอักเสบของเนื้อต่อม ลูกหมาก พบได้บ่อยในเพศชายช่วงอายุระหว่าง 30-50 ปี สาเหตุและ ลักษณะการอักเสบแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ การอักเสบแบบติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากทางเดินปัสสาวะ การมีเพศสัมพันธ์ หรือการส่องกล้อง ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดตามกล้ามเนื้อ อวัยวะเพศและบริเวณลูกอัณฑะ รวมถึงมีอาการผิดปกติเวลาถ่ายปัสสาวะ ขณะที่อีกประเภทหนึ่งคือการอักเสบแบบปราศจากเชื้อ ซึ่งยากจะระบุ สาเหตุของโรคได้แน่ชัด
ต่อมลูกหมากโต (Prostate Enlargement/Benign Prostate Hypertrophy)
พบได้ในผู้ชายอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป อันเป็นผลมาจากฮอร์โมน เพศชายในร่างกายที่ลดน้อยลง อาการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก จะมีอาการปัสสาวะบ่อยร่วมกับอาการแสบขัด ส่วนกลุ่มที่ 2 จะมีอาการ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือต้องใช้เวลาในการเบ่ง
ปกติแล้วโรคต่อมลูกหมากโตจัดเป็น โรคที่ไม่เป็นอันตราย ต่อชีวิต แต่จะส่งผล กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยบางราย ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลกระทบต่อไต เกิดนิ่ว ในกระเพาะ ปัสสาวะ หรือ กลั้นปัสสาวะ ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในรายที่มีอาการน้อย การปรับพฤติกรรมอาจ ช่วยได้ เช่น ลดการดื่มน้ำหลังอาหารเย็น และก่อนนอน หลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์ กาแฟ หลีกเลี่ยงยาลดอาการคัดจมูก ยาลดการบีบตัวของ กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
มะเร็งต่อมลูกหมาก
เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมากที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ มักจะ เกิดในผู้ชายอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และจะตรวจพบมากขึ้นตามช่วงอายุ ที่เพิ่มขึ้น ผู้ที่มีประวัติบิดาหรือพี่น้องเคยเป็น
มะเร็งต่อมลูกหมากจะมี โอกาสเสี่ยงกว่าคนทั่วไป
มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ และ สามารถรักษาให้หายได้ แต่เมื่อมะเร็งขยายตัวมากขึ้นจนไปกดทับ ท่อปัสสาวะ จะส่งผลให้ผู้ป่วยปัสสาวะลำบากและบ่อยขึ้น จนถึง ขั้นปัสสาวะเป็นเลือด โดยในระยะสุดท้ายมะเร็งจะแพร่กระจายไปยัง ต่อมน้ำเหลือง กระดูก และอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งจะไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ แต่การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การยับยั้งการลุกลามของมะเร็ง และคงสภาพให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตปกติได้มากที่สุด
ทำอย่างไรจึงจะห่างไกลจากโรคต่อมลูกหมาก
ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่40ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจ ต่อมลูกหมากเป็นประจำทุกปี เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกจะไม่ปรากฏอาการใดๆ และถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะก็ควรรีบมาตรวจซ้ำทันที โดย ไม่ต้องรอไปจนครบหนึ่งปี” คุณหมออภิชาติ กล่าว
“นอกจากนี้ก็ควรเลือกรับประทานอาหารที่มี ประโยชน์ ซึ่งอาหารที่ช่วยบำรุงให้ต่อมลูกหมากแข็งแรงก็ได้แก่อาหารที่ให้กรดไขมัน ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว อย่างน้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง ปลาที่ให้กรดไขมัน โอเมก้า เช่น ปลาทูนึ่งและปลากะพง และพืชผักที่มีสาร Allyn Sulfur เช่น หอม กระเทียม กุ้ยช่ายสารไอโซฟลาวโวนในถั่วเหลืองซึ่งมีส่วน ช่วยในการออกฤทธิ์ป้องกันและทำลายเซลล์มะเร็งและควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก”
“ที่สำคัญที่สุดก็คือควรดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และไม่ควรมองข้ามอาการที่แสดงถึงความผิดปกติของร่างกายโดยเฉพาะ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการขับถ่ายปัสสาวะอย่ากลัวที่จะมาพบแพทย์ เพราะวิธีการดูแลสุขภาพที่แท้จริงก็คือการป้องกันส่วนการรักษานั้น ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า” คุณหมออภิชาติกล่าวทิ้งท้าย
วิธีการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก
- การตรวจทางทวารหนักเพื่อคลำหาก้อนมะเร็ง โดยแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปทางรูทวารหนัก เพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่างและความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก
- การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง PSA (Prostatic Specific Antigen) ซึ่งสารชนิดนี้จะถูกผลิตขึ้นมามากกว่าปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
- การตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียง โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจหามะเร็งบริเวณต่อมลูกหมาก
- การตัดชิ้นเนื้อเมื่อแพทย์ตรวจพบก้อนเนื้อที่สงสัย แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมลูกหมาก เพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาดูว่า เป็นมะเร็งจริงหรือไม่
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 18 ธันวาคม 2566