bih.button.backtotop.text

เช็กก่อน...คุณมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานหรือไม่

โรคเบาหวานเป็นภัยเงียบ ที่อาจไม่แสดงอาการ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาก อาจมีอาการแสดง เช่น
  • ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
  • ปัสสาวะมีมดมาตอม
  • กระหายน้ำบ่อย
  • ตามัวมองไม่ชัด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เป็นแผลหายช้า
เบาหวานเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคตา โรคของระบบประสาท รวมถึงโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย เป็นต้น

ดังนั้นการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานจึงมีความจำเป็น เพื่อเป็นการป้องกันหรือรักษาโรคตั้งแต่ระยะแรก ๆ ที่ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อน 


ใครควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
  1. อายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. มีภาวะโรคอ้วน (ดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กก./เมตร2)
  3. มีประวัติครอบครัวสายตรง พ่อ แม่ พี่หรือน้องเป็นโรคเบาหวาน
  4. เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  5. มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ไตรกลีเซอไรด์ > 250 มก./ดล. และ/หรือ เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล < 35 มก./ดล.
  6. เคยได้รับการตรวจพบว่ามีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (Impaired Fasting Glucose) หรือมีความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง (Impaired Glucose Tolerance)
  7. มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
  8. มีประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  9. มีประวัติเคยคลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม
  10. มีกลุ่มอาการถุงน้ำในรังไข่
 
การแปลผลระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่
 
  ปกติ
ระดับน้ำตาลที่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน​
โรคเบาหวาน
 

 

 

 

Impaired Fasting Glucose (มก./ดล.)

Impaired Glucose Tolerance (มก./ดล.)

 

ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร

 < 100 (มก./ดล.)

 100-125 (มก./ดล.)

 -

 >126 (มก./ดล.)

 ระดับน้ำตาลหลังดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม

< 140 (มก./ดล.) 

-

 140-199 (มก./ดล.)

>200 (มก./ดล.) 

ระดับน้ำตาลที่เวลาใดๆในผู้ที่มีอาการชัดเจน

 -

-

 -

 >200 (มก./ดล.)

น้ำตาลสะสม HbA1C

 < 5.7%

 5.7-6.4 %

 >6.5%


ผู้ที่มีเกณฑ์เสี่ยง ควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ถ้าผลปกติให้ตรวจซ้ำทุกปี
 
 
เหตุผลที่ควรคัดกรองโรคเบาหวาน 
  1. โรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้
  2. การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา
  3. การรักษาเบาหวานให้ดีตั้งแต่แรกสามารถป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนทางตา ไต หัวใจ เท้า
หากต้องการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานกับบำรุงราษฎร์ต้องเตรียมตัวอย่างไร
  1. นัดหมายแพทย์                                                                                            
  2. งดอาหารและเครื่องดื่ม 12 ชั่วโมง (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ตามปกติ)                
  3. งดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ทุกประเภท อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  4. ในกรณีที่ต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตสูงเป็นประจำ สามารถรับประทานยาได้ตามปกติ
  5. กรุณามาก่อนเวลานัด 2 ชั่วโมงเพื่อทำการตรวจเลือด

เรียบเรียงโดย ศูนย์โรคเบาหวาน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
          8.00-20.00  (BKK Time)
          02-0113984-5 and 02-113991

          20.00-8.00 (BKK Time)
          Contact center +662 066 8888 and  1378
แก้ไขล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs