โรคลมชัก เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้เป็นอันดับต้นๆ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ ในปัจจุบันพบว่าคนประมาณร้อยละ 0.5 – 1 มีโอกาสเกิดโรคลมชักได้ โรคลมชักเป็นโรคที่มีผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านการเรียนและสังคม หากปล่อยทิ้งไว้พัฒนาการของเด็กจะยิ่งถดถอย ดังนั้นหากผู้ปกครองสงสัยว่าเด็กอาจเป็นโรคลมชัก ควรพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดีอย่างสมวัย
โรคลมชักที่เกิดจากกรรมพันธุ์หรือหาสาเหตุไม่ได้อาจป้องกันไม่ได้ แต่คนทั่วไปสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอาการชักได้โดยป้องกันไม่ให้ศีรษะมีการกระทบกระเทือนรุนแรง หรือรักษาพยาธิสภาพในสมองที่เกิดขึ้นให้เร็วและมีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสมองให้น้อยที่สุดสำหรับเด็กที่เป็นโรคลมชัก ผู้ปกครองควรดูแลเด็กให้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ปีนที่สูง ว่ายน้ำคนเดียวหรือขี่จักรยานออกนอกถนน
นอกจากนี้ผู้ปกครองควรเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมชักเบื้องต้นดังต่อไปนี้
- ให้เด็กอยู่ในท่าที่ปลอดภัยจากการชัก คือให้นอนราบกับพื้น ตะแคงศีรษะไปทางด้านข้าง
- ห้ามนำสิ่งของใดๆเข้าไปในปากหรือพยายามงัดปากเพื่อป้องกันการกัดลิ้น เพราะเด็กจะยิ่งดิ้นสู้ ฟันอาจหักหรือสิ่งของอาจตกเข้าไปในคอจนเป็นอันตรายและทำให้เด็กหายใจไม่ออกได้
- สังเกตอาการของเด็กและจับเวลาที่เกิดอาการชักไว้ หากเด็กหยุดชักเองภายใน 5 นาที อาจยังไม่ต้องมาพบแพทย์ทันที รอจนวันรุ่งขึ้นได้ แต่หากเด็กชักนานเกิน 5 นาทีหรือมีการชักซ้ำเกินกว่า 1 ครั้งภายในวันเดียวกัน ให้ปฐมพยาบาลเด็กสังเกตอาการของเด็กและจับเวลาที่เกิดอาการชักไว้ หากเด็กหยุดชักเองภายใน 5 นาที อาจยังไม่ต้องมาพบแพทย์ทันที รอจนวันรุ่งขึ้นได้ แต่หากเด็กชักนานเกิน 5 นาทีหรือมีการชักซ้ำเกินกว่า 1 ครั้งภายในวันเดียวกัน ให้ปฐมพยาบาลเด็กอย่างถูกต้องและพาเด็กไปโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านมากที่สุด
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2567