bih.button.backtotop.text

Pharmacogenomics ในผู้ป่วยลมชัก

ในผู้ป่วยโรคลมชักการใช้ยากันชักเพื่อคุมอาการเป็นวิธีการรักษาที่สะดวกและได้ผลลัพธ์ที่อย่างไรก็ตามแม้จะมีการใช้ยากันชักที่มีประสิทธิภาพดีแล้ว แต่ผู้ป่วยโรคลมชักบางรายอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาเลยและจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นแทน


นอกจากนั้นการใช้ยากันชักอาจส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้ การได้รับการตรวจทางพันธุกรรมก่อนการเริ่มการวางแผนการใช้ยา ทำให้มั่นใจว่าผู้ป่วยทุกรายจะได้รับประสิทธิผลจากการใช้ยาและลดโอกาส การเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยากันชักได้ วิธีการ

วิธีการรักษาโรคลมชักขั้นต้นคือ การให้ยากันชักซึ่งโดยทั่วไปเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีหรือนานกว่านั้น และการรักษาสาเหตุของการเกิดโรคลมชักนั้นๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาจนหายขาดได้ แต่ในบางรายทำได้เพียงแค่ยับยั้งไม่ให้เกิดอาการชักโดยรับประทานยาควบคุมอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันยากันชักมีอยู่หลายชนิด ซึ่งมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการชัก ผู้ป่วยร้อยละ 70 สามารถรักษาหรือควบคุมอาการได้ด้วยการใช้ยาและหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการชัก เช่น การอดนอน นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การควบคุมอาหารแบบคีโตเจนิค ไดเอท (Ketogenic Diet) เพื่อลดอาการชักควบคู่ไปด้วย โดยส่วนใหญ่การควบคุมอาหารแบบนี้จะใช้กับเด็กที่ควบคุมอาการชักได้ยากและเมื่อการใช้ยาไม่ได้ผลเท่าที่ควร

สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจเสนอทางเลือกด้วยการใช้วิธีการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้นำวิธีการผ่าตัดอันทันสมัยที่เรียกว่า SEEG (Stereoelectroencephalography) มาใช้เป็นรายแรกและโรงพยาบาลเดียวในขณะนี้ของโรงพยาบาลเอกชน เป็นการผ่าตัดเพื่อฝังอิเลคโตรดเข้าไปในสมองเพื่อค้นหาจุดกำเนิดของลมชักได้อย่างแม่นยำก่อนการผ่าตัดจุดกำเนิดชักออก โดยได้ผลการผ่าตัดที่น่าพึงพอใจ




 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2567

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs