bih.button.backtotop.text

มะเร็งลำไส้ ภัยเงียบที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม



มะเร็งลำไส้เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ในแต่ละปีมีผู้คนจำนวนมากที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ถึงแม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นมะเร็งลำไส้ด้วยปัจจัยเสี่ยงจากตัวบุคคลและสภาพแวดล้อม แต่ผู้ป่วยประมาณ 5 – 10% เป็นมะเร็งลำไส้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม การตรวจยีนทำให้ทราบว่ามียีนผิดปกติหรือยีนกลายพันธุ์ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือไม่ และสามารถบ่งบอกโรคที่ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ประมาณ 10 โรค เช่น กลุ่มอาการลินช์ (Lynch syndrome) ภาวะมีติ่งเนื้อภายในลำไส้จำนวนมาก  (Familial adenomatous polyposis) และกลุ่มอาการ Peutz-Jeghers
 

ใครบ้างที่ควรรับการตรวจยีนมะเร็งลำไส้

  • ผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้หรือมะเร็งทวารหนักเมื่ออายุต่ำกว่า 50 ปี
  • ผู้ที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเมื่ออายุต่ำกว่า 50  ปี
  • ผู้ที่เป็นมะเร็งในหลายอวัยวะหรือมะเร็งที่เกิดกับอวัยวะทั้งสองข้าง เช่น มะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง มะเร็งไตทั้งสองข้างและมะเร็งรังไข่ทั้งสองข้าง
  • มีประวัติครอบครัวโดยเฉพาะที่เป็นญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง ลูก หากมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้เมื่ออายุน้อยกว่า 50 ปีหรือเป็นมะเร็งลำไส้มากกว่าหนึ่งคนจะทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกลุ่มอาการลินช์ (Lynch syndrome) มากกว่า 3 คน
  • ผู้ที่พบติ่งเนื้อเล็กๆ (polyps) ในลำไส้มากกว่า 10 จุดหรือมีประวัติครอบครัวมีติ่งเนื้อในลำไส้มากกว่า 10 จุด
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุมากกว่า 18 ปีและต้องการทราบว่ามีพันธุกรรมมะเร็งลำไส้หรือไม่
 

ทำไมจึงควรตรวจยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้

การตรวจยีนที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ ช่วยในการวางแผนดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและยังช่วยให้แพทย์สามารถรักษาโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น
  • การตรวจหายีนผิดปกติที่ถ่ายทอดมาตั้งแต่กำเนิด ทำให้ทราบความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ในอนาคต เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของโรค นอกจากนี้หากตรวจพบยีนผิดปกติ ญาติพี่น้องคนอื่นๆยังสามารถตรวจเพิ่มเติมเพื่อวางแผนป้องกันโรคไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
  • ตรวจหายีนผิดปกติในเซลล์มะเร็ง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาโรค ทำให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ป่วย ซึ่งรวมถึงวิธีรักษามะเร็งแบบเฉพาะบุคคล (precision cancer medicine) ที่ออกแบบขึ้นเพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็งลำไส้ที่กลายพันธุ์ไม่ให้เจริญเติบโตและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายและช่วยหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรักษา
 

จะลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ได้อย่างไร

  • หากคุณมีประวัติครอบครัวที่เป็นสายเลือดเดียวกันเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือมีติ่งเนื้อเล็กๆในลำไส้จำนวนมาก ควรปรึกษากับแพทย์เวชพันธุศาสตร์เพื่อประเมินความเสี่ยงและวางแผนในการป้องกันโรค
  • หากคุณตรวจพบว่ามียีนผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหารที่มีความชำนาญในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ในคนปกติทั่วไป ควรเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เมื่อมีอายุ 45 ปีขึ้นไปและตรวจซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์ สำหรับคนที่มียีนผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือมีประวัติครอบครัว แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจคัดกรองเร็วขึ้น
  • ใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดีด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำกัดการบริโภคเนื้อแดง อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่างและอาหารแปรรูป รับประทานผักให้มากขึ้น ออกกำลังกายแบบหนักปานกลางอย่างต่อเนื่อง 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ งดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์
 

ทำไมจึงเลือกตรวจพันธุกรรมกับบำรุงราษฎร์

ทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยมีผู้ชำนาญการสาขาต่างๆอย่างครอบคลุม ตั้งแต่แพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์ นักพันธุศาสตร์และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคมะเร็งและแพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบทางเดินอาหารที่มีความชำนาญในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

พร้อมให้คำปรึกษาในการป้องกันโรคและรักษาโรคแบบองค์รวม  ศูนย์พันธุศาสตร์เชิงป้องกัน และสุขภาพครอบครัว
โทร : 02-011-4890 , 02-011-4891  (ระหว่างเวลา 8.00-18.00 น.)



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ ภัยเงียบที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
คะแนนโหวต 0 of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs