bih.button.backtotop.text

จะดีแค่ไหน ถ้าเรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเพื่อต่อสู้และกำจัดกับสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอยู่ตลอดเวลา สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ มีตั้งแต่เชื้อโรคสารพัดชนิดไปจนถึงเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง เมื่อไหร่ก็ตามที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายตก สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะเริ่มโจมตีร่างกายทันที นอกจากทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆได้ง่ายแล้ว ภูมิคุ้มกันที่ต่ำยังทำให้เซลล์มะเร็งเล็ดรอดไปได้และอาจทำให้เป็นโรคมะเร็งในที่สุด ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคร้ายต่างๆคือการทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงจนโรคทั้งหลายต้องยอมแพ้
 

สร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงเพื่อป้องกันโรคมะเร็งหรือป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำได้อย่างไร

ปัจจัยเสี่ยงหลักๆของการเกิดโรคมะเร็งคือ พฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกิน ความเครียด นอนไม่พอ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้ภูมิคุ้มกันตก เป็นโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้น

  • รับประทานอาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งส่วนใหญ่มีอยู่ในผัก ผลไม้ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผักผลไม้สีม่วงที่มีสารต้านมะเร็งแอนโทไซยานิน (anthocyanins)  และชาเขียวซึ่งมีสารโพลีฟีนอลที่ประกอบด้วยสาร อีจีซีจี (EGCG) ช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลายชนิด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีอนุมูลอิสระสูงเพราะทำให้ร่างกายอักเสบได้ง่ายขึ้น เช่น ไขมันทรานส์ซึ่งมักพบในอาหารที่ใช้น้ำมันมากและความร้อนสูง อย่างอาหารทอดกรอบ ไม่รับประทานน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เพราะนอกจากทำให้เป็นโรคอ้วนแล้ว น้ำตาลยังเป็นแหล่งอาหารของเซลล์มะเร็ง โดยไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 45-60 กรัมต่อมื้อ หรือประมาณข้าว 3 ทัพพีต่อมื้อหรือหลีกเลี่ยงใช้สารให้ความหวาน เช่น น้ำตาลทรายหรือแอสปาแตม นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย  โดยรับประทานอาหารพรีไบโอติกส์ (Prebiotics)  ที่มีมากในผักและผลไม้เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ให้แก่จุลินทรีย์ในร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงสารพิษ สารพิษมีอยู่รอบตัวเรา ที่ทุกคนสัมผัสเยอะที่สุดคืออาหารและอากาศจากฝุ่น PM 2.5 สารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ โลชั่นและสารระงับกลิ่นกาย สารเคมีเหล่านี้เพิ่มอนุมูลอิสระในร่างกายได้ สารพิษในอาหารได้มาจากหลายแหล่ง เช่น สารปรอทที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารทะเล ยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ อะลูมิเนียมจากกระป๋องอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย การสูดดมสารเบนซีนในน้ำมัน สารก่อมะเร็งในบุหรี่ ให้พยายามหลีกเลี่ยงโดยเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารออร์แกนิกส์ ล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน ใช้เครื่องฟอกอากาศ ไม่สูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ  เป็นเวลา 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่มากหรือน้อยไปกว่านั้น การนอนเป็นเวลาที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนเพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การนอนไม่เพียงพอนอกจากทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำแล้ว ยังทำให้ร่างกายขับของเสียที่สร้างอนุมูลอิสระออกมาไม่หมด เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้ นอกจากนี้ควรเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่มเพราะเป็นช่วงเวลาที่โกรทฮอร์โมนและฮอร์โมนเมลาโทนินหลั่งทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • จัดการกับความเครียด ความเครียดทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายตกเพราะเมื่อมีความเครียดเรื้อรัง ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมาอย่างต่อเนื่อง ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่หลั่งออกมามาเกินไปนี้ จะไปกดภูมิคุ้มกัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เกิดภาวะดื้ออินซูลินเป็นโรคอ้วนและ โรคเบาหวานได้ง่ายขึ้น การจัดการกับความเครียดทำได้หลายวิธี เช่น การฝึกหายใจ การออกกำลังกายและการทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด แสงแดดประกอบด้วยรังสียูวี (Ultraviolet) ซึ่งสามารถทำลายดีเอ็นเอจนเกิดมะเร็งผิวหนังได้ ถึงแม้แสงแดดจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตวิตามินดีที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ แต่การได้รับวิตามินดีจากอาหารหรืออาหารเสริม อาจควบคุมระดับวิตามินดีได้ดีกว่าการการตากแดดเป็นประจำ การตากแดดเในเวลาที่เรากำหนดเป็นประจำอาจฟังเหมือนเป็นพฤติกรรมที่ดี แต่พอฤดูเปลี่ยนทำให้ระดับแสงแดดเปลี่ยนทำให้ควบคุมระดับวิตามินดีที่ร่างกายได้รับยาก อาหารที่มีวิตามินดีมักจะอยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นมและไข่ รวมถึงสาหร่ายทะเลและเห็ด บางคนอาจเลือกรับประทานวิตามินดีในรูปแบบของอาหารเสริมก็ได้
  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายไม่ได้ป้องกันโรคอ้วนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสร้างกล้ามเนื้อที่ช่วยส่งสัญญาณที่เรียกว่า myokine ให้กับภูมิคุ้มกันของร่างกาย หากกล้ามเนื้อเยอะจะทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างแข็งขัน ต่อสู่กับเซลล์มะเร็งได้ง่ายขึ้น การออกกำลังกายสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของคาร์ดิโอและเวท เทรนนิ่ง การสร้าง myokine ไม่ได้มาจากกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียวแต่มาจากการรับประทานโปรตีนอย่างเพียงพอ โดยคำนวณง่ายๆว่า 1 กิโลกรัม ต่อ 1 กรัม หรือน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ให้รับประทานโปรตีนอย่างน้อย 50 กรัมต่อวัน แต่หากต้องการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ สามารถเพิ่มปริมาณโปรตีนเป็น 25-30 กรัมต่อมื้อได้
 
ป้องกันโรคมะเร็งไว้ก่อนเกิดโรคย่อมดีกว่า การปล่อยให้เกิดโรคแล้วรักษาหรือหากเป็นมะเร็งแล้ว ควรป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก เพราะต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษา คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมมะเร็งเอสเพอรานซ์ มีความชำนาญด้านการป้องกันและรักษามะเร็งด้วยวิธีผสมผสานโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคมะเร็งและแพทย์ผู้ชำนาญการด้านธรรมชาติบำบัด


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมมะเร็ง
โทร: 02-011-5888
แก้ไขล่าสุด: 21 ตุลาคม 2565

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs