ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่รู้จักกันดีในคนทำงานออฟฟิศและเกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต หรือสมาร์ทโฟน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง สาเหตุสำคัญของออฟฟิศซินโดรมนั้น เกิดจากการที่ทำงานหรือท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆหรืออยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น การนั่งหรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือยกไหล่ ก้มคอมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยหรือชาตามบริเวณต่างๆ อาจรวมถึงสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การทำงานไม่เหมาะสม
อาการของโรค
- ปวดที่ไหล่ คอ หลัง
- ปวดศีรษะ
- ปวดข้อมือ และนิ้วมือ
- ชาที่นิ้วมือ หรือ แขน
- ปวดตึงหลัง และ สะโพก
- ปวดท้องมวน
- นอนไม่หลับ
- ตาแห้ง
บริหารร่างกายป้องกันออฟฟิศซินโดรม
วิธีการรักษา
ออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถรักษาได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ร่วมกับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง โดยวิธีการรักษานั้นมีหลายวิธีประกอบไปด้วย
- การฝังเข็ม (Dry needling) โดยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กปักลงไปในจุดที่กล้ามเนื้อเกร็งตัว โดยให้ปลายเข็มสะกิดเส้นใยกล้ามเนื้อ เพื่อให้คลายตัวและอาการปวดจะบรรเทาลง
- การใช้เครื่องกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กความแรงสูง (Peripheral TMS /PMS) กระตุ้นบริเวณที่ปวดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อช่วยลดอาการกล้ามเนื้อตึงตัว ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และใช้กระตุ้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งาน
- การทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย โดยใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย โดยมีนักกายภาพบำบัดและนักฝึกสอนออกกำลังกายดูแลเรื่องการออกกำลังกายและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย โดยจัดโปรแกรมให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล
ที่ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและไลฟ์สไตล์ เราเน้นการรักษาแบบองค์รวมและออกแบบโปรแกรมการรักษาให้เหมาะกับแต่ละบุคคลเพื่อผลการรักษาที่ดี พร้อมทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการให้การรักษาและคำแนะนำเพื่อให้กลับไปทำงานได้อย่างปกติ และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 24 พฤษภาคม 2565