มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีอัตราการตายลดลงอย่างชัดเจนถ้าตรวจพบในระยะเริ่มต้น ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ในระยะแรก การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมถือเป็นมาตรฐานการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นและทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรักษาหายและรอดชีวิตมากขึ้น ปัจจุบันการตรวจหามะเร็งได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยระบบดิจิตอลแมมโมแกรมแบบมี "CAD" (Computer aided detection) ซึ่งถือเป็นโปรแกรมที่จะสแกนภาพที่ได้จากการเอกซเรย์ของเครื่องแมมโมแกรมแบบดิจิตอลอีกครั้งเพื่อช่วยหาความผิดปกติ นับว่าเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่จะช่วยให้การตรวจหาเนื้อร้ายที่เป็นมะเร็งนั้นง่ายและรวดเร็วขึ้น เมื่อนำมาใช้ร่วมกับการเอกซเรย์เต้านมแบบทั่วไป (แมมโมแกรม)
ใครบ้างที่ควรตรวจ
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี
- ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมและผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูง เนื่องจากมีพันธุกรรมและกลุ่มที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
- ผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติ เช่น คลำก้อนได้ ปวด หรือมีของเหลวผิดปกติไหลออกจากหัวนม
ข้อดีของการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล
- ภาพถ่ายของเครื่องดิจิตอลนั้นมีความคมชัดสูง จึงช่วยให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันได้ชัดเจนขึ้น
- เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมบันทึกภาพเต้านมแบบดิจิตอล ทำให้สามารถมองเห็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น
- ภาพแมมโมแกรมช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบเนื้องอกขนาดเล็กได้ดี มีผลให้สามารถวินิจฉัยได้
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
ในวันที่เข้ามาตรวจไม่ควรทาแป้ง สารระงับกลิ่นกาย หรือโลชั่นที่บริเวณรักแร้และเต้านม เพราะอาจทำให้เกิดเงาซึ่งมีลักษณะคล้ายกับจุดหินปูนบนภาพแมมโมแกรมได้ ถ้ามีปัญหาของเต้านม ประวัติการผ่าตัด การใช้ฮอร์โมน รวมทั้งประวัติเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมของบุคคลในครอบครัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการตรวจแมมโมแกรมคือช่วงหลังมีประจำเดือนหนึ่งสัปดาห์ โดยนับจากวันแรกที่เริ่มมีประจำเดือน
รายละเอียดแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง คลิก
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2565