แผนกผู้ป่วยหนัก (Intensive Care Units หรือ ICU) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เผยกุญแจสำคัญของแผนก ‘บุคลากรที่มีความชำนาญในขั้นสูง’ และ ‘การทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ’ ช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยหนักได้
เส้นบางๆ ระหว่างคำว่า “รอดชีวิต” และ “สูญเสีย” คงไม่มีใครอยากให้เกิด แต่หากเกิดขึ้นแล้ว “ความหวัง” เป็นสิ่งที่ทุกครอบครัวรอคอย เวลาทุกวินาทีเป็นสิ่งมีค่ามากที่สุด “เวลา” จึงถูกกำหนดเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน (KPI) ของโรงพยาบาลชั้นนำอย่างบำรุงราษฎร์ และด้วยมาตรฐานระดับโลก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีทีมแพทย์เวชบำบัดวิกฤตที่ได้รับการรับรองจาก American Board of critical care medicine จากสหรัฐอเมริกา และทีมสหสาขาวิชาชีพที่พร้อมดูแลผู้ป่วยทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยยึดหลักการทำงานเป็นทีม การประสานงานอย่างมีระบบ ประกอบกับความชำนาญและประสบการณ์การใช้เครื่องมืออุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดนี้คือ ความพร้อมของบำรุงราษฎร์ที่จะส่งมอบการดูแลรักษาให้แก่ผู้ป่วยวิกฤตในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งหัวใจของการดูแลรักษาผู้ป่วยมาจากการบริหารจัดการแบบไร้รอยต่อระหว่างบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและระบบการบริบาลที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาและเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยหนัก นับเป็นความโดดเด่นของบำรุงราษฎร์ที่พัฒนามาโดยตลอด
บำรุงราษฎร์มีผู้ป่วยหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 12,000 - 14,000 รายต่อปี และรับผู้ป่วยใหม่วันละ 5-10 ราย สำหรับปี 2561 ที่ผ่านมา มีสัดส่วนผู้ป่วยหนักคนไทย 52% และต่างชาติ 48% โดยแบ่งเป็นต่างชาติที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย 16% และต่างชาติที่เดินทางเข้ามารักษา 32% การที่ทีมมองผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางทำงานประสานงานกันเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะวิกฤต ทำให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความประทับใจ ส่งต่อข้อมูลไปยังบุคคลใกล้ชิด ซึ่งในปัจจับัน มีการส่งต่อผู้ป่วยมาจากโรงพยาบาลพันธมิตรที่มีกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ และจากโรงพยาบาลในต่างประเทศ โดยภาวะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
อันดับ 2
โรคหัวใจ
อันดับ 3 โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง
ซึ่งล้วนเป็นโรคที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที นอกเหนือจากความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว แผนก ICU ยังให้ความสำคัญกับทีมบุคลากรที่มีความชำนาญการในขั้นสูงและมีทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ
ผู้ป่วยวิกฤตแต่ละรายจะได้รับการดูแลจากทีมบุคลากรใน ICU ซึ่งประกอบด้วย
1.
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านผู้ป่วยวิกฤต โดยทุกคนสำเร็จหลักสูตรมาตรฐานเป็นผู้ชำนาญการพิเศษด้านเวชบำบัดวิกฤตจากสหรัฐอเมริกา (American Board of critical care medicine) เป็นหัวหน้าทีมวางแผนตัดสินใจการรักษาร่วมกับแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางในสาขาอื่น ๆ ที่เฉพาะเจาะจงต่อความเจ็บป่วยของผู้ป่วยหนักรายนั้น ๆ
2.
พยาบาลผู้ชำนาญการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤต ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และเป็นเสมือนศูนย์กลางในการประสานงานทั้งภายในทีม ICU และแผนกต่าง ๆ นอก ICU
3.
เภสัชกรประจำแผนก ICU ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในรายละเอียด การเลือกชนิด วิธีการบริหารยา การปรับขนาดยาให้สัมพันธ์กับโรค และการทำงานของไตหรือตับ รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากยาหลายชนิดที่ผู้ป่วยต้องได้รับใน ICU
4.
พยาบาลผู้ชำนาญการบำบัดระบบหายใจ ดูแลเพิ่มเติมเฉพาะระบบ สำหรับผู้ป่วยทุกรายที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากเครื่องช่วยหายใจใน ICU ทำงานประสานและแบ่งเบาภาระความรับผิดชอบของแพทย์และพยาบาลประจำ ICU ให้สามารถทำหน้าที่ส่วนอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังมี
นักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง นักบำบัดปัญหาการกลืนการพูด นักโภชนากร และพยาบาลผู้ประสานงานเฉพาะโรค เช่น ทางระบบประสาทและสมอง ทางระบบหัวใจ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลลัพธ์ทีมีคุณภาพ โดยยึดหลักความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้ความสำคัญกับการสื่อสารพูดคุยกับครอบครัวผู้ป่วย ซึ่งในสถานการณ์นั้น สภาพจิตใจของครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ในขณะปฏิบัติงานซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชุลมุนวุ่นวาย โรงพยาบาลฯ มีแพทย์และพยาบาลที่พร้อมจะให้ข้อมูลตลอดเวลาเพื่อคลายความวิตกกังวลของครอบครัวผู้ป่วย รวมถึงระหว่างการรักษาตัวนั้น แพทย์จะมีการแจ้งความคืบหน้าถึงขั้นตอนการรักษาในทุก ๆ เช้า หรือแม้แต่ในช่วงเวลาที่ญาติต้องการพูดคุยกับแพทย์ โรงพยาบาลฯ มีห้องประชุมที่จัดแยกเฉพาะสำหรับใช้พูดคุยกับครอบครัวเพื่อความเป็นส่วนตัว
การทำงานแบบเชิงรุกและเตรียมความพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ รวมถึงทำงานด้วยความเต็มใจและมีใจรักบริการ นำไปสู่ผลลัพท์ที่ทุกคนปรารถนาคือ ‘ความปลอดภัยของผู้ป่วย’ ซึ่งบำรุงราษฎร์ได้ตระหนักและดำเนินการด้วยมาตรฐานระดับสากลมาอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้
เรียบเรียงโดย
แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร. 02 066 8888
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
- แผนกผู้ป่วยหนัก (ICU)
แผนกผู้ป่วยหนัก 1
Tel: 02 011 2510
แผนกผู้ป่วยหนัก 2
Tel: 02 011 2520
แผนกผู้ป่วยหนัก 3
Tel: 02 011 2300
แผนกผู้ป่วยหนัก 4
Tel: 02 011 2400
แผนกผู้ป่วยวิกฤติหัวใจ
Tel: 02 011 2500
แก้ไขล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2565