bih.button.backtotop.text

โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ

โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ หรือที่มักเรียกกันว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน พบได้ค่อนข้างบ่อยในคนทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ 20-50 ปี โดยเพศชายและเพศหญิงจะมีอัตราการเกิดโรคนี้ในสัดส่วนที่พอๆ กัน

สาเหตุของโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ แต่พบว่าอาการของโรคเป็นผลมาจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน

อาการหลัก ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ ซึ่งมักจะเป็นอาการเวียนศีรษะรุนแรงและมีความรู้สึกหมุนร่วมด้วย บางครั้งผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมกับการสูญเสียสมดุลของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เซหรือล้มได้ง่าย ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนศีรษะนานเป็นนาทีจนถึงหลายชั่วโมงเลยก็ได้ ในระหว่างที่เกิดอาการ ผู้ป่วยจึงควรอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับศีรษะ เพราะอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะเพิ่มขึ้น 

อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่

  • การได้ยินลดลง มักพบในช่วงระยะแรกของโรค มักเป็นชั่วคราวโดยที่การได้ยินจะลดลงในช่วงเกิดอาการเวียนศีรษะ เมื่อร่างกายกลับสู่ภาวะปกติการได้ยินจะดีขึ้น แต่หากปล่อยให้โรคดำเนินไปมากขึ้น การได้ยินอาจเสื่อมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหูตึงหรือหูหนวกได้ในที่สุด
  • อาการเสียงรบกวนในหูและอาการหูอื้อ อาจเป็นๆ หายๆ ได้ในช่วงระยะแรกของโรค บ่อยครั้งอาจพบว่าเสียงรบกวนในหูจะดังมากขึ้นหรือผู้ป่วยมีอาการหูอื้อมากขึ้นเมื่อจะเกิดอาการเวียนศีรษะ แต่ในระยะหลังๆ ของโรค อาการนี้อาจเป็นอยู่ตลอดไป
  • การซักประวัติอาการ เช่น ลักษณะอาการเวียนศีรษะ ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาและความถี่ของอาการ อาการทางหูที่เกิดร่วมด้วย
  • การซักประวัติสุขภาพ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติโรคซิฟิลิส โรคคางทูม โรคการอักเสบของตา โรคภูมิคุ้มกัน โรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ โรคทางระบบประสาท ประวัติการผ่าตัดหู
  • การตรวจร่างกาย เช่น
    • การตรวจหู คอ จมูก และระบบประสาท
    • การตรวจระบบสมดุลของร่างกาย
    • การตรวจการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน (videoelectronystagmography: VNG)
    • การตรวจดูการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่างๆ
  • การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น
    • การตรวจการได้ยิน (audiogram)
    • การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (electronystagmography)
    • การตรวจการทำงานของเส้นประสาทการได้ยิน (evoke response audiometry)
  • การตรวจพิเศษทางรังสี (ในรายที่สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกของเส้นประสาทการทรงตัวหรือความผิดปกติสมอง) เช่น ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การใช้ยารักษาตามอาการตามแพทย์สั่ง
  • การผ่าตัด สำหรับในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้จากการใช้ยา แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัด
  • รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่และถูกต้องตามหลักอนามัย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็มจัด ควบคุมปริมาณเกลือไม่ให้มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงกาแฟ ช็อกโกแลต และอาหารที่มีคาเฟอีน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยอ่อนมากๆ เช่น ทำงานติดต่อกันนานเกินไป หรือออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น ความเครียด
  • ในรายที่เกิดอาการเวียนศีรษะทันทีโดยไม่มีอาการเตือน ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเสี่ยงอันตราย เช่น การขับขี่ยานพาหนะ การปีนป่ายที่สูง เป็นต้น

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หู คอ จมูก

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์การได้ยินและการทรงตัว

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.32 of 10, จากจำนวนคนโหวต 106 คน

Related Health Blogs