bih.button.backtotop.text

การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

เอ็มอาร์ไอ (MRI) ย่อมาจาก Magnetic Resonance Imaging เป็นการตรวจทางการแพทย์ที่ไม่ทําให้เกิดการ
เจ็บปวด ซึ่งจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาโรคได้ดียิ่งขึ้น ภาพที่ได้จากเครื่องเอ็มอาร์ไอเกิดจากการใช้สนามแม่เหล็กความ
เข้มสูงและคลื่นความถี่วิทยุค่าเฉพาะร่วมกับการคํานวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําให้ได้ภาพของอวัยวะ เนื้อเยื่อ กระดูก
และภาพเสมือนของส่วนต่างๆ ภายในร่างกายโดยไม่ต้องใช้รังสีภาพที่ได้สามารถถ่ายเป็นฟิล์มหรือเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้

รายละเอียดของภาพเอ็มอาร์ไอช่วยให้ แพทย์ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของส่วนต่างๆ ภายในร่างกายและ
ความจําเพาะเจาะจงของโรคได้มากกว่าภาพจากเอกซเรย์หรืออัลตราซาวนด์

ลักษณะของเครื่องเอ็มอาร์ไอ
เครื่องเอ็มอาร์ไอทั่วๆ ไปมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยสนามแม่เหล็กลึกประมาณ 1-2 เมตรและมี เตียงที่เลื่อนเข้าออกในอุโมงค์ได้ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างภาพตั้งอยู่นอกห้องเอ็มอาร์ไอ
  • เพื่อดูรายละเอียดของเนื้องอกของส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • เพื่อหาความผิดปกติของระบบกระดูกสันหลัง
  • เพื่อหาความผิดปกติของระบบกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อ
  • เพื่อหาความผิดปกติบางอย่างของระบบหัวใจ
  • เพื่อหาว่ามีการอุดตันหรือโป่งพองหรือความผิดปกติอื่นๆ ของระบบเส้นเลือด
  • เพื่อหารอยโรคของตับ เช่น โรคตับแข็ง และโรคของอวัยวะอื่นๆ รวมทั้งท่อนํ้าดี ถุงน้ำดี และท่อน้ำในตับอ่อน
  • เพื่อดูถุงน้ำและเนื้องอกในไตและท่อปัสสาวะ
  • เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดในช่องเชิงกรานของผู้หญิง เช่น เนื้องอก
  • เพื่อตรวจหาเนื้องอกของเต้านม
  • เอ็มอาร์ไอเป็นการตรวจที่ไม่มีอันตรายและไม่ใช้รังสีในการสร้างภาพ
  • เอ็มอาร์ไอสามารถสร้างภาพของระบบประสาทได้อย่างชัดเจนและมีรายละเอียดดี โดยเฉพาะส่วนสมอง คอ และ กระดูกสันหลังทําให้ได้ภาพที่ดีกว่าการตรวจทางรังสีอื่นๆ
  • เอ็มอาร์ไอสามารถวินิจฉัยรอยโรคที่เกิดในตับได้ดีกว่าการตรวจด้วยเครื่องมืออื่นๆ
  • เอ็มอาร์ไอสามารถวินิจฉัยรอยโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับมะเร็ง หัวใจ โรคเกี่ยวกับเส้นเลือด กระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการตรวจด้วยเครื่องมืออื่นๆ
  • เอ็มอาร์ไอสามารถสร้างภาพเส้นเลือดได้โดยไม่ต้องฉีดสี
  • ยา(สี)ที่ใช้ในเอ็มอาร์ไอมีโอกาสแพ้น้อยกว่าที่ใช้ กับทางเอกซเรย์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography scan หรือ CT Scan)
  • เอ็มอาร์ไอสามารถทําเทคนิคพิเศษเพื่อตรวจดูข้อมูลของสารเคมีบางชนิดได
ผู้ป่วยต้องทําแบบประเมินความปลอดภัยของแผนกเอ็มอาร์ไอก่อนการตรวจ เนื่องจากเครื่องเอ็มอาร์ไอมี สนามแม่เหล็กแรงสูงจึงไม่อนุญาตให้นําโลหะใดๆ ที่ไม่สามารถเข้ากับเครื่องเอ็มอาร์ไอได้เข้าห้องเอ็มอาร์ไอ ผู้ป่วยควร เปลี่ยนเสื้อผ้าโดยใส่ชุดของทางโรงพยาบาลหรือใส่ชุดของตัวเองที่ไม่มีโลหะได้ การดื่มหรือรับประทานอาหารสามารถทําได้ตามปกติ ยกเว้นในบางการตรวจที่เจ้าหน้าที่เอ็มอาร์ไอขอให้ท่านงดน้ำ หรืออาหาร ในบางการตรวจอาจต้องมีการฉีดยา(สี) ร่วมด้วย ถ้าผู้ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคไต ซึ่งอาจทําให้ไตทํางานผิดปกติ อาจจําเป็นต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อดูการทํางานของไตก่อนเริ่มตรวจ ถ้าไตทํางานได้ไม่ดีก็ทําให้ไม่สามารถฉีดยา(สี)ได้ อย่างไรก็ตามยา(สี)ที่ใช้สําหรับเอ็มอาร์ไอประกอบด้วยสารแกโดลิเนียม (Gadolinium) เป็นหลัก ไม่ใช่ไอโอดีน (Iodine)

ดังนั้นโอกาสในการแพ้ยาหรือเกิดผลข้างเคียงจึงน้อยมาก ในหญิงตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์โปรดแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานว่าทําให้เกิด ความผิดปกติต่อมารดาและทารกในครรภ์แต่ก็ควรระวังและคิดถึงความจําเป็นที่ต้องตรวจด้วย ถ้าผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายที่ต้องอยู่ในที่แคบๆ หรือกลัวความแคบ โปรดแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่เอ็มอาร์ไอ เพื่อขอยาคลายเครียดหรือยานอนหลับก่อนการตรวจ เนื่องจากมีสนามแม่เหล็กกําลังแรงในห้องเอ็มอาร์ไอ ดังนั้นก่อนเข้าห้องเอ็มอาร์ไอต้องถอดสิ่งต่างๆ ที่เป็นโลหะไว้ในตู้ ที่ทางโรงพยาบาลจัดให้ รวมทั้ง
  1. นาฬิกา บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม โทรศัพท์มือถือ และเครื่องช่วยฟัง
  2. เครื่องประดับ เข็มกลัด เข็มหมุด กิ๊บหนีบผม เข็มขัด และโลหะอื่นๆ ที่มีอยู่
  3. ฟันปลอมหรือลวดจัดฟันที่สามารถถอดได้
  4. วิก (ผมปลอม)

โดยส่วนมากแล้วอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ฝังอยู่ในตัวผู้ป่ วยสามารถที่จะเข้าห้องเอ็มอาร์ไอ ยกเว้น
  1. ลิ้นหัวใจเทียม
  2. เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  3. หูชั้นในเทียม
  4. เครื่องกระตุ้นประสาท

ผู้ป่วยหรือญาติควรปรึกษาเจ้าหน้าที่เอ็มอาร์ไอในกรณีที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวหรือเครื่องมือที่ใช้ทางการแพทย์ฝังอยู่ใน ร่างกาย ว่าปลอดภัยที่จะทําเอ็มอาร์ไอหรือไม่ การตัดสินว่าอุปกรณ์ชนิดใดสามารถเข้าเครื่องเอ็มอาร์ไอได้ต้องใช้ทั้งความรู้ และประสบการณ์ อย่าคาดเดาหรือเพียงเชื่อแพทย์ของท่านว่าทําได้ สําหรับผู้ป่วยที่มีรอยสักอาจรู้ สึกร้อนในบริเวณที่มีรอย สักได้ เนื่องจากสีที่ใช้อาจผสมด้วยโลหะบางชนิด หากในระหว่างการตรวจท่านรู้ สึกเจ็บในบริเวณที่สักโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ เอ็มอาร์ไอทันที
เมื่อเริ่มการตรวจผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงที่เลื่อนได้ จะมีการรัดหรือหนุนบางส่วนเพื่อให้ได้ท่าที่ถูกต้องและสบายที่สุด และจะมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณวางอยู่รอบๆ บริเวณที่จะตรวจ หลังจากนั้นเตียงจะเลื่อนเข้าไปอยู่ในเครื่องเอ็มอาร์ไอ ผู้ป่วยจะอยู่ในเครื่องเพียงลําพัง เว้นแต่จะขอให้ญาติอยู่ในห้องด้วย เมื่อเริ่มการตรวจผู้ป่วยจะรู้ สึกอุ่นขึ้นแต่ถ้ารู้สึกร้อนมาก โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ทําการตรวจ สิ่งสําคัญคือ ผู้ป่วยต้องอยู่นิ่งๆ ในขณะที่เครื่องเริ่มทํางาน ซึ่งจะมีเสียงดังคล้ายๆ เสียง เคาะหรือกระแทกนานประมาณ 2-5 นาที/ชุด ผู้ป่วยอาจขยับบางส่วนของร่างกายได้ในระหว่างชุดของการตรวจนี้ ทั้งนี้ในบางการตรวจผู้ป่วยอาจต้องกลั้นหายใจร่วมด้วย

ในระหว่างการตรวจเจ้าหน้าที่เอ็มอาร์ไอสามารถติดต่อกับผู้ป่วยได้ รวมทั้งสังเกตอาการผู้ป่วยได้ตลอดเวลา เมื่อมีปัญหาหรือรู้สึกไม่สบายผู้ป่วยสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ ผู้ป่วยจะต้องใส่ earplugs หรือ earphone เพื่อช่วยลดเสียงดังจากเครื่องเอ็มอาร์ไอก่อนเริ่มการตรวจ

ในกรณีที่ต้องฉีดยา(สี) ร่วมกับการตรวจ พยาบาลจะสอดท่อเล็กๆ เข้าทางเส้นเลือดดําก่อนเข้าห้องตรวจและฉีดยา(สี) หลังจากตรวจไปแล้วประมาณ 30-45 นาที ที่สําคัญคือ ต้องไม่ขยับตัวหรือศีรษะในระหว่างการฉีดยา
โดยปกติไม่ต้องมีการปฏิบัติตนภายหลังการตรวจแต่อย่างใด แต่ในกรณีที่มีการฉีดยา(สี) ร่วมการตรวจ หลังการตรวจ ควรดื่มน้ำอย่างน้อยประมาณ 1-2 ลิตร ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระหว่างการให้นมบุตรต้องงดให้นมบุตรหลังจากฉีดยาแล้ว 48 ชั่วโมง

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

  • ในกรณีที่ผู้ป่วยกลัวที่แคบอาจจําเป็นต้องได้รับยานอนหลับ ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงจากยานี้ได้ ดังนั้นเพื่อความ ปลอดภัยจึงต้องมีพยาบาลคอยตรวจดูสัญญาณชีพตลอดการตรวจ
  • เนื่องจากเครื่องเอ็มอาร์ไอมีสนามแม่เหล็กแรงสูง จึงอาจมีผลกระทบต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่อยู่ภายใน ร่างกายบางชนิดได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยจึงควรให้ข้อมูลทุกอย่างกับเจ้าหน้าที่ก่อนได้รับการตรวจ เอ็มอาร์ไอ
  • การตรวจเอ็มอาร์ไอใช้เวลาในการสร้างภาพนานพอสมควร ผู้ป่วยจึงต้องอยู่นิ่งๆ ตลอดการตรวจ ทั้งนี้การตรวจบางรายการอาจต้องการให้ผู้ป่วยช่วยกลั้นหายใจ หากมีการขยับตัวหรือกลั้นหายใจไม่ดีจะทําให้ได้ภาพที่ไม่ชัดเจนเพียงพอ ซึ่งมีผลต่อความถูกต้องแม่นยําในการแปลผลของรังสีแพทย์
  • โอกาสน้อยมากที่จะเกิดการแพ้ยา(สี) ที่ฉีด
  • กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะการทํางานของไตไม่ดี จะไม่มีการฉีดยา(สี) เพื่อตรวจเอ็มอาร์ไอ เพราะอาจทําให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ nephrogenic systemic fibrosis (NSF) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถึงแม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยก็ตาม

คําแนะนําเกี่ยวกับการเดินทางก่อนและหลังทําการตรวจ

ไม่มีข้อจํากัดในการเดินทาง

ความแม่นยําในการตรวจ

การตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอโดยรวมแล้วให้ผลการตรวจที่มีความแม่นยําสูง 80-95% เมื่อเทียบกับการตรวจทางรังสี อื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดการตรวจ รอยโรค และปัจจัยทางด้านผู้ป่วยเอง เช่น อายุ โรคประจําตัว หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

หากไม่ได้ทําการตรวจด้วยวิธีนี้จะเกิดอะไรขึ้น

ไม่มี

ทางเลือกอื่นในการตรวจวินิจฉัย

  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography scan หรือ CT Scan)
  • อัลตราซาวนด์
แก้ไขล่าสุด: 27 ตุลาคม 2565

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์วินิจฉัยและบำบัดรักษา

ดูเพิ่มเติม

แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 25 คน

Related Health Blogs