bih.button.backtotop.text

การรักษาเอ็นหุ้มข้อไหล่ฉีกด้วยวิธีส่องกล้อง

เพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็นที่ได้รับการบาดเจ็บฉีกขาด ลดความเจ็บปวด

ขั้นตอนในการทำหัตถการ
การเตรียมตัวก่อนการทำหัตถการ
  1. หากอยู่ระหว่างการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดเนื่องจากโรคประจำตัว เช่น ยา Aspirin, Persantin, Ticlid, Plavix, Warfarin, Heparin, Fraxiparine ให้หยุดยาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัดโดยการพิจารณาจากแพทย์
  2. แพทย์จะประเมินสุขภาพของท่านโดยการตรวจร่างกาย เจาะตรวจเลือด เอกซเรย์ และคลื่นหัวใจตามความเหมาะสม
  3. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการทำผ่าตัด
  4. หากมีอาการป่วย มีไข้ก่อนวันผ่าตัด 1 วัน ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลหรือแพทย์ผู้ให้การรักษา
  5. ควรงดน้ำและอาหารทุกชนิดก่อนการผ่าตัด 6-8 ชั่วโมง

การรักษาด้วยการส่องกล้องมักให้ผลดี เป็นการผ่าตัดข้อไหล่โดยใช้กล้องขนาดเล็ก 4 มิลลิเมตรและเครื่องมือพิเศษขนาดเล็กแผลเจาะรูจะยาว 1 เซนติเมตร ทั้งหมด 4 แผล ขั้นแรกเป็นการนำเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกอย่างระมัดระวัง จากนั้นทำการเตรียมบริเวณของ humerus ที่เอ็นขาดออกไปแล้วเพื่อเตรียมติดกลับเข้าไปใหม่ ในการนี้แพทย์จะนำเนื้อเยื่อบางๆ ออก เพื่อทำให้บริเวณนั้นมีแต่กระดูก และเจาะรูเข้าไปเพื่อเตรียมการเย็บ จากนั้นจะทำการเย็บเอ็นเข้าด้วยกัน และเย็บเข้ากับ humerus ผ่านรูที่เจาะไว้ เมื่อเวลาผ่านไป เอ็นจะสมานกับกระดูกและฝังตัว

กล้องส่องดังกล่าวเป็นกล้องขนาดเล็กจิ๋วที่สามารถสอดเข้าไปได้ผ่านรูเปิดขนาดเล็กและทำให้แพทย์สามารถมองเห็นบริเวณที่ต้องการตรวจได้จากหน้าจอโทรทัศน์ ไม่จำเป็นต้องมีการเย็บรอยฉีกขาด เนื่องจากรอยขนาดเล็กจะสมานตัวเองได้

การปฏิบัติตนหลังการทำหัตถการ

หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องใส่ที่คล้องแขนเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์เพื่อรอให้เส้นเอ็นสมานกัน โดยทั่วไปอัตราการสมานกันของเส้นเอ็นอยู่ที่ 80-90% ขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัดและสภาพของเส้นเอ็นที่ขาด ระยะเวลาที่อาการเจ็บจะหายสนิทอยู่ที่ประมาณ 5-6 เดือนหลังผ่าตัด อย่างไรก็ตามการทำเพื่อป้องกันภาวะไหล่ติดหลังผ่าตัดก็เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกัน
 

เพื่อซ่อมแซมเส้นเอ็นที่ได้รับการบาดเจ็บฉีกขาด ลดความเจ็บปวด


 

อาการแทรกซ้อนนั้นมีไม่มาก ซึ่งอาจหมายรวมถึง:
  • ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจภายในหรือใกล้เคียงบริเวณข้อต่อ
  • เส้นประสาทได้รับการกระทบกระเทือน
  • มีเลือดออกมากภายในข้อต่อ ซึ่งอาจทำให้บวมและปวด
  • ติดเชื้อที่ข้อต่อ
  • แพ้ยาดมสลบ
ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
  • การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
เป้าหมายแรกของแพทย์คือการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความเจ็บปวดและการอักเสบ การรักษาในเบื้องต้นคือการพักผ่อนและใช้ยาแก้อักเสบ เช่น Aspirin หรือ Ibuprofen ยากลุ่มนี้ใช้เพื่อควบคุมความเจ็บปวด แพทย์อาจแนะนำให้ฉีด Cortisone หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ เนื่องจาก Cortisone เป็นยาแก้อักเสบที่มีประสิทธิภาพมาก
แพทย์อาจปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อให้ช่วยกำหนดโปรแกรมการฟื้นฟูให้แก่ผู้ป่วย ในขั้นแรกจะเป็นการลดความเจ็บปวดและการอักเสบด้วยการประคบร้อนหรือประคบเย็น จากนั้นเป็นการรักษาด้วยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้หัวไหล่ขยับได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ขั้นต่อไป ผู้ป่วยจะเริ่มออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและสามารถควบคุมเอ็นข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ได้มากขึ้น นักกายภาพบำบัดจะช่วยถนอมกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ให้ผู้ป่วยเพื่อให้กระดูก humerus ยังคงอยู่ในเบ้า ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวไหล่ได้ตามปกติ ผู้ป่วยอาจต้องทำการบำบัดเป็นเวลา 6–8 สัปดาห์ เนื่องจากโดยมากแล้วผู้ป่วยจะสามารถทำกิจวัตรได้ตามเดิมและใช้แขนได้เต็มที่เหมือนเดิมภายในระยะเวลาดังกล่าว
  • การผ่าตัด
ผู้ป่วยอาจต้องทำการผ่าตัดเย็บซ่อมข้อไหล่หากต้องการกลับมาใช้ไหล่ได้ปกติเท่าเดิม ยกเว้นในกรณีผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยมีโรคที่อาจเพิ่มความเสี่ยงจากการผ่าตัด มีหลักฐานว่า การผ่าตัดเย็บซ่อมข้อไหล่ภายใน 3 เดือนหลังจากที่ได้รับบาดเจ็บจะทำให้เห็นผลได้ดีขึ้น ผู้ป่วยต้องปรึกษากับแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการผ่าตัด

หากเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดเพียงบางส่วนอาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ในกรณีนี้ แพทย์จะแนะนำว่าร่างกายสามารถสมานตัวเองได้ แต่หากผู้ป่วยรู้สึกเจ็บจนทนไม่ไหวหรือไม่สามารถใช้แขนได้ อาจจำเป็นต้องพิจารณาผ่าตัด

ขั้นต่อไปคือการทำ magnetic resonance imaging (MRI) เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้ แพทย์จะตรวจเอ็นข้อไหล่โดยละเอียดเพื่อดูรอยฉีกขาดและดูปัญหาอื่นๆ อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าโดยปกตินั้นรอยฉีกขาดจะไม่เกิดขึ้นเว้นแต่ว่าเอ็นข้อไหล่เกิดการอ่อนแรงจากสาเหตุอื่นๆ ปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น acromioclavicular (AC) joint osteoarthritis และ impingement syndrome
  • Acromioplasty
สำหรับรอยฉีกขาดที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นผิวของเอ็นข้อไหล่นั้น อาจต้องทำการผ่าตัดแบบ arthroscopic debridement (ตามที่ได้อธิบายไปข้างต้น) และ acromioplasty สำหรับ acromioplasty แพทย์จะตัดส่วนปลายของ acromion และแต่งรูปทรงให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้มีแรงกดข้างใต้ acromion วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายในการรักษารอยฉีกขาดและได้ผลดี แต่หากรอยฉีกขาดนั้นอยู่บริเวณพื้นผิวอาจจำเป็นต้องผ่าตัด
  • Arthroscopic Debridement
ในบางครั้งรอยฉีกขาดเพียงเล็กน้อยสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเล็ก แพทย์จะใช้การส่องกล้องเพื่อนำเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกมาจากเอ็น
กล้องส่องดังกล่าวนั้นเป็นกล้องขนาดเล็กจิ๋วที่สามารถสอดเข้าไปได้ผ่านรูเปิดขนาดเล็กและทำให้แพทย์สามารถมองเห็นบริเวณที่ต้องการตรวจได้จากหน้าจอโทรทัศน์ ไม่จำเป็นต้องมีการเย็บรอยฉีกขาด เนื่องจากรอยขนาดเล็กจะสมานตัวเองได้
  • Suture Anchor Repair
แพทย์อาจใช้ special fasteners ในการยึดเอ็นข้อไหล่เข้ากับกระดูก humerus ในระหว่างการทำหัตถการนี้แพทย์จะเจาะรูขนาดเล็กที่กระดูก humerus จากนั้นจะติด suture anchor ลงไปในรู เมื่อทำการเย็บไหม ตัว fastener จะยึดติดกับกระดูก จากนั้นจึงเย็บเอ็นบริเวณที่ขาดเข้าด้วยกัน และเย็บติดกับ humerus
  • Open Repair
ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งแพทย์จะผ่าชั้นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ลงไปจนถึงเอ็นข้อไหล่ หลังจากทำการเย็บเอ็นแล้ว แพทย์จะเย็บกล้ามเนื้อติดเข้ากับกระดูก
แก้ไขล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2563

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 6.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 5 คน

Related Health Blogs