bih.button.backtotop.text

การพ่นยาเพื่อการรักษาในเด็ก

การพ่นยาเพื่อการรักษาในเด็ก หรือการให้ยาพ่นฝอยละอองในเด็ก เป็นการรักษาโรคทางระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบันถือเป็นการบริหารยาที่มีความสำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคที่มีการอุดกั้นของหลอดลมขนาดเล็ก เช่น โรคหืด โรคปอดเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติของฝอยละอองที่มีอนุภาคเล็กมาก ยาจึงสามารถเข้าสู่ปอดและออกฤทธิ์ที่ปอดได้โดยตรง นอกจากนั้นยายังออกฤทธิ์ได้ทันทีอีกด้วย

ชนิดยาที่ให้ร่วมกับการพ่นยา
  1. ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  2. ยาขยายหลอดลม
  3. ยาสเตียรอยด์ ช่วยลดอาการอักเสบ
  4. ยากลุ่มที่ช่วยละลายเสมหะ
  5. ยากลุ่มเบต้าอะโกนิสออกฤทธิ์สั้น ช่วยในการขยายหลอดลม
  6. ยากลุ่มเบต้าอะโกนิสออกฤทธิ์ยาว ช่วยในการขยายหลอดลมและร่วมออกฤทธิ์ของคอร์ติโคสเตียรอยด์
  7. ยากลุ่ม racemic epinephrine ช่วยแก้ภาวะฉุกเฉิน อาการเฉียบพลันของหอบหืด เป็นต้น
  1. เพื่อรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือโรคเรื้อรังที่เกี่ยวกับปอด ภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันที่เกี่ยวกับระบบหายใจ
  2. ทำให้เกิดความชุ่มชื้นในหลอดลม เสมหะที่เหนียวจึงอ่อนตัวลง ง่ายต่อการระบายเสมหะออกจากปอด
  3. แพทย์มักใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น การอักเสบ การหายใจตื้น การหายใจมีเสียงหวีด (wheeze) จากการตีบแคบของหลอดลม การไอ การมีน้ำมูกข้นเหนียว หรือมีภาวะเหล่านี้
  • ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (anaphylaxis) ภาวะช็อก
  • โรคเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ (chronic respiratory diseases) เช่น หอบหืด โรคถุงลมปอดอุดกั้น หลอดลมอักเสบ เป็นต้น
  • โรคติดเชื้อในปอด (lung infections) ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน การติดเชื้อราและไวรัส เป็นต้น
  • สิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจหรือปอด เช่น อาหารหรือสิ่งไหลย้อนจากกระเพาะเข้ามาสู่ปอด เป็นต้น
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) รวมถึงภาวะการกรน หรือภาวะหยุดหายใจในเด็ก
ปกติการพ่นยาเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ยกเว้นในกรณีที่ใช้เกินคำสั่งแพทย์ บางรายอาจเกิดอาการแพ้ได้แต่พบได้น้อยมาก เช่น ปรากฏอาการผื่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หากพบอาการดังกล่าวต้องรีบแจ้งแพทย์หรือพบแพทย์โรงพยาบาลใกล้เคียง อย่างไรก็ดีแพทย์จะสอบถามประวัติการแพ้ยาก่อนจ่ายยา แต่ในการแพ้อาจเป็นการแพ้ใหม่ที่ยังไม่เคยมีประวัติการแพ้มาก่อนได้
หากพบว่าท่านมีอาการดังต่อไปนี้ให้แจ้งแพทย์ทราบเพื่อบันทึกเป็นประวัติ เนื่องจากอาจเป็นอาการแพ้ในระยะเริ่มแรกก็ได้
  1. ความรู้สึกในการรับรสหรือได้กลิ่นลดน้อยลง
  2. คอแห้งหรือระคายในลำคอ ปาก หรือมีการไอ
  3. ปวดศีรษะ
  4. กระวนกระวาย ตัวสั่น 
  5. หนักๆ ศีรษะ
  6. แน่นจมูก
  7. คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  8. ใจสั่น
  9. กระสับกระส่าย วิตกกังวล
  1. เป็นวิธีบริหารยา/ให้ยาที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถให้ออกซิเจนแก่เด็กขณะพ่นยาได้ ให้ยาได้หลายชนิดร่วมกันได้ และมีส่วนผสมที่เป็นน้ำเกลือ (normal saline) ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ทางเดินหายใจและค่อนข้างปลอดภัย
  2. วิธีพ่นยามีหลายรูปแบบที่แพทย์เลือกใช้ โดยมุ่งให้เหมาะสมกับวัย สุขภาพ และโรคของเด็ก การพ่นยาไม่มีความเจ็บปวดขณะทำการพ่น แต่ต้องผ่อนคลายและสูดดมอย่างช้าๆ จะทำให้ประสิทธิภาพของยาได้รับเต็มที่ ดังนั้นจึงควรรู้วิธีพ่นยาอย่างถูกวิธี รวมทั้งดูแลอุปกรณ์พ่นยาอย่างถูกต้อง เพื่อให้การรักษาได้ผลมากที่สุด
 
หากไม่ทำการรักษาจะเกิดอะไรขึ้น
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบหายใจไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ในโรคที่มีการอุดกั้นของหลอดลมขนาดเล็ก
 
แพทย์อาจมีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลายให้แก่ผู้ป่วย ขึ้นกับอาการ อายุ ความรุนแรงของโรค หรือแม้กระทั่งประวัติการเจ็บป่วย เช่น แพทย์อาจพิจารณาให้ยารับประทาน การให้ยาเข้าหลอดเลือดดำ รวมถึงการตรวจอื่นๆ เช่น การทำทดสอบการแพ้ การเจาะตรวจดูระดับออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสโลหิต การเอกซเรย์ปอด การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือมีการใส่ท่อช่วยหายใจ การฉีดยาปฏิชีวนะเข้าหลอดเลือดดำ การทำการทดสอบสมรรถภาพการทำงานของปอด เป็นต้น
 
แก้ไขล่าสุด: 18 เมษายน 2566

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs